ต่อยอดดนตรีบำบัดสำหรับผู้สูงวัย เพื่อรองรับสังคมผู้สูงวัยในจังหวัดสกลนคร

Main Article Content

สายันต์ บุญใบ

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อต่อยอดและศึกษาประสิทธิผลของต่อยอดดนตรีบำบัดสำหรับผู้สูงวัย เพื่อรองรับสังคมผู้สูงวัยในจังหวัดสกลนคร ขอบเขตด้านกลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย 1) ผู้สูงวัยจำนวน 5 คน ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน และผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คนเพื่อศึกษาจุดแข็งจุดอ่อนของดนตรีบำบัดสำหรับผู้สูงวัย 2) ผู้สูงวัยจำนวน 3 คน ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 คน และผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 คนเพื่อประเมินความเหมาะสม และความเป็นไปได้ขององค์ประกอบของดนตรีบำบัดสำหรับผู้สูงวัย 3) ผู้สูงวัยจำนวน 3 คน ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 คน และผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 คนเพื่อสนทนากลุ่มระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับอรรถประโยชน์ของต่อยอดดนตรีบำบัดสำหรับผู้สูงวัย 4) กลุ่มผู้เตรียมตัวเข้าสู่สังคมสูงวัยจำนวน 10 คนและผู้สูงวัยจำนวน 10 คนเพื่อทดลองใช้ต่อยอดดนตรีบำบัดสำหรับผู้สูงวัย และ 5) ผู้สนใจจำนวน 40 คนเพื่อเข้าร่วมสัมมนาต่อยอดดนตรีบำบัดสำหรับผู้สูงวัย เพื่อรองรับสังคมผู้สูงวัยในจังหวัดสกลนคร แบ่งออกเป็น 2 ระยะ ระยะเวลาในการดำเนินงาน 1 ปี เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบเป็นทางการแบบมีโครงสร้างระดับกลาง 2 ฉบับ แบบบันทึกการประชุม และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า 1) ต่อยอดดนตรีบำบัดสำหรับผู้สูงวัย เพื่อรองรับสังคมผู้สูงวัยในจังหวัดสกลนครเป็นการนำเอาเสียงดนตรีซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบและคุณสมบัติของดนตรีซึ่งเป็นส่วนสำคัญพื้นฐานที่ทำให้เกิดเป็นดนตรีมาประยุกต์ใช้อย่างเป็นกระบวนการ ด้วยเครื่องดนตรีพื้นบ้านอีสานร่วมกับเครื่องดนตรีสากล ทั้งเครื่องดนตรีที่ดำเนินทำนองและประกอบจังหวะ โดยบรรเลงในลายซึ่งเป็นศิลปะการเรียบเรียงเสียงไว้ในกลุ่มต่าง ๆ ให้มีความไพเราะ สอดประสานกันทั้งท่วงทำนองและจังหวะไปพร้อม ๆ กัน ที่ได้ประพันธ์ เรียงร้อย หรือเรียบเรียงขึ้นเพื่อการบรรเลงดนตรีเพียงอย่างเดียว ทำให้เกิดความไพเราะ และสร้างความเพลิดเพลินให้แก่ผู้ฟังเพื่อการบำบัด ได้แก่ ลายใหญ่ประยุกต์ ลายโป้ซ้ายประยุกต์ ลายเต้ยโขงประยุกต์ ลายเต้ยพม่าประยุกต์ และลายภูไท (ภูไทสกลนคร) ประยุกต์ และ 2) ต่อยอดดนตรีบำบัดสำหรับผู้สูงวัย เพื่อรองรับสังคมผู้สูงวัยในจังหวัดสกลนครส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ ตลอดจนความรู้สึกนึกคิดต่าง ๆ โดยเสียงดนตรีให้ความรู้สึกสมหวัง ลดความเหนื่อยล้าและความเครียดลงได้ จังหวะให้ความรู้สึกผ่อนคลาย หายใจสะดวก ร่างกายมีความสมดุล และมีสมาธิ ทำนองช่วยปลดปล่อยอารมณ์ ลดความวิตกกังวล เสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ การประสานเสียงสามารถกล่อมเกลาอารมณ์ ให้ความรู้สึกปลอดโปร่ง และมีความเป็นอิสระ สีสันเสียงสามารถรื้อฟื้นความทรงจำให้กลับดีขึ้น คำนึงถึงความเป็นจริงของชีวิต และคีตลักษณ์ช่วยให้เกิดความภาคภูมิใจในตัวเองได้ ซึ่งเป็นคุณลักษณะเฉพาะทำให้ดนตรีที่เกิดขึ้นมีความแตกต่างกัน มีอิทธิพลต่อผู้ฟังแตกต่างกัน ทำให้ผู้สูงวัยทุเลาลงจากการอาการที่ไม่พึงประสงค์ที่เป็นอยู่ และฟื้นฟูสภาพจิตใจและร่างกายให้ดำเนินชีวิตได้อย่างสงบสุข

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กันตพงศ์ พลอยดนัย. (2554). การนำการแพทย์เสริมประสานและการแพทย์ทางเลือกมาใช้ในการรักษา ผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ วท.ม. เชียงราย : มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.

กัลยิมา โตกะคุณะ. (2556). ผลของประเภทดนตรีบำบัดในการลดความเจ็บปวดของผู้ป่วยมะเร็งระยะ ประคับประคอง ในสถาบันมะเร็งแห่งชาติ. วิทยานิพนธ์ วท.ม. เชียงราย : มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.

ขวัญหทัย ยิ้มละมัย. (2547). ผลของดนตรีบำบัดและการใช้เทคนิคการฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อเพื่อลด ความรู้สึกเจ็บปวดภายหลังการผ่าตัดของผู้ป่วยผ่าตัดใส่เหล็กดามกระดูกโรงพยาบาลพิจิตร. ปริญญานิพนธ์ ศษ.ม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นาถฤดี พรหมเถาว์. (2545). ผลของดนตรีต่อความเจ็บปวดในผู้สูงวัยโรคมะเร็ง. วิทยานิพนธ์ พย.ม. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

บุษกร สำโรงทอง, พิชิต ชัยเสรี, วารุณี ฉิมยวงษ์, วินัย แก้วมุนีวงศ์ และพันทิพา พงศ์กาสอ (บรรณาธิการ). (2551). ดนตรีบำบัด. นนทบุรี : กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก.

พิภพ ปิ่นแก้ว. (2560). เอกสารประกอบการสอน รายวิชาปฏิบัติดนตรีพื้นบ้านอีสานขั้นพื้นฐาน (Basic E-san Folk Music Practice) (MS00232). อุดรธานี : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย ราชภัฏอุดรธานี.

วรพรรณ เสนาณรงค์. (2559). รู้ทันสมองเสื่อม. กรุงเทพฯ : อมรินทร์เฮลท์ อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิซซิ่ง.

สายันต์ บุญใบ. (2561). รายงานการวิจัย เรื่อง ดนตรีบำบัดสำหรับผู้สูงวัย. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏ สกลนคร.

สายันต์ บุญใบ. (2565). รายงานการวิจัย เรื่อง รูปแบบการเสริมสร้างความยึดเหนี่ยวทางสังคมผ่านการเรียนรู้ ดนตรีพื้นบ้าน เพื่อสร้างสังคมคุณภาพทุกช่วงวัยรองรับสังคมผู้สูงอายุในจังหวัดสกลนคร. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

Good, M et al. (2005). Relaxation and Music Reduce Pain Following Intestinal Surgery. Research in nursing & Health, 8(2), 240-251.