การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชัน เพื่อประชาสัมพันธ์เส้นทางท่องเที่ยวชุมชน จังหวัดสุโขทัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและวิเคราะห์รูปแบบการประชาสัมพันธ์เส้นทางท่องเที่ยวชุมชน อำเภอสวรรคโลก และอำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย 2) เพื่อพัฒนาเว็บแอปพลิเคชัน 3 ภาษา ประชาสัมพันธ์เส้นทางท่องเที่ยวชุมชน (ภาษาไทย ภาษาจีน ภาษาอังกฤษ) ในจังหวัดสุโขทัย และ 3) ประเมินความพึงพอใจของผู้เว็บแอปพลิเคชันประชาสัมพันธ์เส้นทางท่องเที่ยวชุมชน 3 ภาษา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (research and development) ดำเนินการวิจัยโดยนำวงจรการพัฒนาระบบ (SDLC) มาปรับใช้ในการพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันฯ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักท่องเที่ยวและบุคคลในชุมชน ที่ใช้เว็บแอปพลิเคชันประชาสัมพันธ์เส้นทางท่องเที่ยวชุมชน จำนวน 246 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์รูปแบบการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวชุมชน อำเภอสวรรคโลก และอำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย เว็บแอพพลิเคชันเพื่อประชาสัมพันธ์เส้นทางท่องเที่ยวชุมชน จังหวัดสุโขทัย และแบบประเมินความพึงพอใจต่อการใช้งานเว็บแอพพลิเคชันเพื่อประชาสัมพันธ์เส้นทางท่องเที่ยวชุมชน จังหวัดสุโขทัย โดยผู้ใช้เว็บแอพพลิเคชัน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน ผลประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อเว็บแอปพลิเคชันฯ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( x̄ = 3.78) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านการออกแบบและการจัดรูปแบบ ( x̄ = 3.79)
Article Details
References
ชาญชัย ศุภอรรถกร, จิรายุ แสงศรี และอัญชลีกร คําหล่า. (2565). การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชัน Wongwat เที่ยววัดเมืองไทย. วารสารวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา, 5(1), 12-22.
ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี.
ปรัชญนันท์ นิลสุข (2546). การประเมินคุณภาพเว็บข้อมูลสารสนเทศ. รังสิตสารสนเทศ, 9(1), 19-27.
เพ็ญศรี ศรีสวัสดิ์, กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์ และ กานดา พูนลาภทวี. (2558). การพัฒนาระบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้บนโทรศัพท์เคลื่อนที่. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 6(1), 78-87.
ศูนย์วิจัย ธนาคารออมสิน. (2561). การท่องเที่ยวชุมชน. https://www.gsb.or.th/GSB-Research.aspx
ศูนย์วิจัย ธนาคารออมสิน. (2562). ท่องเที่ยวโดยชุมชนวิถีสู่ความยั่งยืน. https://www.gsbresearch.or.th/
สยมล วิทยาธนรัตนา. (2554). ความจริงเสมือน (virtual reality) : การนำไปใช้และผลกระทบด้าน
การท่องเที่ยว. http://www.etatjournal.com/mobile/index.
php/menu-read-tat/menu-2011/menu-2011-oct-dec/66-42554-technology-tourism
สิริพรรษา พัวตะนะ, กัญสุชญา ทัศนา, ภัณฑิรา ตามใจเพียร และวศิน สุขสมบูรณ์วงศ์. (2566). การศึกษาประเพณีลอยเรือสําเภาในแม่น้ำน่านและตัวอักษรจีนในศาลเจ้าแม่ทับทิมของชุมชนชาวจีนบ้านวังส้มซ่า อําเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารอักษราพิบูล, 4(1), 1-20.
แสงเพ็ชร พระฉาย และคณะ. (2562). การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลเพื่อสนับสนุนรูปแบบเทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 5(1), 88-100.
Stair, R. M. & Reynolds, G. W. (2012). Fundamentals of information systems (6th ed.). Course Technology.
Toubes, D. R., Araújo Vila, N., & Fraiz Brea, J. A. (2021). Changes in consumption
patterns and tourist promotion after the COVID-19. Journal of Theoretical and Applied Electronic Commerce Research, 16, 1332–1352.