พลวัตเศรษฐกิจ “ภาคประมง” ของจังหวัดสมุทรสาคร หลังพ.ศ.2500
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในภาคประมงของจังหวัดสมุทรสาคร ในช่วงเวลาหลังพ.ศ.2500 ใช้ระเบียบวิธีวิจัยทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล ทั้งจากเอกสารลายลักษณ์อักษรและไม่ใช่ลายลักษณ์อักษร รวมทั้งการลงพื้นที่ภาคสนามเพื่อสืบค้นข้อมูลและสัมภาษณ์บุคคล
ผลการศึกษา พบว่าภูมิศาสตร์ตำแหน่งที่ตั้งของสมุทรสาครที่อยู่ในลุ่มน้ำท่าจีนตอนล่าง มีความสำคัญในฐานะเมืองยุทธศาสตร์ทางการเมืองและเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง สามารถใช้เส้นทางคมนาคมทั้งทางน้ำและทางบกเชื่อมต่อกับพื้นที่อื่น อีกทั้งยังมีพื้นที่บางส่วนอยู่บริเวณปากแม่น้ำออกทางทะเลได้ อาชีพประมงจึงได้รับความนิยมและเป็นอาชีพดั้งเดิมของชุมชนบริเวณนี้ ข้อค้นพบเรื่องการเติบโตทางเศรษฐกิจของประมงพาณิชย์ พบว่าปัจจัยภายนอก ได้แก่ นโยบายการพัฒนาของรัฐที่เข้ามาในพื้นที่ทั้งในเรื่องการส่งเสริมเทคโนโลยีจับสัตว์น้ำที่ทันสมัย นโยบายการพัฒนาพื้นที่ปริมณฑลกรุงเทพฯ เพื่อรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจและการเคลื่อนย้ายแรงงาน นโยบายด้านการประมงพาณิชย์ ส่วนปัจจัยภายใน ได้แก่ การบริหารจัดการอย่างต่อเนื่องของเจ้าของธุรกิจประมง การสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ทางสังคมรูปแบบเครือญาติและกลุ่มทางสังคม
Article Details
References
คริส เบเกอร์ และผาสุก พงษ์ไพรจิตร. (2557). ประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: มติชน.
โคลด์ เซเบเรต์ เดอ บูเล. (2560). จดหมายเหตุของมองซิเออร์เซเบเรต์ แปลโดย ราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ: ศรีปัญญา.
ชัยรัฐ เกาะไพศาลสมบัติ. (2550). ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจของจังหวัดสมุทรสาคร พ.ศ. 2489-2544. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
ดำรงพล อินทร์จันทร์ (บรรณาธิการ). (2561). ย้อนรอย ท่าฉลอม เส้นทางวิถีชีวิตชุมชนประมงลุ่มแม่น้ำท่าจีน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. (2562). เอกสารเสด็จตรวจราชการ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ร.ศ.๑๑๑-๑๑๗. กรุงเทพฯ: สำนัก
วรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร
เตือน พุ่มอาศัย. (2565, ธันวาคม 12). ชาวบ้านท่าฉลอม. สัมภาษณ์
ปราโมทย์ แสงสุขเอี่ยม. (2565, เมษายน 22). อดีตไต้ก๋งเรือประมงบ้านท่าฉลอม. สัมภาษณ์.
ปรีชา ศิริแสงอารำพี. (2565, มิถุนายน 21). ประธานอาวุโสหอการค้าจังหวัดสมุทรสาคร. สัมภาษณ์.
พลอธิป ปรางทอง. (2563). พัฒนาการกลุ่มทุนประมงท้องถิ่นท่าฉลอม. รายงานค้นคว้าเฉพาะ บุคคลหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วลัยลักษณ์ ทรงศิริ (บรรณาธิการ). (2560). ลุ่มเจ้าพระยา รากเหง้าสยามประเทศ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิเล็ก-ประไพ
วิริยะพันธุ์.
สนั่น ซิ้มสกุล. (2565, มิถุนายน 22). เจ้าของเรือประมงโชคนาวี. สัมภาษณ์.
สำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2504). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1.
สุวันชัย แสงสุขเอี่ยม และคณะ. (2561). โครงการสำรวจและสังเคราะห์ข้อมูลด้านประวัติศาสตร์และการท่องเที่ยวในการพัฒนาเมืองสมุทรสาคร. กรุงเทพฯ:
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. (8) มท5.4.2.1/34 เรื่อง “แผนพัฒนาจังหวัดประจำปี 2523 จังหวัด สมุทรสาคร”.
Ilaw. (2565). คสช.กับภารกิจซ่อมสร้างการประมง. https://ilaw.or.th/node/5111.