หลักการการป้องกันปัญหายาเสพติด: การประยุกต์จากหลักคำสอนของศาสนาอิสลาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอหลักการและแนวทางในการป้องกันปัญหายาเสพติด ประยุกต์จากหลักคำสอนของศาสนาอิสลาม โดยการศึกษาเอกสารจากแหล่งข้อมูลที่สำคัญ คือ คัมภีร์อัลกุรอาน หนังสืออัลหะดีษ เอกสารงานวิจัยและบทความวิชาการ จากการศึกษาพบว่าศาสนาอิสลามได้กำหนดบทบัญญัติต่าง ๆ ทั้งที่เป็นข้อปฏิบัติและข้อห้าม โดยมีจุดประสงค์เพื่อรักษาผลประโยชน์พื้นฐานของมนุษย์ทั้งห้าประการ ได้แก่ ศาสนา ชีวิต ทรัพย์สิน สติปัญญา และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ศาสนาอิสลามมีบทบัญญัติห้ามสิ่งเสพติดเพื่อประโยชน์ในการดูแลสติปัญญาของมนุษย์ซึ่งเป็นหนึ่งในห้าประการดังกล่าวไม่ให้เสียหาย เพราะสิ่งเสพติดทุกชนิดเป็นโทษต่อระบบสมองของผู้เสพ ทำให้ผู้เสพมึนเมาไม่ได้สติ อาจจะก่ออาชญากรรมร้ายแรง ละเมิดต่อศีลธรรมอันดีงาม หลักการป้องกันปัญหายาเสพติดประยุกต์จากหลักคำสอนของศาสนาอิสลาม ครอบครัวต้องให้ความสำคัญในการดูแลอบรมลูก ต้องคบเพื่อนที่ดีเคร่งศาสนา และอย่าฟุ่มเฟือย
Article Details
References
บุรฉัตร จันทร์แดง. (2560 ).ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยงต่อยาเสพติดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในเขตพื้นที่ตะเข็บชนแดนลุ่มน้้าโขง. วารสารมหาวิทยาลัย
ราชภัฏยะลา. 14(3) : 424-432.
วิสุทธิ์ บิลล่าเต๊ะ. (2552). สายรัก สายชีวิต.พิมพ์ครั้งที่ 3.สงขลา: อาลีพาณิชย์.
ศูนย์อํานวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กระทรวงสาธารณสุข. (2564). แผนยุทธศาสตร์ด้านการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ป่วยยาเสพติด ประจำปีงบประมาณ
พ.ศ.2564-2566.
สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ ประเทศไทย.(2542). พระมหาคัมภีร์อัลกุรอานพร้อมความหมายภาษาไทย. อัลมะดีนะฮฺอัลมุเนาวะเราฮฺ : ศูนย์กษัตริย์ฟาฮัด
เพื่อการพิมพ์อัลกุรอาน.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.(2560).ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20ปี (พ.ศ.2560 - 2579).
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด.(2550). การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา.กรุงเทพฯ:สำนักงาน.
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กระทรวงยุติธรรม. (2564). แผนปฏิบัติการด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ.2565.
อาลี อีซา. (2543). หะดีษที่ถูกคัดเลือก..กรุงเทพฯ.สายสัมพันธ์.