การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงคำนวณ ของนักศึกษาอาชีวศึกษา เรื่อง การเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรง

Main Article Content

รุ่งทิพย์พร เสน่หา
สิรินภา กิจเกื้อกูล

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงคำนวณ เรื่อง การเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรง และ 2)ศึกษาการเปลี่ยนแปลงด้านทักษะการคิดเชิงคำนวณ ของนักศึกษาอาชีวศึกษา ผู้เข้าร่วมวิจัย คือ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.1) สถาบันอาชีวศึกษาแห่งหนึ่งในจังหวัดเลย จำนวน 40 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง รูปแบบการวิจัยเป็นวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนจำนวน 3 วงจรปฏิบัติการ เครื่องมือที่ใช้วิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 3 แผน 2) แบบสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ 3) แบบวัดทักษะการคิดเชิงคำนวณ 4) ใบกิจกรรม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและการตรวจสอบแบบสามเส้า ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานที่สามารถพัฒนาทักษะการคิดเชิงคำนวณ ควรให้ความสำคัญกับการกำหนดสถานการณ์ที่ใกล้ตัวและเกิดขึ้นได้ในชีวิตจริง พร้อมทั้งปูพื้นฐานวิธีการคำนวณอย่างง่าย เพื่อให้แบ่งปัญหาใหญ่ออกเป็นปัญหาย่อย และนำข้อมูลมาเขียนสรุปจัดเรียงเป็นขั้นตอนในการแก้ไขปัญหาได้ ครูควรให้ผู้เรียนได้ร่วมกันอภิปรายถึงขั้นตอน การวางแผนดำเนินการแก้ปัญหา รวมถึงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อเสนอแนะซึ่งกันและกัน 2)การเปลี่ยนแปลงด้านทักษะการคิดเชิงคำนวน พบว่า นักศึกษามีทักษะการคิดเชิงคำนวณเพิ่มขึ้น สามารถเขียนอธิบาย นำเสนอ อภิปรายขั้นตอนการแก้ปัญหาได้ถูกต้องมากขึ้น ซึ่งองค์ประกอบที่นักศึกษามีทักษะการคิดเชิงคำนวณมากที่สุดคือ การพิจารณารูปแบบของปัญหาได้ดีสุด รองลงมาคือการแยกส่วนประกอบ การพิจารณาสาระสำคัญของปัญหา และการการออกแบบอัลกอริทึม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกรียงศักดิ์ พลอยแสง. (2561). การเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. สารนิพนธ์พุทธศาสตรบัณฑิต , (1), 280-289.

ณัฐธิดา กัลยาประสิทธิ์. (2564). การพัฒนาการคิดเชิงคำนวณโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เรื่องโมเมนตัมและการชน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 [วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ธัชทร โพธิ์น้อย, อัญชลี ทองเอม. (2561). การใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ ในรายวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดสองพี่น้อง. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, 6(3), 305-316.

นราลักษณ์ ผ่องปัญญา. (2560). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้แนวคิดการใช้ปัญหาเป็นฐาน ผ่านกระบวนการกลุ่มเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 [วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิชญานิน ศิริหล้า. (2561). ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวฉันทศึกษา เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงคำนวณ (computational thinking) และการทำงานเป็นทีม ในวิชาฉันทศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายประถม) [ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

มีนตรา พรหมรักษา. (2563). การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับวีดิโอช่วยสอนเพื่อพัฒนา ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางฟิสิกส์และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม]. มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.

ยุภารัตน์ พืชสิงห์. (2564). การพัฒนาทักษะการคิดเชิงคำนวณโดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ ปัญหาเป็นฐานร่วมกับ เครือข่ายสังคมออนไลน์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 [วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม] . มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สิรินภา กิจเกื้อกูล. (2557). การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ทิศทางสำหรับครูศตวรรษที่ 21. จุลดิสการพิมพ์.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). คู่มือการใช้หลักสูตร สาระเทคโนโลยี วิทยาการคำนวณ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). แนวทางการนิเทศเพื่อพัฒนาและส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (active Learning) ตามนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

Greenwald, N. L. (2000). Learning from problems. The Science Teacher, 67, 28-32.

Kemmis, S., & McTaggart, R. (1988). The action research planner (3rd ed.). Deakin University Press.

Bayat, S., & Tarmizi, R. A. (2012). Effects of problem-based learning approach on cognitive variables

of university students. Procedia - Social and Behavioral Sciences, 46, 3146-3151.