การพัฒนาโมไบล์แอปพลิเคชันสำหรับคัดกรองเด็กอนุบาลที่เสี่ยงเป็นออทิสติก

Main Article Content

พัชนี บุญรัศมี
ศิริพล แสนบุญส่ง

บทคัดย่อ

                  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการเกี่ยวกับการคัดกรองเด็กอนุบาลที่เสี่ยงเป็นออทิสติก และพัฒนาและศึกษาผลการใช้โมไบล์แอปพลิเคชันสำหรับคัดกรองเด็กอนุบาลที่เสี่ยงเป็นออทิสติก การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการเกี่ยวกับการคัดกรองเด็กอนุบาลที่เสี่ยงเป็นออทิสติกจากครูผู้สอนระดับชั้นอนุบาลจำ นวน 50 คน โดยได้เลือกแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำ หนด ระยะที่ 2 การพัฒนาโมไบล์แอปพลิเคชันโดยใช้แนวคิดของ ADDIE Model ประเมินประสิทธิภาพโดยผู้เชี่ยวชาญจำ นวน 10 คน โดยได้เลือกแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำ หนด และระยะที่ 3 การศึกษาผลการใช้โมไบล์แอปพลิเคชัน จากครูผู้สอนระดับชั้นอนุบาล จำ นวน 34 คน โดยได้เลือกแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำ หนด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามแบบมีโครงสร้าง 2) โมไบล์แอปพลิเคชันที่พัฒนาขึ้น 3) แบบประเมินประสิทธิภาพของแอปพลิแคชัน และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ร้อยละค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการเกี่ยวกับการคัดกรองเด็กอนุบาลที่เสี่ยงเป็นออทิสติกในภาพรวมโรงเรียนมีการบริหารจัดการเกี่ยวการดูแลเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
อยู่ในระดับปานกลาง และโรงเรียนมีการคัดกรองเด็กอนุบาลที่เสี่ยงเป็นออทิสติกอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน 2) ผลการพัฒนาโมไบล์แอปพลิเคชันมีการพัฒนาอย่างเป็นระบบ 5 ขั้นตอน ประกอบด้วยการวิเคราะห์ การออกแบบการพัฒนา การนำไปใช้ และการประเมินผล ซึ่งมีปัจจัยด้านนำ เข้าที่ผู้ใช้งานสามารถ
กรอกข้อมูลของเด็กอนุบาลสำ หรับการคัดกรอง ปัจจัยด้านกระบวนการที่เป็นการทำงานของระบบ และปัจจัยด้านผลลัพธ์ที่เป็นการแสดงผลการคัดกรองและการช่วยเหลือ ผลการพัฒนาโมไบล์แอปพลิเคชันในภาพรวมพบว่า ด้านประสิทธิภาพการทำ งานอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.74, S.D. = 0.53) และด้านเทคนิคการออกแบบอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.68, S.D. = 0.51) และ 3) ผลการใช้โมไบล์แอปพลิเคชันสำหรับคัดกรองเด็กอนุบาลที่เสี่ยงเป็นออทิสติก พบว่า ครูระดับชั้นอนุบาลที่ใช้งานแอปพลิเคชันมีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.60, S.D. = 0.41)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธนวัฒน์ ปากหวาน. (2564). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิคฟลอร์ไทม์ร่วมกับเล่นปนเรียนแบบพื้นบ้านและกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ที่ส่งผลต่อการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นการสื่อสาร และมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ สำ หรับเด็กออทิสติกระดับช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำ จังหวัดมุกดาหาร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 18(1), 203 - 220.

มนต์ชัย เทียนทอง. (2554). การออกแบบและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์. พี ที เอ เบสท์ซัพพลาย.

ศิริพร น้อยอําคา. (2562). การพัฒนาแอพลิเคชันบทเรียนบนสมาร์ตโฟนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์โดยยึดหลัก 5W 1H. วารสารวิชาการ ศิลปะ สถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร,10(1), 80 - 91.

ศิริพล แสนบุญส่ง และกิ่งสร เกาะประเสริฐ. (2564). การพัฒนาเกมบนโมไบล์แอปพลิเคชันสำหรับการพัฒนาทักษะทางด้านภาษาและการสื่อสารในเด็กออทิสติก. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 13(26), 133 - 146.

ศิริพล แสนบุญส่ง. (2565). การพัฒนาเกมโมไบล์แอปพลิเคชันเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงคำนวณสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 21(1), 56 - 66.

สมนึก ภัททิยธนี. (2562). การวัดผลการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 12). ประสานการพิมพ์.

สมัย ศิริทองถาวร และดวงกมล ตั้งวิริยะไพบูลย์. (2564). ภาวะออทิสซึมในเด็กปฐมวัยที่สงสัยพัฒนาการไม่สมวัยหรือออทิสซึม: การศึกษานำ ร่องในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 29(3), 249 - 258.

สำ นักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560 - 2564. https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422

สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. (2565). รายงานข้อมูลนักเรียนของศูนย์การศึกษาพิเศษ. http://www.

specialset.bopp.go.th/set_index/index.php?page=student - center.php

สิริลักษณ์ โปร่งสันเทียะ, สุวรรณา บุเหลา และเปรมวิทย์ ท่อแก้ว. (2564). กระบวนการคัดกรองเพื่อจัดการศึกษาสำ หรับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ. วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต, 11(2), 103 - 112.

สุทธานันท์ กัลกะ. (2561). การช่วยเหลือเด็กออทิสติก: กรณีศึกษา. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 24(3),227 - 238.

อมรทิพย์ สันตวิริยะพันธุ์, วรรัตน์ ปทุมเจริญวัฒนา และวีรฉัตร์ สุปัญโญ. (2562). แนวทางการส่งเสริมการเตรียมบุคคลออทิสติกเข้าสู่อาชีพโดยความร่วมมือระหว่างครอบครัว องค์กร และชุมชน.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 17(2), 253 - 266.

Artman, N. (2020). Applying the cognitive theory of multimedia learning: Using the ADDIE model to enhance instructional video. Explorations in Media Ecology, 19(3), 371 - 380. https://doi.org/10.1386/eme_00054_1Au, A. H. C., Shum, K. K. M., Cheng, Y., Tse, H. M. Y., Wong, R. M. F., Li, J., & Au, T. K. F.

(2021). Autism spectrum disorder screening in preschools. Autism, 25(2), 516 - 528.https://doi.org/10.1177/1362361320967529

Barbaro, J., & Yaari, M. (2020). Study protocol for an evaluation of ASDetect - a Mobile application for the early detection of autism. BMC pediatrics, 20(1), 1 - 11. https://doi.org/10.1186/s12887 - 019 - 1888 - 6

Chen, H. (2010). Comparative study of C, C++, C# and java programming languages. Vaasan Ammattikorke Akoulu, University of Applied Sciences, Information Technology.

Dabner, D., Stewart, S., & Vickress, A. (2017). Graphic design school: The principles and practice of graphic design. John Wiley & Sons.

Garg, S., & Baliyan, N. (2021). Comparative analysis of Android and iOS from security viewpoint. Computer Science Review, 40(2021), 100372. https://doi.org/10.1016/j.cosrev.2021.100372

Miundy, K., Zaman, H. B., Nordin, A., & Ng, K. H. (2019). Screening test on dyscalculia learners to develop a suitable augmented reality (AR) assistive learning application. Malaysian Journal of Computer Science, (Special Issue 2019), 92 - 107. https://doi.org/10.22452/

mjcs.sp2019no1.7

Shahamiri, S. R., & Thabtah, F. (2020). Autism AI: a new autism screening system based on artificial intelligence. Cognitive Computation, 12(4), 766 - 777. https://doi.org/10.1007/s12559 - 020 - 09743 - 3

Shanmugam, L., Yassin, S. F., & Khalid, F. (2019). Enhancing students’ motivation to learn computational thinking through mobile application development module (M - CT). International Journal of Engineering and Advanced Technology, 8(5), 1293 - 1303.

Supriyono, S. (2020). Software testing with the approach of blackbox testing on the academic information system. International Journal of Information System and Technology, 3(2), 227 - 233. https://doi.org/10.30645/ijistech.v3i2.54

Thabtah, F. (2019). An accessible and efficient autism screening method for behavioural data and predictive analyses. Health informatics journal, 25(4), 1739 - 1755. https://doi.org/10.1177/1460458218796636