การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ สำหรับนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง

Main Article Content

สุพัตรา คำสุข
ปิยาภรณ์ พิชญาภิรัตน์
ภูมิพงศ์ จอมหงษ์พิพัฒน์

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์สภาพปัจจุบันและความต้องการจำเป็นในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ สำหรับนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต ของอาจารย์ผู้สอนหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ สำหรับนักศึกษาหลักสูตร   ครุศาสตรบัณฑิต และ 3) หาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ สำหรับนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต ตัวอย่างการวิจัย ประกอบด้วย ระยะที่ 1  คือ อาจารย์ผู้สอนในรายวิชาวิทยาการจัดการเรียนรู้หรือรายวิชาที่สัมพันธ์กับการจัดการเรียนรู้ มีประสบการณ์ด้านการสอนในรายวิชาชีพครู กลุ่มวิชาหลักสูตรและการสอน ไม่น้อยกว่า 5 ปี สังกัดคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัย   ราชภัฏภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง จำนวน  17 คน  ที่ได้จากการเลือกแบบเจาะจง ระยะที่ 2  กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน ได้มาด้วยวิธีเลือกแบบเจาะจง และระยะที่ 3 คือ นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ชั้นปีที่ 2 ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาวิทยาการจัดการเรียนรู้ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 3 หมู่เรียน รวมทั้งสิ้น 63 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster random sampling) จากนั้นสุ่มอย่างง่ายโดยใช้วิธีการจับฉลากเพื่อจัดตัวอย่างเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยจับฉลากครั้งแรกกำหนดให้เป็นกลุ่มทดลองซึ่งจับได้ Section 13 จำนวน 30 คน และส่วนที่เหลือ 2 Section จัดเป็นกลุ่มควบคุม คือ Section 11 และ Section 12 จำนวน 33 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ระยะที่ 1 คือ  แบบสอบถามความต้องการจำเป็นของอาจารย์ผู้สอนหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างต่อสภาพปัจจุบันและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ สำหรับนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ระยะที่ 2  คือ 1) แบบประเมินความเหมาะสมของร่างรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ สำหรับนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต  และ 2) แบบประเมินความสอดคล้องของร่างรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ สำหรับนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต ระยะที่ 3 คือ 1) แบบประเมินสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต และ 2) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ สำหรับนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ดัชนีความต้องการจำเป็น ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที และการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการวิเคราะห์ระดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยวิธีการหาค่า PNIModified พบว่า ทั้ง 7 ด้าน มีค่า PNIModified อยู่ระหว่าง 0.14-0.27 ซึ่งด้านที่มีระดับความต้องการจำเป็นสูงสุด คือ ด้านบทบาทของผู้เรียน มีค่า PNIModified เท่ากับ 0.27 2) ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ สำหรับนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต มีชื่อว่า “LCCRA MODEL” มีองค์ประกอบ 7 ประการ ได้แก่ 1) แนวคิด ทฤษฎี พื้นฐาน 2) หลักการ                3) วัตถุประสงค์ 4) เนื้อหา 5) กระบวนการจัดการเรียนรู้ ซึ่งประกอบด้วย 5 กระบวนการ ได้แก่ (5.1) กระบวนการเรียนรู้เพื่อสร้าง (5.2) กระบวนการสร้างสรรค์ผลงาน (5.3) กระบวนการเสริมสร้างสมรรถนะ        (5.4) กระบวนการสะท้อนผลการเรียนรู้ และ (5.5) กระบวนการประเมินตามสภาพจริง 6) ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนของการจัดการเรียนรู้ 7 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 สร้างพลังความรู้ด้วยตนเอง ขั้นที่ 2 เติมเต็มการเรียนรู้ด้วยกระบวนการวิจัย ขั้นที่ 3 ผลิตผลงานสร้างสรรค์ ขั้นที่ 4 เสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ ขั้นที่ 5 แลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐาน ขั้นที่ 6 การสะท้อนการเรียนรู้ และขั้นที่ 7 ประเมินผลการเรียนรู้อิงสมรรถนะ  และ 7) การวัดและประเมินผล ทั้งนี้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ สำหรับนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต ได้ผ่านการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ โดยภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ( =4.50, S.D.=.02) 3) ผลการหาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ สำหรับนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต พบว่า นักศึกษากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยที่ค่าเฉลี่ยคะแนนของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม และ พบว่า นักศึกษากลุ่มทดลองมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ สำหรับนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต โดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2558). รายงานผลการศึกษาสถานภาพการผลิตและพัฒนาครูในประเทศไทย. พริกหวานกราฟฟิค.

กฤติยา อริยา, วารีรัตน์ แก้วอไรุ และเพ็ญพิศุทธิ์ ใจสนิท. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการจัดการเรียนการสอนที่เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคลเพื่อส่งเสริมความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษาครูมหาวิทยาลัยราชภัฏ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง,5(2), 1-17.

กัลยา ชนะภัย, วิมลรัตน์ จตุรานนท์, อาพันธ์ชนิต เจนจิต. (2562). การพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ เพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาครู. วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร,11(31), 1-13.

เกษกนก วรรณวัลย์. (2562). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อส่งเสริมสำนึกสากล สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู สาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคตะวันออกเฉียง เหนือ [วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฏีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี]. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

เฉลิมลาภ ทองอาจ. (2556). กระบวนทัศน์ใหม่แห่งการศึกษาในศตวรรษที่ 21. เอกสารประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาความสามารถในการเป็นพี่เลี้ยง (mentoring) นิสิตนักศึกษาครู. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชรอยวรรณ ประเสริฐผล, อนุชา กอนพ่วง, วิทยา จันทร์ศิลาและฉลอง ชาตรูประชีวิน. (2556). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของครูใหม่โรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 15(ฉบับพิเศษ), 43-53.

ชูชีพ ประทุมเวียง. (2563). ความเป็นครูเชิงสมรรถนะของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครูมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยี อีสเทิร์น, 17(1), 576-587.

ณัฐมน พันธุ์ชาตรี. (2559). การสร้างเสริมคุณลักษณะความเป็นครูของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ [วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.

พิมพ์ครั้งที่ 12. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประยูร เชาวนีนาท. (2560). การพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้และวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียนด้วยวิธีการชี้แนะสำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 2 (RMU GRC 2017) (pp. 634-643). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ปาริญา รักษาทรัพย์และ นิษฐ์วดี จิรโรจน์ภิญโญ. (2563). การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนภายใต้กรอบการประกันคุณภาพการศึกษาแนวใหม่. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 8(1), 308-319.

รัชพล กลัดชื่น, กฤช สินธนะกุล. (2562). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนออนไลน์แบบผสมผสานตามแผนการสอนฐานสมรรถนะด้วยกระบวนการ MIAP รายวิชาการสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย. วารสารวิจัยและนวัตกรรม สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร, 2(2), 117-127.

เรวณี ชัยเชาวรัตน์. (2560). สมรรถนะด้านการออกแบบการเรียนการสอนของนักศึกษาครูที่เข้าร่วมเป็นสมาชิกชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ. วารสารครุศาสตร์, 45(4), 143-164.

แรกขวัญ นามสว่าง. (2559). การวิจัยและพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านคำศัพท์ภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ด้านการอ่านชั้นประถมศึกษาปีที่ 2-3 [วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฏีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี]. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

วิชิต ศรีโลห้อ. (2562). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการคิดเชิงระบบที่มีผลต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 [วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฏีบัณฑิต,มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี]. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

สมบัติ ศรีทองอินทร์. (2549). รูปแบบการพัฒนาลักษณะความเป็นครูวิชาชีพของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2556). เอกสารประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่องแนวทางการผลิตครูให้สอดคล้องกับความต้องการทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ. 23 พฤศจิกายน 2556. ณ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.

สุดหทัย รุจิรัตน์. (2558). รูปแบบการเสริมพลังเพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูที่ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียนระดับประถมศึกษา [วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฏีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อพันตรี พูลพุทธา. (2561). การพัฒนาสมรรถนะการวิจัยของนักศึกษาวิชาชีพครูมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม โดยการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 37(5), 182-191.

อรธิดา ประสาร และนวพล กรรณมณีเลิศ. (2564). การพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต ด้วยการเรียนรู้จากประสบการณ์. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 16(1), www.tci-thaijo.org/index.php/OJED.

อรอุมา รุ่งเรืองวาณิชกุล. (2556). การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะครูนักวิจัยด้วยการบูรณาการเรียนรู้ สำหรับข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 [วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อารีย์รัตน์ โนนสุวรรณ, ธีรชัย เนตรถนอมศักดิ์,นฤมล อินทร์ประสิทธิ์. (2564). ผลการศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนด้วยแนวทางการเรียนรู้เชิงรุกและการกำกับตนเอง เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียน สำหรับนักศึกษาครู สาขาวิชาภาษาไทย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 9(3), 1065-1078.

อุบลวรรณ ส่งเสริม. (2555). การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาความสามารถในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาครู [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์]. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Lingam, G.I., Lingam, N., Raghuwaiya, K. (2014). Professional development of pre-service teachers : The case of practicum experience. International Scholarly and Scientific Research & Innovation, 8(7), 2093-2099.