พระสงฆ์กับการส่งเสริมคุณภาพชีวิตเด็กเยาวชนกลุ่มเปราะบาง: ประสบการณ์การพัฒนาชุมชนวัดใหม่สี่หมื่น อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
กระบวนทัศน์ของการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประเทศยุคการเปลี่ยนแปลงจะต้องมีการบูรณาการในทุกๆ ด้านเพื่อรองรับปัญหาต่างๆ ที่มีความซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาวัดเป็นศูนย์กลางการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิตของประชาชนที่สำ คัญของประเทศไทย บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพระสงฆ์กับการส่งเสริมคุณภาพชีวิตเด็กเยาวชนกลุ่มเปราะบางประสบการณ์การพัฒนาคุณภาพชีวิตของวัดใหม่สี่หมื่น อำ เภอดำ เนินสะดวก จังหวัดราชบุรี เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์และสนทนากลุ่ม โดยใช้แนวคำ ถามแบบมีเค้าโครง กลุ่มตัวอย่างคือพระสงฆ์จำ นวน 1 รูป เด็กและเยาวชนจำนวน 10 คน เป็นการเลือกแบบเจาะจง โดยมีเกณฑ์การคัดเลือกของผู้ให้ข้อมูลคือ (1) เป็นผู้มีความเกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กและเยาวชนอย่างน้อย 3 ปี (2) สามารถให้ข้อมูลระหว่างการสนทนาและหลังการสนทนาเพื่อให้ข้อมูลครบถ้วน และ (3) ยินดีให้ข้อมูลตามวัตถุประสงค์ของการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ตรวจสอบด้วยเทคนิคสามเส้า และนำเสนอเชิงพรรณนา จากการศึกษาพบว่า พระสงฆ์วัดใหม่สี่หมื่น อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี ได้ยึดหลักการอยู่ร่วมกันด้วยความรัก ความเมตตาความเอื้อเฟื้อ เคารพในความแตกต่างของกันและกัน และสร้างการเรียนรู้ร่วมกัน มีเป้าหมายหลัก
ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต คือ กาย จิตใจ สังคม และปัญญา และมีแนวทางการพัฒนา 3 ด้าน คือ 1) ความเท่าเทียม 2) ความหลากหลาย และ 3) การมีส่วนร่วมของชุมชน ในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้กับเด็กและเยาวชนกลุ่มเปราะบางให้อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
Article Details
References
กลุ่มยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนา. (2560). แผนแม่บทภายใต้แผนยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561- 2580.https://www.ratchaburi.go.th/plan - 2551/index.html
ทรงชัย ทองปาน และสิรจิตต์ เดชอมรชัย. (2565). บุตรหลานแรงงานต่างด้าว: สิทธิทาการศึกษาการจัดการศึกษา และห้องเรียนพหุวัฒนธรรม. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
โยตะ ชัยวรมันกุล. (2563). พระพุทธศาสนากับสังคมสงเคราะห์. https://anyflip.com/ahqe/pumn/basic/201-250
สุรพล พยอมแย้ม. (2556). จิตวิทยาในงานชุมชน (พิมพ์ครั้งที่ 2). บริษัท ส เจริญการพิมพ์จำกัด