แห่นางดาน: บทวิเคราะห์การอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยในกระแสโลกาภิวัตน์

Main Article Content

วันพระ สืบสกุลจินดา

บทคัดย่อ

                บทความนี้มุ่งวิเคราะห์การอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยในกระแสโลกาภิวัตน์ โดยใช้ประเพณีแห่นางดาน จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นกรณีศึกษาในประเด็น 1) แนวคิด ภาคปฏิบัติ การสืบทอด 2) ตำแหน่งแห่งที่ของนางดาน พราหมณ์ และเทพเจ้า 3) วัฏจักรของวัฒนธรรม และ 4) การเปลี่ยนแปลงอัตลักษณ์ที่เกิดจากผลกระทบของโลกาภิวัตน์ ผลการศึกษาพบว่า 1) แห่นางดานเกิดจากมโนทัศน์ว่าด้วยการสร้างโลกของศาสนาฮินดูตามคัมภีร์เฉลิมไตรภพผนวกกับคติความเชื่อท้องถิ่น สืบทอดผ่านการเป็นพระราชพิธีสำ หรับเมือง 2) แห่นางดานเคยสิ้นสุดลงเพราะการเข้ามาแทนที่ของชุดความรู้สมัยใหม่ ถูกทำ ให้ฟื้นคืนมาใหม่ในรูปของมรดกทางวัฒนธรรมภายใต้เงื่อนไขของการเป็นทรัพยากรการท่องเที่ยวซึ่งต้องยอมถูกกลืนกลายจากพิธีกรรมเป็นการแสดงประกอบแสง สี เสียง และการผสมตัวเองเข้ากับประเพณีสงกรานต์ 3) ลำ ดับการปรากฏตัวของนางดานฉายภาพขั้นตอนการกำเนิดโลก พราหมณ์เป็นตัวแสดงแทน ผู้กำ กับ และผู้เชื่อมต่อ และเทพเจ้ามีบทบาทเฉพาะ 4) กระแสโลกาภิวัตน์ทำ ให้มีการเปลี่ยนแปลงสาระสำ คัญ 5 ด้าน ได้แก่ ด้านความเป็นเจ้าของวัฒนธรรม ด้านบทบาทหน้าที่ ด้านการแต่งกายด้านพิธีการ และด้านพิธีกรรม จากกรณีศึกษาทำ ให้ทราบว่า การอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยในกระแสโลกาภิวัตน์ย่อมทำ ให้วัฒนธรรมเกิดการเคลื่อนเปลี่ยนเพื่อให้สามารถดำรงตัวอยู่ต่อไปได้

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมศิลปากร. (2505). นางนพมาศ หรือ ตำ รับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ (พิมพ์ครั้งที่ 13). โรงพิมพ์ภักดีประดิษฐ์.

กรมศิลปากร. (2559). ปกิณกศิลปวัฒนธรรม เล่ม 22 จังหวัดนครศรีธรรมราช. รุ่งศิลป์การพิมพ์ (1977)จำกัด.

ณวิญ เสริฐผล. (2563). การดำ รงอยู่ของภูมิปัญญาท้องถิ่นในสังคมโลกาภิวัฒน์. วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ , 5(2), 313-331.

ณัฐกานต์ ลิ่มสถาพร. (2546). Culture for sale: จุดเปลี่ยนทางกลับวัฒนธรรมโลกาภิวัตน์. ทิปปิ้ง พอยท์.

ประพิศ พงศ์มาศ. (2555). ภาพเก่า-เล่าอดีต: พระราชพิธีตรียัมปวาย-ตรีปวาย (พิธีโล้ชิงช้า). นิตยสารศิลปากร, 55(3), 102-109.

พรรณวดี พลสิทธิ์. (2561). แห่นางดาน: ว่าด้วยการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเมืองนครศรีธรรมราช.วารสารรูสะมิแล, 39(3), 65-76.

ศิราพร ณ ถลาง. (2556). คติชนสร้างสรรค์: บทปริทัศน์บริบททางสังคมและแนวคิดที่เกี่ยวข้อง. วารสารอักษรศาสตร์, 42(2), 1-74.