กลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อแรงจูงใจเดินทางท่องเที่ยวและการตัดสินใจของนักท่องเที่ยว กรณีศึกษา ชุมชนท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์คลองโคน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เปรียบเทียบกลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาด 4P’s และ 4C’s ที่มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจการเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทย กรณีศึกษา ชุมชนท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์คลองโคน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงราม และ 2. เพื่อศึกษาปัจจัยด้านแรงจูงใจที่ส่งผลต่อการตัดสินในของนักท่องเที่ยว กรณีศึกษา ชุมชนท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์คลองโคน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม การศึกษานี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางท่องเที่ยวยังชุมชนท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์คลองโคน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม จำนวน 400 คน ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงและแบบตามสะดวก งานวิจัยนี้เป็นการวิเคราะห์เชิงปริมาณโดยใช้แบบจำลองสมการโครงสร้าง
ผลการศึกษา พบว่า ผลการศึกษาพบว่า 1) เปรียบเทียบกลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาด 4P’s และ 4C’s ที่มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจการเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทย กรณีศึกษา ชุมชนท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์คลองโคน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมดยอมรับว่ากลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาด 4P’s มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจในการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว มากกว่ากลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาด 4C’s ถึงแม้ว่าในด้านต้นทุนของผู้บริโภคจะมีค่าน้อยกว่าปัจจัยด้านอื่น ๆ แต่ถือว่าผู้บริโภคยังยอมรับได้ ซึ่งผลทุกปัจจัยส่งผลต่อแรงจูงใจในด้านบวก 2) ปัจจัยด้านแรงจูงใจที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยว กรณีศึกษา ชุมชนท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์คลองโคน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม พบว่า แรงจูงใจที่ประกอบด้วยความต้องการด้านร่างกาย ความต้องการด้านสังคม ความต้องการด้านวัฒนธรรม และความต้องการความภาคภูมิใจ ที่ได้เดินทางท่องเที่ยวซึ่งส่งผลในเชิงบวกส่งผลต่อการตัดสินใจเดินทางของนักท่องเที่ยว
Article Details
References
ขวัญชนก สุวรรณพงศ์. (2023). อิทธิพลของแรงจูงใจและการรับรู้องค์ประกอบการท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อ ความพึงพอใจในการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของนักท่องเที่ยวชาวไทย ใน จังหวัด ภูเก็ต. วารสาร มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย อุบลราชธานี, 14(1), 308-330.
เชิญ ขวัญ แซ่ โซ ว. (2021). ปัจจัยทางการตลาดบริการของนักท่องเที่ยวอินเดีย ที่ มี อิทธิพล ต่อ การ ตัดสินใจ เลือก ที่พัก แรม ใน ประเทศไทย. วารสาร สันติ ศึกษา ปริทรรศน์ ม จร, 9(2), 714-728.
ช นิ ตา ขวัญ ทอง, & กัลยา สว่าง คง. (2021). พฤติกรรมและแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวชาวยุโรป ใน การ มา ท่องเที่ยวเกาะเสม็ด จังหวัดระยอง. วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์, 4(2), 166-182.
พลอยระวี ชลวณิช. (2555). แรงจูงใจที่มีผลต่อ การท่องเที่ยวภายในประเทศของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิ). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.
พิมพ์ระวี โรจน์รุ่งสัตย์. (2553). การท่องเที่ยวชุมชน. กรุงเทพมหานคร: โอ. เอส. ปริ้นติ้ง เฮ้าส์.
อุษาวดี พลพิพัฒน์. (2545). การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน: กรณีศึกษาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์โดยชุมชนในประเทศไทย. จุลสารการท่องเที่ยว. 21(4) : 38-48
Bollen, K. A. (1989). Structural equations with latent variables (Vol. 210). Canada: John Wiley & Sons.
Borden, N. H. (1964). The concept of the marketing mix. Journal of advertising research, 4 (2), 2-7.
Chen, C. F., & Chen, F. S. (2010). Experience quality, perceived value, satisfaction and behavioral intentions for heritage tourists. Tourism management, 31 (1), 29-35.
Kotler, P. (2012). Kotler on marketing. New York: Simon and Schuster.
Kotler, P. & Keller, K. L. (2012). Marketing management (14th ed.). New Jersey: Pearson education.
Londhe, B. R. (2014). Marketing mix for next generation marketing. Procedia Economics and Finance, 11, 335-340.
McIntosh, R.W. & Goeldner, C.R. (1986). Tourism principles, practices, philosophies. New York: John Wiley & Son.
Wolfe Sr, M. J., & Crotts, J. C. (2011). Marketing mix modeling for the
tourism industry: A best practices approach. International Journal of Tourism Sciences, 11(1), 1-15.