ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของหน่วยงานซึ่งดำเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 : ศึกษาศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาครัฐประจำสำนักงานยุติธรรมจังหวัดมหาสารคาม

Main Article Content

ศักดิ์ชาย สุนทรธนาภิรมย์

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จและไม่สำเร็จในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของหน่วยงานซึ่งดำเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 2) เพื่อเสนอแนะแนวทางในการเสริมสร้างปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท และแนวทางในการลดปัจจัยที่ส่งผลต่อความไม่สำเร็จในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของหน่วยงานซึ่งดำเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 ผลการศึกษาพบว่า 
ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาครัฐประจำสำนักงานยุติธรรมจังหวัดมหาสารคาม เกิดจาก 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่
1. ปัจจัยที่เกิดจากผู้ไกล่เกลี่ย แบ่งออกเป็น (1) ปัจจัยที่เกิดขึ้นก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ย และ (2) ปัจจัยที่เกิดขึ้นขณะที่มีการไกล่เกลี่ยกัน
2. ปัจจัยที่เกิดจากกระบวนการไกล่เกลี่ย แบ่งออกเป็น (1) ปัจจัยที่เกิดจากตัวกระบวนการของการไกล่เกลี่ย และ (2) ปัจจัยที่เกิดจากองค์กรที่ทำหน้าที่กำกับดูแล ควบคุมการไกล่เกลี่ย
3. ปัจจัยที่เกิดจากคู่พิพาท แบ่งออกเป็น (1) ปัจจัยที่ทำให้คู่พิพาททั้งสองฝ่ายตัดสินใจนำข้อพิพาทเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ย และ (2) ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจยอมรับตามข้อเสนอ หรือทางออก หรือวิถีทางในการแก้ไขปัญหาที่พิพาทกัน
ส่วนปัจจัยที่ส่งผลต่อความไม่สำเร็จในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาครัฐประจำสำนักงานยุติธรรมจังหวัดมหาสารคาม เกิดจาก 3 ปัจจัย ได้แก่
1. ปัจจัยที่เกิดจากคู่พิพาท แบ่งออกเป็น (1) ปัจจัยที่เกิดจากตัวคู่พิพาทเอง (2) ปัจจัยที่คู่พิพาทฝ่ายหนึ่งมีต่อคู่พิพาทอีกฝ่ายหนึ่ง (3) ปัจจัยที่คู่พิพาทมีต่อกระบวนการไกล่เกลี่ย และ (4) ปัจจัยที่คู่พิพาทมีต่อตัวผู้ไกล่เกลี่ย
2. ปัจจัยที่เกิดจากบุคคลภายนอก ได้แก่ การเข้ามาแทรกแซง ให้คำปรึกษา แนะนำ และตัดสินใจแทนคู่พิพาท การเสี้ยมสอน การยุยงไม่ให้คู่พิพาทเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยและไม่ให้ยอมรับข้อเสนอในการระงับข้อพิพาท
3. ปัจจัยจากตัวผู้ไกล่เกลี่ย ได้แก่ (1) การที่ผู้ไกล่เกลี่ยไม่รู้ถึงหน้าที่และบทบาทของตนเอง และ (2) การไม่พยายามช่วยเหลือคู่พิพาทเสนอทางออกในการระงับข้อพิพาท
และจากการศึกษาพบว่า แนวทางในการเสริมสร้างปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท แบ่งออกได้ 3 แนวทางหลัก คือ (1) แนวทางในการเสริมสร้างปัจจัยด้านองค์กรที่ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท (2) แนวทางในการเสริมสร้างปัจจัยด้านผู้ไกล่เกลี่ย และ (3) แนวทางในการเสริมสร้างปัจจัยด้านประชาชน 
ส่วนแนวทางในการลดปัจจัยที่ส่งผลต่อความไม่สำเร็จในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท แบ่งออกได้ 3 แนวทางหลัก คือ (1) แนวทางด้านศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท (2) แนวทางด้านผู้ไกล่เกลี่ย และ (3) แนวทางด้านคู่พิพาท

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คมสันต์ กำประทุม และกฤชวรรธน์ โล่วัชรินทร์. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท: กรณีศึกษา ศูนย์ยุติธรรมชุมชน ตำบลนาดี อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิชาการธรรม, 21 (3), 131-132.

จักรกริญน์ ทอดสูงเนิน และอรนันท์ กลันทปุระ. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชุมชน กรณีศึกษา ศูนย์ยุติธรรมชุมชนตำบลโคกขาม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 40(1), 98-113.

ชลธร มีวงศ์อุโฆษ. (2556). เวทีไกล่เกลี่ย - สมานฉันท์ การจัดเตรียมห้องไกล่เกลี่ย (2). วารสารกรมบังคับคดี, 17(86), 1.

ชลธิดา เพิ่มทรัพย์. (2555). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความสำเร็จในการไกล่เกลี่ยคดีฟ้องหย่า. ดุลพาห, 59(2), 82-93.

ชลาภรณ์ เจริญรัตน์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทชั้นบังคับคดี: กรณีศึกษา ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท กรมบังคับคดี [สารนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชลัท ประเทืองรัตนา. (2558). บทวิจารณ์หนังสือ Intractable แonflicts: Socio-psychological foundation and dynamics. วารสารสถาบันพระปกเกล้า,13(3), 55.

พศิลักษมิ์ ทองเจริญ. (2550) ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานของผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานยุติธรรมจังหวัดมหาสารคาม. (2565). สรุปข้อมูลการไกล่เกลี่ยประจำปี 2565. สำนักงานยุติธรรมจังหวัดมหาสารคาม.

ศักดิ์ชาย สุนทรธนาภิรมย์. (2561). รายงานการวิจัยเรื่องการนำการระงับข้อพิพาททางเลือกมาใช้ในคดีสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อาภากร ชุมสาย และอรนันท์ กลันทปุระ. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของศูนย์ยุติธรรมชุมชน : ศึกษากรณีศูนย์ยุติธรรมตำบลหนองโก จังหวัดขอนแก่น. วารสารกระบวนการยุติธรรม, 12(2), 27-42.