กลยุทธ์อภิปัญญาเพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาจีนสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่เรียนภาษาจีนในฐานะภาษาต่างประเทศ

Main Article Content

เฉิน ซูน
สิระ สมนาม
จารุณี ทิพยมณฑล

บทคัดย่อ

                  งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำ รวจผลกระทบของกลยุทธ์อภิปัญญาต่อการพัฒนาทักษะการพูดภาษาจีนของนักเรียนโดยใช้การประเมินตนเองสำ หรับนักเรียนและความคิดเห็นจากครูผู้สอนเพื่อ ปลูกฝังความสามารถทางด้านอภิปัญญาของนักเรียน การวิจัยครั้งนี้ได้ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิและมีนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจำ นวน 36 คน (นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำ นวน 17 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำ นวน 19 คน) ที่เรียนภาษาจีนในฐานะภาษาต่างประเทศของโรงเรียน พระหฤทัย เชียงใหม่ถูกเลือกมาเป็นกลุ่มตัวอย่าง เพื่อสำ รวจการประยุกต์ใช้และผลกระทบของกลยุทธ์อภิปัญญา การเรียนการสอนได้ดำ เนินการในระหว่างกระบวนการการวิจัย ซึ่งรวมถึงการทดสอบก่อนเรียน การดำ เนินกิจกรรมการพูดภาษาจีนโดยใช้กลยุทธ์อภิปัญญา การสร้างความสามารถในการเรียนรู้อภิปัญญาของนักเรียนโดยใช้การประเมินตนเองสำ หรับนักเรียนและความคิดเห็นจากครูผู้สอน และการ ทดสอบหลังเรียน วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาถูกนำ มาใช้วิเคราะห์การประเมินตนเองสำ หรับนักเรียนเพื่อรับรู้ความสามารถในการเรียนรู้อภิปัญญาของนักเรียนและสำ รวจการกระจายของการกระทำ การเรียนรู้อภิปัญญา ผลการวิจัยพบว่านักเรียนสามารถใช้แบบจำลอง MLC (Metacognitive Learning Cycle) เพื่อดำเนินการเรียนรู้อภิปัญญาได้ แต่ให้ความสำ คัญกับกลยุทธ์การติดตามมากขึ้น การทดสอบสมมติฐาน ของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มที่สัมพันธ์กันถูกนำ มาใช้วิเคราะห์ข้อมูลในคะแนนการทดสอบก่อนและหลัง เรียน ผลปรากฏว่าคะแนนค่าเฉลี่ยหลังเรียน (M=13.25) ของกิจกรรมการพูดภาษาจีนสำหรับนักเรียนได้ดีขึ้นเมื่อเทียบกับคะแนนค่าเฉลี่ยก่อนเรียน (M=11.58) และมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=7.77, p<0.01) ซึ่งบ่งชี้ว่ากลยุทธ์อภิปัญญามีผลเชิงบวกต่อการพัฒนาทักษะการพูดภาษาจีน
ของนักเรียน การวิจัยนี้ได้นำ เสนอมุมมองใหม่สำ หรับการเรียนการสอน CFL โดยใช้กลยุทธ์อภิปัญญาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการส่งเสริมทักษะการพูดของนักเรียน ซึ่งมีส่วนช่วยในการพัฒนาการเรียนการสอน CFL ในอุตสาหกรรมการศึกษา อย่างไรก็ตาม หลักฐานยังเผยให้เห็นว่าการกระจายการเรียนรู้ อภิปัญญาของนักเรียนนั้นไม่สมดุล ดังนั้น จึงแนะนำ ว่าครูผู้สอนที่สอน CFL ควรพัฒนากลยุทธ์ อภิปัญญาเพิ่มเติมเพื่อมุ่งความสนใจของนักเรียนไปที่กลยุทธ์การวินิจฉัยตนเอง กลยุทธ์การกำกับตนเองและกลยุทธ์การสะท้อนตนเอง ซึ่งจะช่วยให้พัฒนาการไตร่ตรองของนักเรียนในการเรียนรู้อภิปัญญาดังนั้น จึงจะส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน CFL อย่างต่อเนื่องในการปลูกฝังทักษะการพูดภาษาจีนของนักเรียน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Armbruster, B. B., Echols, C. H., & Brown, A. L. (1983). The role of metacognition in reading to learn: A developmental perspective. Reading education report; no. 40.

Chayakul, C. (2017). Analysis of the main international tourist arrivals to Thailand and their impacts on Thailand’s tourism industry. KASEM BUNDIT JOURNAL, 18(October), 18-30.

Flavell, J. H. (1976). Metacognitive aspects of problem solving. The nature of intelligence, 231-235.

Flavell, J. H. (1979). Metacognition and cognitive monitoring: A new area of cognitive–developmental inquiry. American psychologist, 34(10), 906.

García Magaldi, L. (2010). Metacognitive strategies based instruction to support learner autonomy in language learning.

Goh, C. C., & Zhang, D. (2001). A metacognitive framework for reflective journals. Teachers’ handbook on teaching generic thinking skills, 8-21.

Guo, S., Shin, H., & Shen, Q. (2020). The commodification of Chinese in Thailand’s linguistic market: A Case study of how language education promotes social sustainability. Sustainability, 12(18), 7344.

Koran, S. (2015). The role of teachers in developing learners' speaking skill. 6th International Visible Conference on Educational Studies and Applied Linguistics, April,

Liu, Y. (2020). Effects of metacognitive strategy training on Chinese listening comprehension. Languages, 5(2), 21.

Luo, H., & Limpapath, P. (2016). Attitudes towards Chinese Language Learning: A Case of Thai Senior High School Students at a Private School in Bangkok. BU Academic Review, 15(2), 102-112.

Marantika, J. E. R. (2021). Metacognitive Ability and Autonomous Learning Strategy in Improving Learning Outcomes. Journal of Education and Learning (EduLearn), 15(1), 88-96.

Nakatani, Y. (2005). The effects of awareness‐raising training on oral communication strategy use. The modern language journal, 89(1), 76-91.

Nanyan, S. (2018). Lexical challenges in English speaking skills among Armenian students

Oxford, R. L. (2018). Language learning strategies. The Cambridge guide to learning English as a second language, 81-90.

Pawlak, M. (2021). Investigating language learning strategies: Prospects, pitfalls and challenges. Language Teaching Research, 25(5), 817-835.

Raoofi, S., Chan, S. H., Mukundan, J., & Rashid, S. M. (2014). Metacognition and Second/Foreign Language Learning. English Language Teaching, 7(1), 36-49.

Sae-thung, J., & Boonsuk, Y. (2022). Chinese speaking strategies as a foreign language: Success stories from Thai higher education. Anatolian Journal of Education, 7(2), 157-172.

Shi, L., & Chayanuvat, A. (2021). Using Mimes and Mini Acts to Improve Chinese Speaking Skills of Grade 7 Thai Students. Asia Social Issues, 14(6), 249935 (249924 pages)-249935 (249924 pages).

Sun, Q., & Zhang, L. J. (2021). A sociocultural perspective on English-as-a-foreign-language (EFL) teachers’ cognitions about form-focused instruction. Frontiers in Psychology, 12, 593172.

Tangyuenyong, P., & Choonharuangdej, S. (2009). Research on the teaching and learning of the Chinese language in higher education institutions in Thailand: A summary. In.

Vandergrift, L., & Goh, C. C. (2012). Teaching and learning second language listening: Metacognition in action. Routledge.

Veenman, M. V., Van Hout-Wolters, B. H., & Afflerbach, P. (2006). Metacognition and learning: Conceptual and methodological considerations. Metacognition and learning, 1, 3-14.

Zhang, D., & Goh, C. C. (2006). Strategy knowledge and perceived strategy use: Singaporean students’ awareness of listening and speaking strategies. Language awareness, 15(3), 199-119.