การจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์เป็นฐานที่ส่งเสริมการคิดเชิงระบบ เรื่อง ระบบนิเวศ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

จารุภา นวลเพ็ง
สิรินภา กิจเกื้อกูล

บทคัดย่อ

            การวิจัยปฏิบัติการครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์เป็นฐานที่ส่งเสริมการคิดเชิงระบบ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง ระบบนิเวศ 2) ศึกษาพัฒนาการด้านการคิดเชิงระบบ เมื่อจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์เป็นฐาน ผู้เข้าร่วมวิจัยมีจำนวน 27 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ แบบบันทึกสะท้อนผล แบบสำรวจการคิดเชิงระบบ ที่มีค่า IOC = 0.80-1.00 และใบบันทึกการเรียนรู้ ดำเนินการวิจัยทั้งหมด 3 วงจรปฏิบัติการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและการตรวจสอบสามเส้า ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์เป็นฐานพบว่า 1.1 ควรเร้าความสนใจของนักเรียนควรใช้เรื่องราวหรือหัวข้อที่นักเรียนสนใจ 1.2 ควรจัดกลุ่มให้ทุกคนได้มีส่วนร่วม มีการอธิบายลักษณะบทบาทสมมติชัดเจน และให้ซักซ้อมบทบาทสมมติก่อนการแสดง   1.3 ควรกระตุ้นการแสดงบทบาทหน้าที่ของหัวหน้ากลุ่มในการนำอภิปราย 1.4 กระตุ้นให้นักเรียนทุกคนได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นหรือความเข้าใจของตน 1.5 ประเมินผู้เรียนด้วยการใช้สถานการณ์ใหม่ที่ใกล้เคียงแต่ไม่ซ้ำกับสถานการณ์ในบทเรียนก่อนหน้า 2) การพัฒนาด้านการคิดเชิงระบบพบว่า นักเรียนเกิดการพัฒนาการคิดเชิงระบบ 4 ทักษะ โดยพัฒนาทักษะการนำเสนอได้มากที่สุด รองลงมาคือ ทักษะการลากเส้น ทักษะการตั้งคำถาม และทักษะการคิดทบทวนตามลำดับ (ร้อยละ 63, 52, 44 และ 30)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2559). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (พิมพ์ครั้งที่ 7). สำนักพิมพ์พี บาลานซ์ดีไซด์แอนปริ้นติ้ง.

ทรัพสิริ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา และคณะ. (2564). การจัดการเรียนการสอนจากประสบการณ์ตามสภาพจริงตามรูปแบบกิจกรรมประสบการณ์. วารสารธรรมศาสตร์, 40(2), 116-129.

ทิศนา แขมมณี. (2561). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 22). สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เทียมจันทร์ พานิชย์ผลินไชย. (2559). การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง : การจัดการเรียนรู้ด้านการผลิตครู. สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (สทมส.), 22(2), 1-11.

นวพล ทองคำ. (2562). การจัดการเรียนรู้ด้วยสถานการณ์จำลองร่วมกับแอปพลิเคชันทางการศึกษาเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ เรื่อง แสงและทัศนอุปกรณ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 [วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ประจักษ์ ปฏิทัศน์. (2562). การคิดเชิงระบบและความคิดสร้างสรรค์. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์.

พระครูสันติบุญญาทร กตปุญฺโญ. (2565). การจัดการระบบนิเวศวิถีพุทธแบบบูรณาการเชิงระบบ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 7(1), 1,098-1,110.

มกราพันธุ์ จูฑะรสก. (2562). การพัฒนากระบวนการคิดอย่างเป็นระบบเชิงสร้างสรรค์ : การสะท้อนคิดด้วยเทคนิคตะกร้า 3 ใบ. วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร, 9(2), 203-222.

ยุพิน บุญชูวงศ์. (2556). การสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง (simulation). ข่าวสารวิชาการหน่วยทะเบียนและพัฒนาวิชาการ งานบริการการศึกษาและพัฒนาคุณภาพนักศึกษา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประจำเดือนเมษายน 2556. https://shorturl.asia/hP7CD

ฤทัยรัตน์ ชิดมงคล และสมยศ ชิดมงคล. (2560). การคิดเชิงระบบ: ประสบการณ์การสอนเพื่อพัฒนาการคิดเชิงระบบ. วารสารครุศาสตร์, 15(2), 209-224.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2558). ความรู้และสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์สำหรับโลกวันพรุ่งนี้. https://shorturl.asia/kGjd7

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2559). สรุปผลการประเมิน PISA 2015 วิทยาศาสตร์ การอ่าน และคณิตศาสตร์. https://pisathailand.ipst.ac.th/pisa2015summaryreport/

สิรินภา กิจเกื้อกูล. (2557). การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ทิศทางสำหรับครูศตวรรษที่ 21. สำนักพิมพ์จุลดิสการพิมพ์.

อนงค์นาถ ทนันชัย. (2563). การใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาทักษะการนำเสนอของนักศึกษาในรายวิชาการนำเสนอผลงานทางธุรกิจ. วารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 7(1), 48-63.

Goodman, M. (2020). Systems thinking: What, why, when, where and how? https://thesystemsthinker.com/systems-thinking-what-why-when-where-and-how/.

Kouzes, J. M., & Posner, B. Z. (2017). The leadership challenge: How to make extraordinary things happen in organizations (5th ed.). https://t.ly/wIGMf