ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพรูปแบบอาหารคลีนของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา Healthy food consumption behavior, clean food pattern of the people
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพรูปแบบอาหารคลีนของประชาชน ในเขตเทศบาลเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรม การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพรูปแบบอาหารคลีน 2. เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพรูปแบบอาหารคลีนของประชาชน ในเขตเทศบาลเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ ประชาชนในเขตเทศบาลเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา จำนวน 400 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบตามความสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติแจกแจงความถี่ ร้อยละ และค่า F-test ผลการวิจัย พบว่า ประชาชนในเขตเทศบาลเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา ที่เคยรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพรูปแบบอาหารคลีน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 26-35 ปี การศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า สถานภาพโสด อาชีพพนักงานบริษัท นับถือศาสนาพุทธ และรายได้ต่อเดือน 10,001-20,000 บาท เหตุผลที่รับประทาน เพื่อควบคุมน้ำหนัก รับประทาน 3-4 ครั้ง/สัปดาห์ ค่าใช้จ่ายต่อครั้ง 101 – 200 บาท ซื้อในห้างสรรพสินค้า ตนเองตัดสินใจเลือกใช้บริการ และส่วนใหญ่รับประทานเวลาตอนเย็น และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดกับพฤติกรรมของผู้บริโภคอาหารเพื่อสุขภาพรูปแบบอาหารคลีน พบว่า ด้านสถานที่จัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านบุคลากร ด้านกระบวนการให้บริการ และ ด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพรูปแบบอาหารคลีน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย เพื่อเป็นข้อมูลให้แก่ผู้ประกอบการร้านอาหารคลีนในเขตเทศบาลเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา วางแผนกลยุทธ์ในการผลิตอาหารคลีนเพื่อสุขภาพตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคต่อไป
Article Details
References
กมลวรรณ พงษ์กุล. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อแนวโน้มและข้อแนะนำการบริโภคอาหารคลีนเพื่อสุขภาพในทศวรรษ 2020. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 2(2), 1-9.
กัลยกร วรกุลลัฎฐานีย์ และพรทิพย์ สัมปัตตะวนิช. (2553). การโฆษณาเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
กุลภัสสรณ์ หมั่นคติธรรม และคณะ. (2564). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภค อาหารคลีน ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร
และปริมณฑล วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัย ราชภัฏสวนสุนันทา, 14(2), 80-92.
กุสุมา ไชยสูตร. (2558). อาหารคลีน. ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. ค้นข้อมูลเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2566.
จาก https://www.si.mahidol.ac.th/Th/healthdetail.
ตามติดเทรนด์อาหารเพื่อสุขภาพ. (2566). ค้นข้อมูลเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2566 จาก https://mmed.com/food-trend.
ณัฐกฤตา นันทะสิน. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคและความภักดีต่ออาหารเพื่อสุขภาพของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยราชภัฏ
สวนดุสิต. วารสารกระแสวัฒนธรรม, 1(1), 3-18.
ตามติดเทรนด์อาหารเพื่อสุขภาพ. (2566). ค้นข้อมูลเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2563. จาก https://thefoodism-show.com/news/healthy-food-trends.
ธัญญาภรณ์ ใจปานแก่น และคณะ. (2566). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารคลีนของกลุ่มเจเนอเรชันวายในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. วารสารการ
บริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 9(1), 148-161.
ธัญลักษณ์ ถาวรจิต. (2564). การศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคอาหารเพื่อสุขภาพในเทศบาลนครหาดใหญ่จังหวัดสงขลา. วารสารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้,
(1), 41-56.
ธัญลักษณ์ ธรรมจักษ์ และคณะ. (2562). พฤติกรรมการบริโภคอาหารเจ ในอำเภอเมือง จังหวัดตรัง. วารสารการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 8(1), 84-97.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2560). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. (พิมพ์ครั้งที่ 17).กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
บุรินทร์ รุจนพันธุ์. (2556). เกณฑ์การแปลความหมาย. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2566. จาก https://www.thaiall.com/blog/burin/4967.
ปาณิสรา เฉยบัว และคณะ. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารคลีน ในเขตอำเภอเมือง จังหวัด
พิษณุโลก. วารสารเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 13(1), 131- 142.
ภาวิณี เทพคำราม. (2557). ‘คลีนฟู้ด’ อีกมิติของการกินเพื่อสุขภาพ. ค้นข้อมูลเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2566
จาก https://www.thaihealth.or.th/Content/25051-E.html.
มลฤดี คำภูมี. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความภักดีของผู้บริโภคอาหารคลีนในเขตกรุงเทพมหานคร.
วารสารกรุงเทพตะวันออกเฉียงใต้, 5(2), 1-21.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์มและไซเท็ก.
Kotler, P. & Keller, K. (2016). Marketing Management. (15th ed.). New Jersey: Pearson.
Prentice Hall.