การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามกระบวนการเรียนรู้ร่วมสมัยสำหรับนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู

Main Article Content

ชมภูนุช พุฒิเนตร เอกเกื้อบุญ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามกระบวนการเรียนรู้ร่วมสมัยสำหรับนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู ขั้นตอนการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัญหา และความต้องการในการจัดการเรียนการสอน ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน  ระยะที่ 3 การทดลองใช้ และระยะที่ 4 การประเมินผล กลุ่มตัวอย่างในการทดลอง คือ นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์ สถานศึกษาเอกชนแห่งหนึ่ง           ใน จ.นนทบุรี จำนวน 28 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง ตามการลงทะเบียนเรียนในรายวิชาการพัฒนาหลักสูตร เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบทดสอบความรู้การออกแบบหลักสูตรเป็นแบบวัดแบบอัตนัยและเกณฑ์การให้คะแนนแบบรูบริค และ 2) แบบประเมินความสามารถการออกแบบหลักสูตร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
              ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการเรียนการสอนตามกระบวนการเรียนรู้ร่วมสมัยสำหรับนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู มีองค์ประกอบสำคัญ 5 ส่วน คือ 1) หลักการ     2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา 4) แนวทางการจัดกิจกรรม และ 5) การวัดและประเมินผล คุณภาพของรูปแบบมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก การนำรูปแบบไปใช้นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครูมีความรู้ความสามารถออกแบบหลักสูตรที่เพิ่มขึ้น และมีความพึงพอใจต่อรูปแบบอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรรณิกา อุสสาสาร และ ปาจรีย์ ผลประเสริฐ. (2565). ผลกระทบทางสังคมและการปรับตัวของครัวเรือนในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทย. วารสาร มจร การพัฒนาสังคม, 8(1), 21-41.

กุลธิดา ทุ่งคาใน. (2564). การเรียนรู้แบบผสมผสาน Blended Learning ในวิถี New Normal. วารสารครุศาสตร์สาร. 15(1), 29-43.

ชานนท์ ดำสนิท, สยาม จวงประโคน และชานนท์ จงจินากูล. (2566). การพัฒนาชุดสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบออนไลน์รายวิชาทฤษฎีดนตรีสากล 2 สําาหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 42(1), 58-69.

ชูขวัญ รัตนพิทักษ์ธาดา และ ประทุมทอง ไตรรัตน์. (2566). สมรรถนะของผู้นำทางการศึกษาเพื่อการ อยู่รอดและเติบโตในยุค BANI World. วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค, 9(1), 16-28.

เทื้อน ทองแก้ว. (2563). การออกแบบการศึกษาในชีวิตวิถีใหม่: ผลกระทบจากการแพร่ระบาด COVID - 19. คุรุสภาวิทยาจารย์, 1(2), 1-10.

บำเพ็ญ หนูกลับ. (2565). รูปแบบการจัดการเรียนการสอนในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยใช้ PIRMA โมเดล ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2.

ปกรณ์ทรรศน์ ศรีโยวัย และบุญชม ศรีสะอาด. (2565). การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย. วารสาร,มนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยามหาสารคาม, 41(5), 97-108.

ปรีดา นวลรักษา และอัมพร กุลาเพ็ญ. (2565). การพัฒนาทักษะกระบวนการคิดเชิงวิเคราะห์ 5 ขั้นตอน สาหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาการประถมศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยวิทยาเขตร้อยเอ็ด. วารสารวนัมฎองแหรกพุทธศาสตรปริทรรศน์, 9(1), 69-88

พัฒนา พรหมณี. (2563). แนวคิดเกี่ยวกับความพึงพอใจและการสร้างแบบสอบถามความพึงพอใจในงาน.วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.), 26(1), 59-66.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2561). เทคนิคการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมพงษ์ ปั้นหุ่น. (2559). การประเมินเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน. วารสารศึกษาศาสตร์, 7(2), 13-29.

สำนักงานวิจัยและพัฒนาการศึกษา. (2564). ทักษะที่จำเป็นแห่งอนาคต (Future Skill) เพื่อเตรียมการพัฒนาคุณภาพ คนไทยทุกช่วงวัย รองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว (Disruption) ของโลกศตวรรษที่ 21 : ผลการศึกษาและแนวทางการส่งเสริม. กรุงเทพมหานคร : เพชรเกษมพริ้นติ้ง กรุ๊ป

สุวัฒน์ บรรลือ. (2560).รูปแบบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ที่เหมาะสมสำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด. 11(2), 250-260.

สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2547). วิธีการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ภาพพิมพ์.

อุบลศรี อุบลสวัสดิ์. (2561). การพัฒนารูปแบบการเรียยการสอนกระบวนการกลุ่ม วิชาภาษาไทยเพื่อการนำเสนอของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพมหานคร : คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

อานุภาพ เลขะกุล. (2564). ความปกติถัดไปอุดมศึกษา: ความท้าทาย. วารสารการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนรู้, 1(2), 111-125

Johnson, M. (2016). Communicating Politics: Using Active Learning to Demonstrate the Value of the Discipline. British Journal of Educational Studies, 64, 315–335. doi:10.1080/00071005.2015.1133798

Letrud, K., & Hernes, S. (2016). The diffusion of the learning pyramid myths in academia: an exploratory study. Journal of Curriculum Studies, 48(3), 291–302.

Likert, R. (1961). New Patterns of Management. New York: McGraw-Hill.

Wei Bao. (2020). COVID-19 and online teaching in higher education: A case study of Peking University. Human Behavior and Emerging Technologies, 2(2), 107–195.