วิจัยการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์หัตถกรรมผักตบชวา ตำบลสันป่าม่วง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
โครงการวิจัยการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์หัตถกรรมผักตบชวา ตำบลสันป่าม่วง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ฉบับนี้จัดทำขึ้น 1.) เพื่อศึกษาความต้องการของผู้บริโภคในการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ 2.) เพื่อออกแบบ และเป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบหัตถกรรมผักตบชวา ตำบลสันป่าม่วง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา 3.) เพื่อส่งเสริมการใช้วัสดุจากธรรมชาติ ตอบสนองตามกระแสสังคมที่หันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อม ขั้นตอนการวิจัยมี 7 ขั้นตอนคือ 1.) ศึกษาข้อมูลปฐมภูมิ และเก็บข้อมูลภาคสนาม ศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ 2.) สอบถามความต้องการของผู้ผลิตและผู้บริโภคในการพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมผักตบชวา 3.) ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากความต้องการของผู้ผลิตและผู้บริโภค 4.) สอบถามความพึงพอใจรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนา 5.) สร้างผลิตภัณฑ์ร่วมกับกลุ่มสานผักตบชวา (ชวาวาด) 6.) วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล 7.) สรุปผลการวิจัย อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ ถ่ายภาพเพื่อบันทึกภาพลายสานและผลงานต้นแบบ แบบสัมภาษณ์ความต้องการรูปแบบการพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมผักตบชวา (ชวาวาด) แบบสอบถามการพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมผักตบชวา และแบบสอบถามความพึงพอใจ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชากรกลุ่มสานผักตบชวา (ชวาวาด) 9 คน กลุ่มประชากรผู้บริโภคที่มีความต้องการพัฒนาผลิตหัตถกรรมผักตบชวา 63 คนและ ประชากรผู้ที่สนใจผลิตภัณฑ์ผักตบชวาเพื่อสอบถามความพึงพอใจผลงานต้นแบบ 63 คน ผลการวิจัย พบว่า มีความต้องการรูปแบบโคมไฟห้องแบบที่ 5 ปลาชะโด ในระดับมากที่สุด S.D.=.57 ต้องการลายสานเป็นลายดอกแก้ว S.D.=.69 กลุ่มตัวอย่างเคยใช้โคมไฟระย้าหรือโคมไฟห้อย จำนวน 38 คน และไม่เคยใช้โคมไฟจำนวน 25 คน สถานที่ที่คิดว่าจะนำโคมไฟระย้าหรือโคมไฟห้อยไปใช้มากที่สุดคือ ร้านอาหาร ร้านกาแฟ มีความต้องการให้ผลิตโคมไฟห้อยจากผักตบชวาอยู่ในระดับมากที่สุดร้อยละ 58.7 ต้องการสีจากธรรมชาติร้อยละ 82.5 มีลักษณะแข็งแรง สวยงาม ส่องสว่าง ร้อยละ 82.5 และต้องการแสงสีเหลืองนวลร้อยละ 92.1 การสอบถามความพึงพอใจต่อการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์หัตถกรรมผักตบชวา พบว่ามีความพึงพอใจโคมไฟผักตบชวา(โคมไฟห้อย) การใช้สอย ความสวยงาม การให้แสงสว่าง และการใช้งานอยู่ในระดับมาก ความคิดเห็นกับราคาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมผักตบชวา(โคมไฟห้อย) ของผู้บริโภคและผู้ที่เอื้อต่อการส่งเสริมกลุ่มสานผักตบชวา อยู่ที่ราคา 2,500 บาท มากที่สุดจำนวน 50 คน และมีความพึงพอใจในการ ซื้อ-ขาย ในราคา 2,500 บาท มากที่สุดจำนวน 46 คน
Article Details
References
ฐปนัท แก้วปาน และ ชิตชัย ควรเดชะคุปต์. (2561). ผลิตภัณฑ์เครื่องเขินตกแต่งบ้านประเภทให้แสงสว่าง. วารสารวิจิตรศิลป์ ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม.
ปิยฉัตร พรหมบุรี. (2537). โคมไฟตั้งโต๊ะ เครื่องจักรสาน. (วิทยานิพนธ์ศิลปบัณฑิต สาขาวิชาเครื่องเคลือบดินเผา คณะมัณฑนศิลป์, มหาวิทยาลัยศิลปากร).
มิวเซียมไทยแลนด์. กว๊านพะเยา สายน้ำแห่งชีวิต. เข้าถึงได้จาก: https://www.museumthailand.com/th/1725/storytelling
วรรณี สหสมโชค. (2549). การออกแบบเฟอร์นิเจอร์. กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริม เทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. ปลาชะโด. เข้าถึงได้จาก:
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%94
วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. (2522). 5นาทีกับศิลปะไทย. กรุงเทพฯ: ปาณยา.
สารานุกรม กว๊านพะเยา. ปลาในกว๊านพะเยา. เข้าถึงได้จาก:
http://www.phayaolake.ict.up.ac.th/content/27
สิรินทร์ญา นิ่มนวล. (2559). โครงการออกแบบโคมไฟสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก เพื่อการขนส่ง. (วิทยานิพนธ์ศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร).
สำนักงานพัฒนาเศรฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2552). เศรษฐกิจสร้างสรรค์ The Creative Economy. กรุงเทพฯ: ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ.
อันติกา. (2560). คนพะเยา เติมไอเดียผักตบชวา ทำเฟอร์นิเจอร์ – เสื้อ สร้างเเบรนด์ “ชวาวาด” ดันเป็นสินค้าส่งออก, มติชน เส้นทางเศรษฐีออนไลน์. เข้าถึงได้จาก: https://www.sentangsedtee.com/career-channel/article_24805.
อุดมศักดิ์ สาริบุตร. (2550). การออกแบบเฟอร์นิเจอร์. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
อำไพ แสงจันทร์ไทย และ พจน์ธรรม ณรงค์วิทย์. เทคนิคการสร้างต้นแบบเฟอร์นิเจอร์จากผักตบชวา. ในการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่2. (หน้า. 873). สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
PRAPASRI PHOTHONG (2009). Study and Development Wicker Ware Product With a Java Weed. (The Faculty of Fine And Applied Arts, Rajamangala University of Technology Thunyaburi)