การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างทักษะในการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ของครูปฐมวัย

Main Article Content

ศิริทัย ธโนปจัย
ภูมิพงศ์ จอมหงส์พิพัฒน์
ปิยาภรณ์ พิชญาภิรัตน์

บทคัดย่อ

                  การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ศึกษาสภาพปัจจุบันและสังเคราะห์ทักษะการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ของครูปฐมวัย 2. พัฒนารูปแบบการเสริมสร้างทักษะการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ของครูปฐมวัย 3. ทดลองและศึกษาผลการใช้รูปแบบการเสริมสร้างทักษะการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ของครูปฐมวัย และ4.ประเมินผลรูปแบบการเสริมสร้างทักษะในการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ของครูปฐมวัย โดยมี 4 ระยะดังนี้ ระยะที่1 (R1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐานด้านสภาพปัจจุบันสังเคราะห์และศึกษาความต้องการทักษะการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ของครูปฐมวัยและองค์ประกอบของรูปแบบการเสริมสร้างทักษะการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ของครูปฐมวัย ประชากรที่ใช้ ได้แก่ ครูปฐมวัยสังกัดสำ นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 ปีการศึกษา2564 จำ นวน 390 คน ระยะที่ 2 (D1) การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างทักษะการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ของครูปฐมวัย กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญได้ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ จำนวน 5 ท่าน และครูปฐมวัยจำ นวน 20 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง ระยะที่3 (R2) การทดลองและศึกษาผลการใช้รูปแบบการเสริมสร้างทักษะการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ของครูปฐมวัย กลุ่มเป้าหมายได้แก่ ครูปฐมวัยจำ นวน 50 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน และระยะที่ 4 (D2) การประเมินผลรูปแบบการเสริมสร้างทักษะการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ของครูปฐมวัย กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่
ผู้ทรงคุณวุฒิที่สังเกตชั้นเรียน จำ นวน 5 ท่าน และครูปฐมวัย จำ นวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ รูปแบบการเสริมสร้างทักษะในการจัดประสบการณ์ แบบประเมินทักษะการจัดประสบการณ์ แบบวัดเจตคติและแบบทดสอบความรู้ สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ การทดสอบที ผลการวิจัย พบว่า 1. ผลการวิเคราะห์สภาพปัจจุบันและความต้องการในการจัดประสบการณ์ของครูปฐมวัย พบว่า สภาพปัจจุบัน โดยรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.27) ผลการสังเคราะห์ทักษะการจัดประสบการณ์ของครูปฐมวัย ประกอบด้วย 5 ทักษะ 2. ผลการพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างทักษะการจัดประสบการณ์ของครูปฐมวัย ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน 3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเสริมสร้างทักษะในการจัดประสบการณ์ของครูปฐมวัย พบว่า มีความรู้ ทักษะและเจตคติ อยู่ในระดับมากที่สุด สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กันตวรรณ มีสมสาร. (2560). การพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของครูปฐมวัยในศตวรรษที่ 21.วารสารวไลยองกรณ์ปริทัศน์, 7(2), 45-56.

กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2551). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำ หรับเด็กปฐมวัย. เบรนเบสบุ๊คส์.

เกษศิรินทร์ ศรีสัมฤทธิ์. (2556). รูปแบบการพัฒนาวิชาชีพเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพครูด้านการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย [วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พีรพงษ์ ดวงแก้ว. (2546). นิทรรศการความหลากหลายทางชีวภาพ. มหาวิทยาลัยศิลปากร.สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2563). กรอบการเรียนรู้และแนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้บูรณาการวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีระดับปฐมวัย.บริษัทโกโก้ปรินท์ จำ กัด.