รูปแบบการบริหารต้นทุนและห่วงโซ่อุปทานธุรกิจไก่แจ้สวยงามบ้านวังนาค
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการจัดการห่วงโซ่อุปทานธุรกิจไก่แจ้สวยงามบ้านวังนาค 2)วิเคราะห์เพื่อหารูปแบบการบริหารต้นทุนธุรกิจไก่แจ้สวยงามบ้านวังนาค 3) วิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทาน ธุรกิจไก่แจ้สวยงานบ้านวังนาค เพื่อให้ได้องค์ความรู้ต้นแบบการจัดการห่วงโซ่อุปทาน สำหรับธุรกิจไก่แจ้สวยงามบ้านวังนาค โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม(PAR) กำหนดกลุ่มตัวอย่าง จำ นวน 10 คน ซึ่งสรุปผลการวิจัยได้ดังนี้ การศึกษาการจัดการห่วงโซ่อุปทานธุรกิจไก่แจ้สวยงามบ้านวังนาคพบว่า ตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตลูกไก่แจ้จนถึงขั้นตอนการจัดส่งให้ลูกค้าใช้ระยะเวลานานสามารถใช้แบบจำ ลอง SCOR ปรับปรุงสายสัมพันธ์ของห่วงโซ่อุปทานธุรกิจไก่แจ้สวยงามบ้านวังนาคโดยการวิเคราะห์เพื่อหารูปแบบการบริหารต้นทุนธุรกิจไก่แจ้สวยงามบ้านวังนาค โดยลดระยะเวลาในกระบวนการผลิตถึงลูกค้า ชั้นสุดท้ายส่งผลให้กลุ่มผู้ประกอบการสามารถสร้างรายได้ให้กับตนเองเพิ่มมากขึ้น ช่วยสร้างเครือข่ายกลุ่มธุรกิจไก่แจ้ในการผลิต เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของลูกค้าและสามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้
Article Details
References
กรมปศุสัตว์. (2561). ข้อมูลเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์และไก่ รายจังหวัด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561. https://ict.dld.go.th/webnew/images/stories/stat_web/yearly/2561/land/T6-1.pdf.
โกศล ดีศีลธรรม. (2547). เพิ่มศักยภาพการแข่งขันด้วยแนวคิดลีน. ซีเอ็ดยูเคชั่น.
จิรประภา ประจวบสุข, สุชาดา ศิริสม และ นภาภรณ์ พลนิกรกิจ, (2557). ศึกษาผลกระทบของการบริหาร ต้นทุนเชิงกลยุทธ์ที่มีต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของธุรกิจผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติกในประเทศไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 33(1), 26-35.
ศิริทรัพย์ จบเจนภัย,ธนัญญา วสุศรี,วาริช ศรีละออง (2557). การวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตในโซ่อุปทานกล้วยไข่ กรณีศึกษาจังหวัดจันทบุรีและจังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิชาการเกษตร, 32(1), 16-34.
สุทธิวรรณ สังวร และจิรรัตน์ ธีระวราพฤกษ์. (2555). ต้นทุนโซ่อุปทานของปลาส้มฟัก กรณีศึกษา OTOP อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร, 9(1), 84-97.
สุนันทา สังขทัศน์.(2564) กลยุทธ์การบริหารต้นทุนของธุรกิจผลิตสินค้าในสถานการณ์โควิด-19. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 7(1), 1-13.
Araisin, M., Herrera, R., & Chavez, Y. (2013). Quality management system case study, in a Mexican company's services. Journal of Basic and Applied Scientific Research, 3(1), 67-77.
Cronbach, L. J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika, 16(3), 297-334.
Krejcie, R. V. &. Morgan, E. W. (1970). Educational and phychorogical measurement. Atlantic Equity Center.