การพัฒนากลยุทธ์เสริม สร้างนักประดิษฐ์ระดับอาชีวศึกษาด้วย TOWS MATRIX

Main Article Content

อรอนงค์ สิงห์บุบผา
ชลวิทย์ เจียรจิตต์

บทคัดย่อ

                การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน ของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และสภาพแวดล้อมภายนอกในการพัฒนานักประดิษฐ์ระดับอาชีวศึกษาให้มีสมรรถนะเชิงนวัตกรรม 2) เพื่อพัฒนากลยุทธ์เสริมสร้างนักประดิษฐ์ระดับอาชีวศึกษา โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยวิธีการสนทนากลุ่มย่อยกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลคนสำคัญจำนวน 10 คน ที่มีความเกี่ยวข้อง มีส่วนได้ส่วนเสีย และดำเนินภารกิจพัฒนานักประดิษฐ์ระดับอาชีวศึกษา เพื่อวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อนของของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) รวมถึงสภาพแวดล้อมภายนอกที่ส่งผลต่อการพัฒนานักประดิษฐ์ระดับอาชีวศึกษาในทุกมิติ จากนั้น         จึงทำการระดมสมองเพื่อกำหนดกลยุทธ์การเสริมสร้างนักประดิษฐ์ระดับอาชีวศึกษากับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักโดยใช้วิธีการวิเคราะห์ TOWS MATRIX ผลการศึกษาพบว่ากลยุทธ์ที่ใช้สำหรับเสริมสร้างนักประดิษฐ์ระดับอาชีวศึกษาแบ่งออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ 1) กลยุทธ์ด้านทรัพยากรบุคคล โดยจัดหลักสูตรฝึกอบรม/กิจกรรมส่งเสริมทักษะการประดิษฐ์และนวัตกรรม ที่มุ่งเน้นองค์ความรู้ที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 พัฒนาบุคลากร            สายอาชีวศึกษาให้มีทักษะและความรู้ด้านการวิจัยและนวัตกรรมที่เข้ากับยุคสมัยผ่านระบบ mentoring ตลอดจนการสร้างหลักสูตรเสริมทักษะรวมถึงเครื่องมือการเรียนรู้ที่เหมาะสมและเข้ากับยุคสมัยแก่วิทยากรและผู้จัดการโครงการสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมสายอาชีวศึกษา 2) กลยุทธ์ด้านกระบวนการ โดยสร้างกลไกผลักดันผลงานสิ่งประดิษฐ์สู่ตลาดโดยการจับคู่ธุรกิจกับนักประดิษฐ์สายอาชีวศึกษา พัฒนาต่อยอดให้สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมสายอาชีวศึกษามีระดับความพร้อมใช้ทางเทคโนโลยี (TRL) หรือมีระดับความพร้อมใช้ทางด้านสังคม (SRL) ถึงขั้นระดับสูงสุด พัฒนาระบบติดตาม ประเมินผล และ 3) กลยุทธ์ด้านนโยบาย   โดยพัฒนาเครือข่ายร่วมมือในการสร้างโอกาสพัฒนาทักษะ สร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ และการฝึกประสบการณ์ ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างนักประดิษฐ์สายอาชีวศึกษากับนักประดิษฐ์ต่างประเทศ ส่งเสริมการแข่งขัน             การประกวด และเชิดชูเกียรติแก่นักประดิษฐ์สายอาชีวศึกษา ตลอดจนสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถานบันอาชีวศึกษาและภาคอุตสาหกรรมเพื่อระดมทุนวิจัยและสนับสนุนทรัพยากรเพื่อการวิจัยและนวัตกรรม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

บัลลังก์ โรหิตเสถียร. (2566). สรุปคำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี“เศรษฐา ทวีสิน” ด้านการศึกษา. https://moe360.blog/2023/09/11/cabinet-policy-

statement-2023/

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่13 (พ.ศ.2566-2570). (2565). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 139 ตอนพิเศษ 258 ง. หน้า 1-143.

มนตรี อินตา. (2562). SOFT SKILLS :ทักษะที่จําเป็นสู่ความเป็นมืออาชีพของครูยุคใหม่. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์, 20(1), 153-167.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2560). แผนพัฒนาการอาชีวศึกษา พ.ศ.2560–2579. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม. (2566). แผนด้านวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ พ.ศ.2566-2570. บริษัท วิชั่น พรี

เพรส จำกัด.

สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม . (2566). กรอบนโยบายและยุทธศาสตร์ การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม

พ.ศ.2566-2570. สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม.

Amin, S. H., Razmi, J., & Zhang, G. (2011). Supplier selection and order allocation based on fuzzy SWOT

analysis and fuzzy linear programming. Expert Systems with Applications, 38(1), 334-342.

Chang, H. H., & Huang, W. C. (2006). Application of a quantification SWOT analytical method. Mathematical and computer modelling,

(1-2), 158-169.

Elo, S., & Kyngäs, H. (2008). The qualitative content analysis process. Journal of advanced nursing, 62(1), 107-115.

Weber, R. P. (1990). Basic content analysis. Sage.