ปัจจัยที่ส่งผลต่อการซื้อเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของกัญชาและกัญชงของผู้บริโภคในจังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของกัญชาและกัญชงของผู้บริโภค ในจังหวัดเชียงใหม่ และปัจจัยด้านการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของกัญชาและกัญชงของผู้บริโภค โดยเก็บข้อมูลตัวอย่างจากผู้บริโภคในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และแบบจำลอง โลจิต ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของกัญชาและกัญชง ได้แก่ เพศ อายุ อาชีพ และรายได้ ส่วนปัจจัยด้านการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อ มีดังนี้ บรรจุภัณฑ์ที่สะอาด สะดวกในการซื้อ ราคาเหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ สถานที่จัดจำ หน่ายอยู่ใกล้บ้านหรือที่ทำ งาน รูปแบบของเครื่องดื่มที่ทันสมัยอยู่เสมอ ความสุภาพอ่อนโยนของพนักงาน ภายในร้านมีความสะอาด และการให้บริการอย่างเสมอภาค ซึ่งผู้ประกอบการสามารถนำ ข้อมูลไปใช้ในการวางแผนการจำ หน่ายเพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น
Article Details
References
กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์. (2562). กัญชาและกัญชงเชิงพาณิชย์ของเนเธอร์แลนด์. https://www.ditp.go.th/contents_attach/559598/559598.pdf
กระทรวงสาธารณสุข. (2563). กัญชาทางการแพทย์. https://www.medcannabis.go.th
ชนม์ชุดา วัฒนะธนาก และ บุฎกา ปัณฑุรอัมพร. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของกัญชา-กัญชงของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานคร [การค้นคว้าอิสระ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำ แหง]. มหาวิทยาลัยรามคำ แหง.
ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี.
ไพฑูรย์ ไกรพรศักดิ์. (2559). เศรษฐมิติ (พิมพ์ครั้งที่ 1). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วชิรวัชร งามละม่อม. (2558). การบริหารภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management: NPM).สถาบัน TDRM.
สร้างอาชีพ. (2564). 7 แบรนด์แฟรนไชส์เครื่องดื่มกัญชามาแรงแห่งปี 2564. http://www.sangarcheep.com/magazines/?p=16599#link2.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2544). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม (พิมพ์ครั้งที่ 4). โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิริพงษ์ ไข่มุก. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการซื้อเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของกัญชา-กัญชงในร้านคาเฟ่สำหรับผู้บริโภคในประเทศไทย. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2552). การบริหารการตลาดยุคใหม่. ธรรมสาร.
ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์. (2552). วิชาหลักการตลาด. ท็อป.
ศูนย์วิจัยธนาคารกรุงศรีอยุธยา. (2564). กัญชง: พืชเศรษฐกิจใหม่ โอกาสและความท้าทาย. https://www. krungsri.com/th/research/research-intelligence/hemp-2021
โสภิตา รัตนสมโชค. (2558). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) ที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการรถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ (บีทีเอส) ของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์