การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน

Main Article Content

สุพรรษา ขันสัมฤทธิ์
ณวรา สีที

บทคัดย่อ

                 การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียน ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน และเพื่อศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีของการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานในการส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียน ดำเนินการวิจัยโดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการ กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 30 คน ที่ได้จากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง ลมฟ้าอากาศรอบตัว แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ แบบสัมภาษณ์นักเรียน แบบบันทึกประสบการณ์ของนักเรียน และแบบบันทึกหลังสอนของครู วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เชิงอุปนัย ผลการวิจัยพบว่าความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ระดับความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนหลังเรียนอยู่ในระดับดีมาก แนวปฏิบัติที่ดีของการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานในการส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนได้เสนอไว้ในการวิจัยนี้ ครูผู้สอนสามารถใช้แนวปฏิบัตินี้เป็นแนวทางในการพัฒนาความสามารถของนักเรียนได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ฐิญาณา สุภัทรชยาภูมิ. (2561). ประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนรู้โครงงานที่เน้นจิตสังคมเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. [วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต,มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ทรงยศ สกุลยา. (2563). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เรื่อง การประยุกต์สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ด้วยกระบวนการคิดให้เป็นคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 22(4), 88-100.

นลินทิพย์ คชพงษ์. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงจิตวิทยาเพื่อเสริมสร้างการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สeหรับนักศึกษาวิชาชีพครู. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 14(2), 1-12.

นาฏนลิน ภูลสวัสดิ์. (2562). การจัดการเรียนรู้เรื่องเซลล์และการหายใจระดับเซลล์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาการคิดแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม]. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2556). การพัฒนาการคิด. ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เฟื่องลัดดา จิตจักร. (2558). ผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง ปฏิกิริยาเคมีที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ด้วยแบบแผนการทดลองแบบสี่กลุ่มของโซโลมอน. [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัย

ศรีนครินทรวิโรฒ ]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ภารดี กำภู ณ อยุธยา. (2560). การศึกษาการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และความคิดสร้างสรรค์ในเด็กที่มีความสามารถพิเศษระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 11(2), 123-135.

ยุพาพันธ์ มินวงษ์. (2558). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโครงงานวิทยาศาสตร์ที่เน้นการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ (3P) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 [วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

รุจิราพร รามศิริ. (2558). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้การวิจัยเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างทักษะการวิจัยทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา. Silpakorn Educational Research Journal, 7(1), 110-122.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

ศิริพร แก้วอ่อน. (2558). การพัฒนาความสามารถและเจตคติในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, 7(1), 187-197.

สุพรรษา ขันสัมฤทธิ์ และ ณวรา สีที. (2566). การสร้างแบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ห้องเรียนพิเศษ วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์, วารสารราชพฤกษ์, 21(1), 200-215.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2563). แผนยุทธศาสตร์กระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ. 2563-2564). https://qrgo.page.link/i9WhX

อภิชัย เหล่าพิเดช. (2556). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เรื่อง ปัญหาทางสังคมของไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน. วารสาร Veridian E-Journal, 6(3), 757-774.

อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง. (2563). การคิดแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ Creative Problem Solving. https://lms.thaimooc.org/courses/course-v1:CU+CU012+2018/about

Arends, R. I. (2012). Learning to teach (9th ed.). McGraw-Hill Companies.

Kemmis, S., & McTaggart, R. (1988). The action research planner. The Deakin University.

Kim, J-S. (2009). The effect of problem-based learning on creative problem-solving skills and achievement in elementary science. Journal of Korean Elementary Science Education, 28(4), 382-389.

Sihaloho, R. R., Sahyar, S., & Ginting, E. (2017). The effect of problem-based learning (PBL) model toward student’s creative thinking and problem solving ability in senior high school. IOSR Journal of Research & Method in Education (IOSRJRME), 7(4), 11-18.

Torp, L., & Sage, S. (1998). Problems as possibilities: Problem-based learning for K-12 education. Association for Supervision and Curriculum Development.

Treffinger, D. J., Isaksen, S. G. & Dorval, K. B. (2003). Creative problem solving (CPS Version 6.1TM) a contemporary framework for managing change. Orchard Park.

Treffinger, D. S., Selby, E. C., & Schoonover, P. F. (2021). Educating for Creativity & Innovation: A Comprehensive Guide for Research-based Practice. https://doi.org/10.4324/9781003234784