การสร้างสรรค์บทเพลงสำหรับพัฒนาทักษะการบรรเลงกีตาร์โดยใช้แนวคิดจากทำนองเพลงพื้นบ้านล้านนา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์บทเพลงสำ หรับพัฒนาทักษะการบรรเลงกีตาร์โดยใช้แนวคิดจากทำ นองเพลงพื้นบ้านล้านนา มีการใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพในการเก็บข้อมูลเสียงทำนองรวมทั้งสิ้น 7 ทำนอง ได้แก่ ตั้งเชียงใหม่ จะปุ-ละม้าย เสเลเมา ซอพม่า ล่องน่าน ลับแลง และปั่นฝ้าย
โดยคัดเลือกเสียงทำ นองจากสมาคมศิลปินขับซอล้านนา เพื่อนำ มาเป็นต้นแบบเสียงในการสร้างสรรค์ผลงานผลการศึกษา เสียงทำ นองที่วิเคราะห์เบื้องต้นนำ มาสร้างสรรค์ทำ นอง และคอร์ดใหม่เพื่อให้มีลีลาทำ นองหลักและการดำ เนินคอร์ดที่มีความซับซ้อนมากขึ้นเพื่อนำ ไปต่อยอดการสร้างสรรค์สำหรับพัฒนาทักษะการบรรเลงกีตาร์ จำนวน 7 เพลง เมื่อได้ทำนองหลักของแต่ละเพลงแล้ว จึงตกแต่งแนวทำนองใน แต่ละรอบการบรรเลง โดยมีจุดมุ่งหมายในการบรรเลง เช่น รอบที่ 1 นำเสนอทำนองหลักของทำ นองเพลงซอล้านนา รอบที่ 2 ตกแต่งทำนองด้วยเทคนิคการเปลี่ยนจังหวะ การเริ่มจบประโยค การตกแต่งทำนองด้วยเทคนิคกีตาร์ การใช้โน้ตโครมาติก และรอบที่ 3 พัฒนาทำนองด้วยการใช้เทคนิคอาร์เปจโจ การสร้างสรรค์บทเพลงครั้งนี้จะช่วยให้นักกีตาร์เกิดความเข้าใจเรื่องการตกแต่งและแปลทำ นองที่มีความหลากหลาย ซึ่งสามารถนำไปต่อยอดการบรรเลงเชิงปฏิภาณ และยังเป็นส่วนช่วยอนุรักษ์บทเพลงพื้นบ้านล้านนาให้เป็นที่รู้จัก ทั้งยังขยายกลุ่มผู้สนใจในบทเพลงพื้นบ้านล้านนามากยิ่งขึ้น
Article Details
References
ณัฐศรัณย์ ทฤษฎิคุณ พงษ์พิทยา สัพโส และนิพัต กาญจนะหุต. (2562). การสร้างรูปแบบการฝึกซ้อมวงดุริยางค์เครื่องลมระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย. วารสารดนตรีรังสิต มหาวิทยาลัยรังสิต,14(2), 31-45.
ธภัฎ สังข์วิจิตร. (2562). การสร้างสรรค์บทเพลงซอพม่า สำ หรับวงดนตรีเครื่องสายสากล. วารสารดนตรีรังสิตมหาวิทยาลัยรังสิต, 14(2), 59-74.
ปัญญทัศน์ วีระพล และอนรรฆ จรัณยานนท์. (2563). กระบวนการเรียนรู้ด้วยการนำ ตนเองของนักกีตาร์ชาวไทยกรณีศึกษาธรรมรัตน์ ดวงศิริ. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 12(1), 180-206.
พิภัช สอนใย. (2563). การสร้างสรรค์บทเพลงเพื่อพัฒนาทักษะการดีดจะเข้จากเพลงพื้นบ้านอีสาน.วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ, 27(1), 1-21.
วรินธร สีเสียดงาม. (2562). แนวทางการจัดการเรียนการสอนการปฏิบัติแซกโซโฟนในระดับอุดมศึกษาเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารศิลปกรรมบูรพา, 22(2), 71-89.
วีรชาติ เปรมานนท์. (2553). บทเพลงเพื่อการพัฒนาศักยภาพสำ หรับนักเปียโนไทย. วารสารดนตรีรังสิต มหาวิทยาลัยรังสิต, 5(2), 5-19.
วู ชูนิ, พีรพงศ์ เสนไชย และวัชรานนท์ สังข์หมื่นนา. (2564). การประยุกต์ใช้เพลงพื้นบ้านตู้เจียในการสอน ดนตรีของวิทยาลัยการศึกษาก่อนวัยเรียนถงเหริน. วารสารมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 41(2), 86-94.
สมชาย รัศมี. (2559). การเรียบเรียงเพลงสมัยนิยม. สหธรรมิก จำกัด.
สรีวันท์ วาทะวัฒนะ และปัญญา รุ่งเรือง. (2562). การศึกษาเพลงพื้นบ้านสะล้อล้านนาสู่การสร้างสรรค์ บทเพลง violin ensemble. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 8(1), 120-131.