นิราสไพ่: มองสังคมการพนันในยุคการสร้างชาติ

Main Article Content

ณัฐวุฒิ สำลี
พัชลินจ์ จีนนุ่น

บทคัดย่อ

                 บทความเรื่อง นิราสไพ่: มองสังคมการพนันในยุคการสร้างชาติ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามุมมองของคนในสังคมที่มีต่อการพนัน ในยุคการสร้างชาติ (ร.6) จากวรรณกรรมเรื่อง นิราศไพ่ ของนายเจริญผลการศึกษาพบว่า นิราสไพ่ มีเนื้อหาเกี่ยวกับการโน้มน้าวใจให้คนในสังคมเลิกเล่นการพนัน โดยดำเนิน เรื่องผ่านขนบของนิราศ แสดงให้ถึงโทษและพิษภัยของการพนัน ความขัดแย้งของคนกับรัฐ พฤติกรรมของคนจีนกับการพนัน และการอุดมการณ์การสร้างชาติ นอกจากนี้ยังมีการล้อขนบของนิราศโดยการนำเอาชื่อไพ่มาเป็นแทนนางอันเป็นที่รัก เพื่อให้คนเห็นความสำ คัญของการพัฒนาประเทศชาติ และการสร้างชาติให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ธรรมลีลา. (2545). เรื่องราวของการพนัน: ย้อนรอยประวัติศาสตร์การพนัน. https://www.gamblingstudy- th.org/print.php?txtNo=39

นายเจริญ. (2468). นิราสไพ่. ห้างสมุด.

นิพัทธ์ แย้มเดชและสมบัติ มั่งมีสุขศิริ. (2563) “อิสระแห่งกวี” ในนิราศภูเขาทอง และนิราศเมืองเพชรของสุนทรภู่. วารสารมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 17(3), 1 - 14.

เนื้ออ่อน ขรัวทองเขียว. (2553). รัฐสยามกับล้านนา พ.ศ. 2417 - 2476 [วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พัชลินจ์ จีนนุ่น. (2563). ภาพสะท้อนการเล่นหวยของชาวใต้จากวรรณกรรมภาคใต้ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในทศวรรษ 2490 - 2510. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 7(2),174 - 188.

สุภาพร พลายเล็ก. (2547). การพนันในสังคมไทย: ภาพสะท้อนจากวรรณกรรม. วรรณวิทัศน์, 4, 20-48.

มนัส โอภากุล. (2537). คนจีนมาถึงเมือง. ศิลปวัฒนธรรม, 15(4), 74 - 79.

ส.พลายน้อย. (2531). เล่าเรื่องกีฬา - การพนัน สมัย ‘คุณปู่’. ศิลปวัฒนธรรม.

สุกิจ มะลิผล. (2545). ศึกษานิราศของหลวงจักปาณี (มหาฤกษ์) [วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยทักษิณ]. มหาวิทยาลัยทักษิณ.