ภูมิปัญญาชาวบ้านจากตำรายา ตำบลทรายขาว อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มุ่งวิเคราะห์ภูมิปัญญาทางภาษาที่ปรากฏในตำรายา ตำบลทรายขาว อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี และเพื่อศึกษาภูมิปัญญา ความเชื่อ ในการรักษาโรคที่ปรากฏในตำรา ซึ่งเป็นวิจัยเชิงคุณภาพโดยเก็บข้อมูลภาคสนามและการวิเคราะห์ สังเคราะห์เอกสาร ข้อมูลที่ใช้เป็นข้อมูลปฐมภูมิจากตำรายาซึ่งเป็นลายลักษณ์อักษรโดยคัดเลือกเอกสารที่มีสภาพสมบูรณ์ไม่เปื่อยขาด มีเนื้อหาสมบูรณ์เท่านั้น จำนวน 45 ตำรับยา รวมทั้งพิจารณาด้านการใช้ภาษา ทั้งนี้ได้สัมภาษณ์เจ้าของตำรายาและหมอพื้นบ้านเพื่อให้ได้ข้อมูล
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1. ภูมิปัญญาทางภาษาที่ปรากฏในตำรายา จำแนกได้ 2 ลักษณะ คือ 1) ภูมิปัญญาด้านกลวิธีในการบันทึกตำรายา จำแนกได้ 2 ลักษณะ คือ การขึ้นต้นสูตรยา แบ่งออกเป็นการขึ้นต้นด้วยประเภทการรักษา การขึ้นต้นด้วยชื่อยาโดยตรง และการขึ้นต้นโดยนำเอาอาการของโรคมาเป็นชื่อยา และการใช้คำลงท้ายสูตรยาแต่ ละขนาน แบ่งออกเป็นการลงท้ายด้วยการแจ้งสรรพคุณในการรักษาที่ดี และการลงท้ายด้วยข้อความมนต์คาถา 2) ภูมิปัญญาด้านการใช้ภาษาถิ่นใต้ เป็นการใช้คำศัพท์เฉพาะภาษาถิ่นทั้งด้านเสียงและความหมายของคำ และบันทึกลายลักษณ์ตามสำเนียงภาษาถิ่นใต้ที่ใช้ในการพูดผสมผสานกับภาษาไทยมาตรฐาน ทำให้คนในพื้นที่สามารถเข้าใจข้อความในตำรายาได้
2. ภูมิปัญญาด้านความเชื่อเกี่ยวกับการรักษา จำแนกได้ 3 ความเชื่อ คือ 1) คติความเชื่อเรื่อง พระรัตนตรัย อำนาจเหนือธรรมชาติ 2) ความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์ โดยถูกชี้นำความเชื่อดังกล่าวผ่านชนิดยา วิธีการปรุงยา ใช้วิธีการกล่าวถึงอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหนือธรรมชาติ ซึ่งเป็นสิ่งที่สืบทอดกันมาช้านาน เพื่อให้ผู้ใช้เห็นว่ายาสมุนไพรที่ใช้รับการรักษานั้นมีค่า สร้างขวัญและกำลังใจให้กับผู้ป่วยรวมถึงญาติผู้ป่วย และเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับเจ้าของตำรายา และ 3) ความเชื่อด้วยการเลือกสมุนไพรมาใช้ในการรักษา เช่น ความเชื่อเรื่องของ “สี” ของพืชในการรักษา ตัวอย่าง พืชที่มีสีแดง เช่น เจตมูลเพลิง ช่วยบำรุงโลหิต
Article Details
References
คุณช่วย ปิยวิทย์. (2535). ภาษาและคติความเชื่อในตําราพื้นบ้านจากวัดบึง ตําบลโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา .
(ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาภาษาไทย. มหาสารคาม. มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ. สืบค้นจาก https://tdc.thailis.or.th/tdc/.
ณัฐา วิพลชัย. (2561). การวิเคราะห์วรรณกรรมตำรายาพื้นบ้านจากหนังสือบุดของวัดแหลมทอง อำเภอเมือง
จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุราษฎร์ธานี, 10(2).
เวคิน วุฒิวงศ์. (2551). ประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ : โครงการจัดความรู้ศูนย์เรียนรู้ชุมชนตามแนวปรัชญา
เศรษฐกิจพอเพียง ตำบลทรายขาว อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี. ยะลา : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
สุดารัตน์ ตัณฑะอาริยะ. (2548). การวิเคราะห์ตำรายาแผนโบราณจากสมุดไทยของจังหวัดพังงา. (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ. มหาวิทยาลัย
ศิลปากร. สืบค้นจาก http://www.sure.su.ac.th/.
อรทัย เนียมสุวรรณ. พืชสมุนไพร:ความเชื่อในการเลือกใช้ตามภูมิปัญญาชาวใต้. สืบค้น 8 เมษายน 2565. จาก
https://www.ttmed.psu.ac.th/th/blog/144.
เอมอร ตรีชั้น. (2528). ภาษาและคติความเชื่อในตํารายาแผนโบราณจากสมุดไทยของจังหวัดสุพรรณบุรี นครปฐม และสมุทรสาคร. (ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาสตร
มหาบัณฑิต สาขาภาษาไทย). มหาวิทยาลัยศรีนคริทร วิโรฒประสานมิตร. สืบค้นจาก https://tdc.thailis.or.th/tdc/.