การพัฒนาศักยภาพและการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ของผลิตภัณฑ์ SMEs โดยใช้เทคนิคการจัดการโลจิสติกส์ในจังหวัดสกลนคร

Main Article Content

ทรงยุทธ ต้นวัน
รัชตาพร บุญกอง

บทคัดย่อ

                  การพัฒนาศักยภาพและการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผลิตภัณฑ์ SMEs โดยใช้เทคนิคการจัดการโลจิสติกส์ในจังหวัดสกลนคร ส่งผลต่อความสำ เร็จของผู้ประกอบการธุรกิจ SMEsในจังหวัดสกลนคร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1.รูปแบบและวิธีการในการดําเนินธุรกิจของผู้ประกอบการตั้งแต่การจัดซื้อวัตถุดิบ การจัดเก็บวัตถุดิบ การจำ หน่ายวัตถุดิบ ของผลิตภัณฑ์ SMEs ในจังหวัดสกลนคร 2. ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อรูปแบบและวิธีการในการดําเนินธุรกิจของผู้ประกอบการของผลิตภัณฑ์ SMEs ในจังหวัดสกลนคร 3.ศึกษาแนวทางในการพัฒนาการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลการจัดการโลจิสติกส์ให้กับผู้ประกอบการของผลิตภัณฑ์ SMEs ในจังหวัดสกลนคร การเก็บรวบรวมข้อมูล โดยสุ่มมแจกแบบสอบถามแก่ผู้ประกอบการ SMEs ในจังหวัดสกลนคร ที่จดทะเบียนกับสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสกลนคร ปี พ.ศ.2561 จำนวน 1,091 กลุ่ม โดยทำการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 400 คน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS เวอร์ชั่น 15 และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน         ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบและวิธีการใน
การดําเนินธุรกิจของผู้ประกอบการของผลิตภัณฑ์ SMEs ในจังหวัดสกลนคร มีผลต่อความสำเร็จของผู้ประกอบการอย่างมาก ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจ คือ ยังขาดความรู้เกี่ยวกับเทคนิคและการจัดการโลจิสติกส์ตั้งแต่การผลิตไปจึงถึงการจำหน่ายสินค้า โดยเฉพาะปัจจุบันที่ทั่วโลกต่างประสบกับปัญหาวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ส่งผลให้ผู้ประกอบการไม่สามารถนำ สินค้าไปจำ หน่ายในงานแสดงสินค้า หรือแหล่งท่องเที่ยวได้ จึงควรมีการเพิ่มช่องทางรูปแบบการจัดจำหน่าย เช่น การขายสินค้าออนไลน์ และออฟไลน์ หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนควรเข้ามามีบทบาทในการจัดการผลิตภัณฑ์ SMEs รวมถึงการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคนิคและการจัดการโลจิสติกส์เพื่อให้ผู้ประกอบการ SMEs สามารถนำ ความรู้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์และประสิทธิภาพได้อย่างยั่งยืน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. (2558). การประเมินประสิทธิภาพและขีดความสามารถของ SMEs ไทยในภาคการผลิต. คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ บริษัท The BrookeGroup จำ กัด.

ทวีศักดิ์ เทพพิทักษ์. (2561). แนวทางการพัฒนาศักยภาพและการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผลิตภัณฑ์ SMEs โดยใช้เทคนิคการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเซน. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์, มหาลัยบูรพา.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่7). สุวีริยาสาส์น.

ปฐมพร ทรงสุโรจน์. (2559). การศึกษาพฤติกรรมการกู้เงินของผู้ประกอบการ SMEs. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

รัชตาพร บุญกอง. (2565). การจัดการโลจิสติกส์และการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน สำหรับผลิตภัณฑ์ OTOP ในจังหวัดสกลนคร. วารสาร มจร การพัฒนาสังคม, 7(1), 292-306.

สุพิตา ไพบูลย์วงศ์สกุล และ นรินทร์ สังข์รักษา. (2560). การพัฒนายุทธศาสตร์การเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันสำ หรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของประเทศไทยเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย มหาวิทยาลัยศิลปากร,9(2), 134-148.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564). สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ.

สำ นักงานเกษตรจังหวัดสกลนคร. (2562). แผนพัฒนาการเกษตรจังหวัดสกลนคร ปี 2563-2564.สำนักงานเกษตรจังหวัดสกลนคร.

สํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). รายงานโลจิสติกส์ของประเทศไทยประจําปี 2561. กองยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์.

อรทัย พันธ์สวรรค์ และวศิน เพชรพงศ์พันธ์. (2561). ทัศนคติและการปรับตัวของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) หลังการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)กรณีศึกษา อำ เภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร. Journal of Nakhonratchasima College,12(3), 29-39.