ความรู้ทางกฎหมายเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันและรู้เท่าทันการใช้สื่อสังคมออนไลน์สำหรับเยาวชนจังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

กัญญาภัค บึงไสย์

บทคัดย่อ

                  ความรู้ทางกฎหมายเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันและรู้เท่าทันการใช้สื่อสังคมออนไลน์ สำหรับเยาวชนจังหวัดอุดรธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบกระบวนการให้ความรู้และศึกษาผลสัมฤทธิ์ความรู้ทางกฎหมายเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันและรู้เท่าทันการใช้สื่อสังคมออนไลน์สำ หรับเยาวชน จังหวัดอุดรธานี ผู้วิจัยทำ การศึกษาประชากรที่เป็นเยาวชนที่มีอายุระหว่าง 17-18 ปี ทำ การเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (simple random sampling) จำ นวน 120 คน เพื่อเข้าร่วมการอบรมให้ความรู้ทางกฎหมายเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันและรู้เท่าทันการใช้สื่อสังคมออนไลน์ เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยคือ 1. ชุดความรู้ทางกฎหมายเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันและรู้เท่าทันการใช้สื่อสังคมออนไลน์ 2. แบบทดสอบก่อน การอบรมและหลังการอบรม มีค่าความยากง่ายอยู่ในช่วง 0.20 - 0.55 มีค่าอำ นาจจำแนกอยู่ในช่วง 0.25 - 0.50 และมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.7 สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Paired Sample t-test และ Willcoxon Signed Ranks Test ผลการวิจัยพบว่า1. ชุดความรู้ทางกฎหมายเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันและรู้เท่าทันการใช้สื่อสังคมออนไลน์ มีความชัดเจนของเนื้อหาอยู่ในระดับมาก 71.90 มีความเหมาะสมที่จะนำ ไปใช้ อยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 68.30 และมีความเป็นไปได้ที่เยาวชนจะนำ ไปใช้ในทางปฏิบัติ อยู่ในระดับมาก คิดเป็น ร้อยละ 51 2. ในการทำ แบบทดสอบก่อนและหลังการอบรม ของกลุ่มเยาวชนตัวอย่างทั้ง 3 โรงเรียนแสดง ให้เห็นว่าหลังอบรมให้ความรู้ทางกฎหมายเกี่ยวกับการถูกกลั่นแกล้งและการถูกหลอกลวงบนสื่อสังคม ออนไลน์ โดยใช้คู่มือที่จัดทำ ขึ้นประกอบการอบรม เยาวชนมีความรู้ทางกฎหมายเกี่ยวกับการถูกกลั่นแกล้งและการถูกหลอกลวงบนสื่อสังคมออนไลน์เพิ่มขึ้นทั้ง 3 โรงเรียน โดยโรงเรียนหนองหานวิทยา มีคะแนนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 33.8 โรงเรียนอุดรพิชัยรักษ์พิทยา มีคะแนนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 32.5 และ โรงเรียน เพ็ญพิทยาคม มีคะแนนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 20

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมสุขภาพจิต. (2563). บูลลี่ ไม่ใช่เรื่องเด็กๆ ความรุนแรงที่รอวันปะทุ!!!. https://dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30150

กรุงเทพธุรกิจ. (2565). พฤติกรรม “บูลลี่” ของเด็กไทย ติดอันดับ 2 ของโลก. https://www.bangkokbiznews.com/social/999156

คณพล จันทน์หอม. (2558). คำอธิบายกฎหมายอาญาภาคความผิด เล่ม 1. วิญญูชน.

ชาญวิทย์ พรนภดล. (2560). ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ ในระดับชั้น ม.1-3. ttp://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9600000061934

ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ. (2556). คำ อธิบายกฎหมายอาญา ภาคความผิดและลหุโทษ (พิมพ์ครั้งที่10).วิญญูชน.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2555). เทคนิคการประเมินโครงการ. เฮ้าส์ อ๊อฟ เคอร์มีสท์.

มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย. (2560). โครงการพัฒนาเครือข่ายเฝ้าระวังสื่อร้าย ขยายสื่อดี และสร้างความฉลาดในการใช้สื่อดิจิทัล ให้กับเด็ก เยาวชน และองค์กรทำ งานด้านเด็ก เยาวชน และครอบครัว (ปี พ.ศ. 2560 - พ.ศ. 2561). https://inetfoundation.or.th/Welcome/project?id=16