การศึกษาวิเคราะห์การแปลคำว่า "เหริน" ในจตุรปกรณ์สำนักขงจื่อเป็นภาษาไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
เหริน(仁)เป็นคุณธรรมสำคัญของแนวคิดปรัชญาขงจื่อ มีความหมายซับซ้อนและกินความกว้างจนยากที่จะแปล บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากลวิธีการแปลความหมายคำว่า เหริน เป็นภาษาไทย2) เพื่อศึกษาการแปลคำว่า เหริน ในคัมภีร์จตุรปกรณ์(四书)สำนักขงจื่อฉบับแปลภาษาไทย ดำเนินการศึกษาวิจัยโดยการศึกษาข้อมูลจากคัมภีร์จตุรปกรณ์สำนักขงจื่อฉบับภาษาไทยร่วมกับฉบับภาษาจีน ศึกษาหนังสือและเอกสารที่เกี่ยวข้องจากนั้นทำการวิเคราะห์ผล ผลการวิจัยพบว่า การแปลคำว่า เหริน เป็นภาษาไทย ใช้กลวิธีการแปลคำทางวัฒนธรรม 2 กลวิธี ได้แก่ 1) กลวิธีการแปลโดยการถอดเสียง 2) กลวิธีการแปลโดยการถอดความหมาย ในกลวิธีการแปลโดยการถอดความหมายนี้ สามารถจำแนกออกเป็น 6 ความหมายในภาษาไทย คือ มนุษยธรรม มนุสสธรรม กัลยาณธรรม เมตตาธรรม การุณยธรรม และความรักหรือเจตนารมณ์ที่ดีงาม ซึ่งการถอดความหมายคำว่า เหริน ทั้งหกคำนี้ ใช้วิธีการแปลแบบเอาความ (Free Translation) ตามทฤษฎีการแปลของสัญฉวี สายบัว อีกทั้งยังพบว่า การแปลคำว่า เหริน เป็นภาษาไทย ในหนังสือจตุรปกรณ์ของสำนักขงจื่อฉบับแปลภาษาไทย 4 เล่มตามขอบเขตการวิจัย มีการใช้คำภาษาไทยถอดความหมายคำว่า เหริน แตกต่างกัน ดังนี้ 1) หลุนอี่ว์: ขงจื่อสนทนา ใช้คำว่า มนุษยธรรม 2) ต้าเสวีย (มหาศึกษา) ใช้คำว่า กัลยาณธรรม 3) จงยง (ความเหมาะสมที่แน่นอน) ใช้คำว่า มนุสสธรรม 4) คัมภีร์เมิ่งจื่อ ใช้คำว่า มนุสสธรรม และ การุณยธรรม ซึ่งการตีความคำว่า เหริน ในความหมายที่แตกต่างกันนั้น ไม่ได้สะท้อนถึงความถูกผิดของภาษา หากแต่สามารถสะท้อนถึงมุมมองของผู้แปลที่ต้องการสื่อความหมายที่ต่างกันออกไป
Article Details
References
กนกพร นุ่มทอง. (2563). ทักษะการแปลภาษาจีนเป็นภาษาไทย. ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
คำปั่น อักษรวิลัย. (2554). ภาษาบาลี 1 คำ คติธรรมประจำสัปดาห์: “มนุสฺส”. https://www.dhammahome.com/webboard/topic/32133
ดลวัฒน์ บัวประดิษฐ์. (2557). จริยศาสตร์สำนักขงจื่อ: ระหว่างอัตตานัติ กับ ความเป็นตัวเองที่เที่ยงแท้. วารสารศิลปศาสตร์, 14(2), 85-101.
ถาวร สิกขโกศล และกนกพร นุ่มทอง. (2562). คัมภีร์ต้าเสวีย (มหาศึกษา) และ จงยง (ความเหมาะสมที่แน่นอน) สองคัมภีร์แก่นคำสอนของลัทธิขงจื๊อ. สมาคมเผยแผ่คุณธรรม "เต็กก่า" จีจีนเกาะ.
ทองแถม นาถจำนง และปกรณ์ ลิมปนุสรณ์. (2551). ธรรมะขงจื๊อ: สอนคนให้เป็นคน. ใบบัว.
ทองย้อย แสงศิลป์ชัย. (2562). การุณยฆาต ใช้อำ นาจอะไรตัดสิน? อ่านว่า กา-รุน-ยะ-คาด. http://dhamma.serichon.us/2019/01/25/การุณยฆาต-ใช้อำนาจอะไร
เธียรชัย เอี่ยมวรเมธ. (2553). พจนานุกรมจีน-ไทย ฉบับใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 25). รวมสาส์น.
ปกรณ์ ลิมปนุสรณ์. (2558). คัมภีร์เมิ่งจื่อ. โอเพ่น โซไซตี้.
พระทวีป กลฺยาณธมฺโม (เล็กบัณฑิตย์). (2552). การศึกษาวิเคราะห์หลักกัลยาณธรรมสำหรับการดำรงชีวิตที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนา [วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย]. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระราเชนทร์ วิสารโท. (2559). สิทธิมนุษยธรรม: สิทธิมนุษยชนแนวพุทธ. วารสารปัญญาปณิธาน, 1(1), 7-21.
วรากรณ์ พูลสวัสดิ์, สรวิชญ์ วงษ์สอาด, ธงชัย ศรีเมือง, ภรสรัญ แก่นทอง, และปิยนาถ อิ่มดี. (2562). การพัฒนาชุมชนตามแนวคิดทางสายกลางของขงจื๊อ. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 4(3), 489-504.
สัญฉวี สายบัว. (2550). หลักการแปล (พิมพ์ครั้งที่ 8). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุวรรณา สถาอานันท์. (2551). หลุนอี่ว์: ขงจื่อสนทนา. เอเซียแปซิฟิคพริ้นติ้ง.
สุวรรณา สถาอานันท์. (2555). หลุนอี่ว์: ขงจื่อสนทนา (พิมพ์ครั้งที่ 2). โอเพ่นบุ๊กส์.
สุวรรณา สถาอานันท์. (2562). หลุนอี่ว์: ขงจื่อสนทนา. โอเพ่นบุ๊กส์.
เสถียร โพธินันทะ. (2544). เมธีตะวันออก. สร้างสรรค์บุ๊คส์.
อติชาติ คำพวง และอรอนงค์ อินสะอาด. (2562). ปรัชญาของขงจื่อกับการจัดระเบียบทางสังคม การศึกษาวิเคราะห์คัมภีร์หลุนอี่ว์. วารสารภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม, 8(2), 126-164.
อธิศา งามศรี. (2560). กลวิธีการแปลคำและวลีทางวัฒนธรรมที่พบในบทแปลจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ กรณีศึกษาหนังสือเรื่อง “ครูบ้านนอก” โดย คำหมาน คนไค [สารนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อมร ทองสุก. (2552). คัมภีร์หลุนอวี่ The Analects of Confucius คัมภีร์แห่งแดนมังกร (พิมพ์ครั้งที่ 2). ชุณหวัตร.
อัมพร วรานนท์วนิช, นัฎฤดี ปั้นกิจวานิชเจริญ และ Fuchao Liu. (2563). การศึกษาแนวคิดเรื่อง “เสี้ยว” “ที่” “ซิ่น” “จง” ของขงจื่อในคัมภีร์หลุนอี่ว์. งานประชุมระดับชาติ ครั้งที่ 12 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
Chu Xin. (2020).《论语》中“仁”的翻译对比研究 . 英语广场, 125,37-39.
Gao Tian. (2011). 四书章句集注. Zhonghua Shuju.
Li Zehou. (2004). Reading the analects today (3rd ed.). Longchang Weiye.
Newmark, P. (2001). A textbook of translation. Shanghai Foreign Language Education.
Nida, E. A., & Taber, C. R. (1982). The theory and practice of translation (2nd Photomechanical
reprint). The United Bible Society.
Yang Bojun. (2007). 《论语译注》. 中华书局.
Zhang Rong. (2019). “仁”字英译的哲学分析.教育现代化, 8(65), 195-196.
Zhong Xue, & Wang Jinfeng. (2021). 对比分析《论语》英俄 译本中文化负载词 “仁”字的翻译.时
代文学, 7, 55-56.
Zhou Mei. (2022). 《论语》中 “仁”的英译分析与研究. 语言研究, 137.
中国社会科学院语言研究所词典编辑室. (2008). 现代汉语词典. (第5版). 北京: 商务印书馆