สิิทธิที่จะมีส่วนในเมืองของคนจนเมืองอีสาน: พื้นความรู้และปรากฏการณ์ จากการพัฒนา

Main Article Content

พัชนีย์ เมืองศรี
ธนพฤกษ์ ชามะรัตน์

บทคัดย่อ

                การพัฒนาเมืองของจังหวัดขอนแก่นตามทิศทางการพัฒนาสู่ความทันสมัย ส่งผลให้เมืองมีการปรับเปลี่ยนทั้งด้านกายภาพ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาเศรษฐกิจ ตลอดจนการให้บริการของเมืองที่มุ่งสนองตอบต่อคนเมือง ท่ามกลางจินตนาการและความคาดหวังที่จะเข้าถึงการปรับเปลี่ยน
ของเมือง บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำ เสนอบริบทการพัฒนาเมืองของจังหวัดขอนแก่น และสิทธิที่จะมีส่วนในเมืองของคนจนเมืองอีสานในบริบทของการพัฒนาเมือง ใช้วิธีการศึกษาศึกษาเชิงคุณภาพโดยการทบทวนเอกสารทางวิชาการ รายงานวิจัย บทความ ร่วมกับข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากการสนทนากลุ่ม (focus group) ร่วมกับคนจนเมือง ผลการศึกษาพบว่า การพัฒนาเมืองของจังหวัดขอนแก่นมีรัฐและกลุ่มทุนเป็นผู้มีบทบาทสำ คัญในการพัฒนาเมืองที่กระทำ ผ่านการพัฒนาเศรษฐกิจในรูปแบบต่างๆ โดยเฉพาะการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การกระจายความเจริญตามทิศทางการพัฒนา ในฐานะเมืองศูนย์กลางภาคอีสาน เรื่อยมาจนถึงการพัฒนาเมืองสมัยใหม่ เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของเมือง พื้นที่ของเมืองมีราคาและสามารถสร้างมูลค่าได้ ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำ ในสิทธิที่จะมีส่วนในเมืองของคนเมือง โดยเฉพาะคนจนเมืองผู้ที่มีทรัพยากรดำรงชีพที่จำ กัดแต่เป็นผู้วิถีชีวิตที่สอดคล้องไปกับการเปลี่ยนแปลงของเมือง โดยคนจนเมืองมีมุมมองต่อสิทธิ ที่จะมีส่วนในเมืองที่ทันสมัยนี้ ในการเข้าถึงที่อยู่อาศัยในฐานะเป็นคนเมือง การเข้าถึงการใช้ประโยชน์
จากพื้นที่เมือง และกิจกรรมของเมือง ตลอดจนการขยับขยายไปถึงสิทธิที่จะรับรู้ สิทธิที่จะแสดงความ เห็น สิทธิที่กำ หนดพื้นที่ของตนเอง และสิทธิที่จะเข้าถึงประโยชน์จากเมือง อย่างไรก็ดี หากจะทำให้คนจนเมืองมีสิทธิที่จะมีส่วนในเมืองได้เช่นคนเมืองทุกคน ประการสำคัญคือ ควรตระหนักถึงการเป็น 

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กระทรวงคมนาคม. (2558). หนังสือขออนุมัติดำ เนินโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงชมทางถนนจิระขอนแก่น. การรถไฟแห่งประเทศไทย.

การรถไฟแห่งประเทศไทย. (2564). รายงานสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2

โครงการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย

(ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย, 2564). การรถไฟแห่งประเทศไทย.

ชินาธิป ชาติพุดซา. (2565). การใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการส่งเสริมความรู้และ

การมีส่วนร่วมในการปลูกผักสวนครัวของคนจนเมือง ชุมชนเทพารักษ์ 5 เทศบาลนคร

ขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยศิลปวิทยาการลุ่มน้ำ โขง, 30(2), 1-15.

ณัฐวุฒิ อัศวโกวิทวงศ์, ขวัญพร บุนนาค, และ นภัส วัฒโนภาส. (2561). ความเหลื่อมล้ำ ในเมือง

มหานคร:บทปริทรรศน์ความรู้ในบริบทประเทศไทย. วารสารสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย,

(2), 157-178.

เทศบาลนครขอนแก่น. (2561). แผนยุทธศาสตร์เทศบาลนครขอนแก่น. http://www.kkmuni.go.th/

ธิติญา เหล่าอัน. (2563). ชุมชนข้างทางรถไฟกับผลกระทบจากการสร้างรถไฟรางคู่: ชุมชนข้างทางรถไฟ

อําเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 46(1), 254-289.

ธนพฤกษ์ ชามะรัตน์. (2565). รายงานการวิจัย คนจนเมืองที่เปลี่ยนไปในสังคมเมืองที่กาลังเปลี่ยนแปลง: ํ

กรณีศึกษาชุมชนเมืองอีสาน. สำ นักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและ

นวัตกรรม (สกสว.) สำ นักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

บัวพันธ์ พรหมพักพิง และคณะ. (2555). การประเมินคุณประโยชน์ของระบบนิเวศ: การเปลี่ยนแปลง

และผลต่อความอยู่ดีมีสุขของมนุษย์. กลุ่มวิจัยความอยู่ดีมีสุขและการพัฒนาอย่างยั่งยืนคณะ

มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

บัวพันธ์ พรหมพักพิง, ยรรยงค์ อินทร์ม่วง และมนต์ชัย ผ่องศิริ. (2562). เมืองขอนแก่น: การเติบโต

ความท้าทายและโอกาส. สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย.

บุญเลิศ วิเศษปรีชา. (2562). สิทธิที่จะมีส่วนร่วมในเมือง The Right to the City. CMU Journal of

Law and Socia Sciences, 12(2), 85-122.

วัชระ ปวีณาภรณ์ และ ศิวัช ศรีโภคางกุล. (2563). คนชายขอบที่ถูกบังคับให้เป็นผู้เสียสละ: กรณีศึกษา

ชุมชนริมทางรถไฟจังหวัดขอนแก่น. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น,

(3), 235-245.

สักรินทร์ แซ่ภู่. (2563). สถานภาพทางความรู้ลดความเหลื่อมล้ำ คนจนเมือง ประเภทเมืองเขตเศรษฐกิจ

พิเศษ. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์, 37(3), 1-53.

สุวิทย์ ธีรศาสวัต. (2551). ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจชุมชนหมู่บ้านอีสาน 2488-2544. มหาวิทยาลัย

ขอนแก่น.

สำ นักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). การสำ รวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของ

ครัวเรือนของสำ นักงานสถิติแห่งชาติที่ประมวลผลโดยสำ นักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและ

สังคมแห่งชาติ. http://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=3518&fi

Beall, J., & Fox, S. R. (2007). Urban poverty and development in the 21st century Oxfam GB

research report. https://www.researchgate.net/publication/30522959

Darcya, M., & Rogers, D. (2014). Inhabitance, place-making and the right to the city: public

housing redevelopment in Sydney. International Journal of Housing Policy, 14(3),

-256.

Eisenburg, L., Masciello, D., Saavedra, S., & Weisman, M. (2007). Voices from the margin

economic, social and cultural rights in Northeast Thailand Khon Kaen, Slums ESCR.

Mobilization Project.

Harvey, D. (2008). The right to the city. New Left Review, 53(8), 23-40.

Harvey, D. (2012). REBEL CITIES from the right to the city to the urban revolution. Verso is the

imprint of New Left Books.

Irandoost, K., Doostvandi, M., Litman, T., & Azami, M. (2019). Placemaking and the right to the

city of urban poor: a case studyin Sanandaj, Iran. Journal of Place Management and

Development, 12(4), 508-528.

Lefebvre, H. (1992). The production of space. Wiley-Blackwell.

Lefebvre, H. (1996). Writings on cities. Wiley-Blackwell.

Manuel, B., Aalbers, Kenneth, D. B., & Gibb. (2014). Housing and the right to the city:

introduction to the special issue. Development in Practice Journal, 14(3), 207-213.

Murali, V., & Oyebode, F. (2004). Poverty, social inequality and mental health. Advances in

psychiatric treatment, 10(3), 216-224.

Phongsiri, M. (2019). Land conflict and land governance in the greater Mekong sub region: Case

studies of urban and Peri-urban in Thailand. Journal of Mekong Societies, 15(1), 87-110.

Speak, S. (2012). Planning for the needs of urban poor in the Global South: The value of

a feminist approach. Planning Theory,11(4), 343-360.

Thai People Map and Analytics Platform: TPMAP. (2565). ภาพรวมคนจนในปี 2565 อ. เมือง

ขอนแก่น จ. ขอนแก่น. https://www.tpmap.in.th/2565/4001.