การเคลื่อนย้ายและการปรับตัวของแรงงานข้ามชาติ: กรณีศึกษาแรงงาน ข้ามชาติสัญชาติลาวในเขตอำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม

Main Article Content

คณิน เชื้อดวงผุย
ณรงค์ฤทธิ์ สุมาลี
เบญจยามาศ พิลายนต์
วิสิฏฐ์ คิดคำส่วน
สุริยา คำหว่าน
โสรัจจ์ ประวีณวงศ์วุฒิ
สุริยันต์ สุรเกรียงไกร

บทคัดย่อ

                 งานวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการเคลื่อนย้ายเข้ามาทำ งานและการปรับตัวในการอยู่ร่วมกับชุมชนพื้นที่ปลายทางของแรงงานสัญชาติลาวในอำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม รวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่มนำข้อมูลมาวิเคราะห์ ตีความ และสร้างข้อสรุป ผลการศึกษาพบว่า 1. ปัจจัยที่ทำ ให้แรงงานสัญชาติลาวเคลื่อนย้ายเข้ามาทำงานในประเทศไทย คือ 1) ปัจจัยผลัก โดยเฉพาะปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ไม่มีงานทำ ในพื้นที่ต้นทางรายได้น้อยและความฝันที่ต้องการมีชีวิตที่ดีขึ้น และ 2) ปัจจัยดึงดูด คือพื้นที่ปลายทางอยู่ไม่ไกล มีงานทำ มีรายได้ที่ดีกว่า ภาษาและวัฒนธรรมใกล้เคียงกัน มีคนรู้จักทำ งานในพื้นที่ปลายทาง และปรับตัว ได้ง่าย ส่วนการเคลื่อนย้ายเข้ามาทำ งานในพื้นที่ของแรงงานสัญชาติลาว ส่วนใหญ่มาแบบผิดกฎหมายผ่านช่องทางธรรมชาติแม่น้ำ โขง และ 2. การปรับตัวของแรงงานสัญชาติลาว ประกอบด้วย         1) การทำงานนอกเหนือจากงานประจำ คือการช่วยงาอื่นๆ ของนายจ้าง 2) การแต่งงานกับคนไทย ซึ่งพบทั้งแรงงานชายและหญิง 3) การศึกษากฎระเบียบทางสังคมของพื้นที่ปลายทาง 4) การทำ กิจกรรมร่วม
กับชุมชน โดยเฉพาะพิธีกรรมและประเพณีทางศาสนา 5) การรวมกลุ่มของแรงงานสัญชาติลาวเพื่อดูแลซึ่งกันและกัน และ 6) กลไกนายจ้างและเครือข่าย คือการที่นายจ้างแสดงตัวว่าแรงงานเป็นลูกจ้างของตนเพื่อให้คนในชุมชนรับทราบ 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ดรุณี มีแล้ว.(2558). การปรับตัวของแรงงานพม่าที่ได้รับการขึ้นทะเบียนในสถานประกอบการ: กรณีศึกษาฟาร์มเลี้ยงสุกรในจังหวัดราชบุรี. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล.

นิตยา คงคุ้ม และอจิรภาส์ เพียรขุนทด. (2562). การป้องกันและปราบปรามแรงงานต่างด้าวลักลอบเข้าเมืองในจังหวัดขอนแก่น: มุมมองของเจ้าหน้าที่. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(10),5498 - 5915.

นรากร ศรีเที่ยง. (2564). แรงงานข้ามชาติกับการเข้าถึงสวัสดิการด้านสุขภาพในรัฐไทย: กรณีศึกษาแรงงาน ข้ามชาติ จังหวัดสมุทรสาคร. Amnesty international Thailand.

เปรมวดี กิรวาที, จไรพร จิตพิทักษ์ และสุวิชชา พักกระสา. (2559). การปรับตัวของแรงงานหญิงข้ามชาติชาวเมียนมาร์ในอำ เภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้นโยบายความมั่นคงของชาติ. วารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่, 17(2), 27 - 36.

ไพริน มากเจริญ. (2561). สถานการณ์แรงงานข้ามชาติ: แรงงานพม่า ปัญหาการอยู่ร่วมกันในชุมชนในจังหวัดนครปฐม. วารสารเศรษฐศาสตร์การเมืองบูรพา, 6(1). 63 - 94.

วัชรี ศรีคำ . (2556). การปรับตัวของแรงงานข้ามชาติเวียดนามในประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วารสารวัฒนธรรมและภาษา, 32(1), 47 - 47.

โสภิณ จิระเกียรติกุล, ธัญรดี ทวีกาญจน์, วินิสสา อุชชิน, ณัฐพล ต้นตระกูลทรัพย์ และณัฐช์นิชา ตั้งวีรัตน์กร. (2560). การเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามชาติ กับการคุ้มครองทางสังคมอย่างไม่เป็นทางการ: กรณีศึกษาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสงขลาและเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตราด.วารสารสังคมวิทยามานุษยวิทยา, 36(1), 79 - 100.

สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว. (2565). สถิติการทำ งานของคนต่างด้าวประจำ เดือนกันยายน พ.ศ. 2565.

สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว. https://www.doe.go.th/prd/download/download_by_pool_file/93437

สำนักงานแรงงานจังหวัดนครพนม. (2564). สถานการณ์แรงงานจังหวัดนครพนม ไตรมาส 1 ปี 2563(มกราคม - มีนาคม 2563). สำ นักงานแรงงานจังหวัดนครพนม.

สิริรัฐ สุกันธา. (2557). การเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามชาติสัญชาติพม่าในเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย. วารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 18(1), 45 - 63.

อานันท์ กาญจนพันธุ์ และชัยพงษ์ สำ เนียง. (2562). แรงงานข้ามชาติในตลาดแรงงานไร้พรมแดน.วารสารวิชาการมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(2), 1 - 34.

อนุชิต บุญรินทร์ (2563). การลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายในประเทศไทยของชาวเมียนมาร์ หลังจากการเปิดประชาคมอาเซียน. วารสารนวัตกรรมสังคม, 3(1), 93 - 105.

อภิชาติ สุวรรณรัตน์ และเก็ตถวา บุญปราการ. (2556). ลาวพลัดถิ่น: การกลายเป็นแรงงานข้าม แดนในพื้นที่จังหวัดสงขลา. บทความวิจัยเสนอในการประชุมหาดใหญ่วิชาการ ครั้งที่ 4 (หน้า134 - 141). มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

Lazarus,R.S. (1969). Patterns of adjustment human effectiveness. Mcgraw - Hill Book Company.