การพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวชายทะเลภาคตะวันออกให้เป็นจุดหมาย การท่องเที่ยวแหล่งใหม่ของนักท่องเที่ยวกลุ่มประเทศเอเชียใต้

Main Article Content

ลักษณ์นัยน์ ทรงเสี่ยงไชย

บทคัดย่อ

                  การศึกษาการพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวชายทะเลภาคตะวันออกให้เป็นจุดหมายการท่องเที่ยวแหล่งใหม่ของนักท่องเที่ยวกลุ่มประเทศเอเชียใต้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR)โดยใช้วิธีการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ผลักดันสถานที่ท่องเที่ยวใหม่ภาคตะวันออกสำหรับกลุ่มนักท่องเที่ยวในเอเชียใต้ 2) สร้างการมีส่วนร่วมระหว่างชุมชน ท้องถิ่น และจังหวัดสู่การสร้างการรับรู้ระดับนานาชาติ และ 3) ส่งเสริมการจัดการสถานที่ท่องเที่ยวให้รองรับกับความต้องการของกลุ่มนักท่องเที่ยวในเอเชียใต้ พื้นที่ศึกษาครอบคลุม 4 จังหวัดชายทะเลภาคตะวันออก ได้แก่ ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ผลการวิจัยถูกนำ เสนอแบบภาพรวม แยกให้เห็นศักยภาพของพื้นที่ในปัจจุบันและแนวทางการพัฒนาในอนาคต ทั้งนี้ผลของการศึกษายังถูกนำ มาใช้เป็นกรอบในการสร้างองค์ความรู้ที่จำเป็นสำหรับชุมชนท่องเที่ยวและผู้ประกอบการที่สนใจ ผ่านการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการซึ่งมีผู้เข้าร่วมรวม 425 คน
                   ผลการศึกษาพบว่าการให้บริการยังขาดประสบการณ์และความเข้าใจในพฤติกรรมนักท่องเที่ยวเอเชียใต้ โดยเฉพาะความต้องการด้านที่พักและการบริโภคอาหารตามข้อจำกัดทางศาสนา ควรมีการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวให้สะดวกสบาย ลดระยะเวลาการเดินทาง และเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวหลักสู่การท่องเที่ยวชุมชน เพิ่มกลยุทธ์ในการประชาสัมพันธ์ผ่านโซเชียลมีเดียและ soft power เพื่อเจาะตลาดกลุ่มเป้าหมายได้ตรงตามข้อจำ กัดของพื้นที่ ท้ายที่สุดการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและการท่องเที่ยวชุมชน จะช่วยลดความซ้ำ ซากของสถานที่ท่องเที่ยว รวมถึงสร้างภาพลักษณ์ของการท่องเที่ยวทางทะเลไทยในมุมมองใหม่ได้ 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). สรุปรายได้และค่าใช้จ่ายการท่องเที่ยวจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทย ปี 2562. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2565). สถิตินักท่องเที่ยวในประเทศไทย ปี 2560-2564 จำแนกตามภูมิภาคและจังหวัด. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

เชิญขวัญ แซ่โซว. (2563). ปัจจัยทางการตลาดบริการของนักท่องเที่ยวอินเดีย ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกที่พักแรมในประเทศไทย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 9(2), 714-728.

บีบีซี นิวส์ ไทย. (2565). หนึ่งสัปดาห์หลังน้ำ มันรั่วระยอง ใครทำอะไรไปบ้าง. https://www.bbc.com/thai/thailand-60217191

สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองมุมไบ. (2555). ชาวอินเดียนิยมเดินทางมาท่องเที่ยวประเทศไทย. https://mumbai.thaiembassy.org/th/content/17912-ชาวอินเดียนิยมเดินทางมาท่องเที่ยวประเทศไทย?

อุษณีย์ วัชรไพศาลกุล. (2565). แนวทางการส่งเสริมการตลาดการท่องเที่ยวไทยสำ หรับกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวอินเดีย หลังวิกฤตการณ์ Covid-19. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม, 12(2), 29-41.

อนุพงษ์ หมื่นชัยยะ และ วงษ์จันทร์ ไพโรจน์. (2562). แนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริการเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวชาวอินเดีย: กรณีศึกษาโรงแรมในจังหวัดภูเก็ต. วารสารศิลปศาสตร์ มทร.กรุงเทพ, 1(1), 47-56.

Anantamongkolkul, C. (2021). Understanding the travel behaviors of Indian tourists in Thailand: A mixed methods research approach. The Journal of Behavioral Science, 16(2), 99-113.

Chincholkar, S. (2019). How do Indian consumers behave when planning a leisure trip?.Worldwide Hospitality and Tourism Themes, 11(2), 173-184. https://doi.org/10.1108/WHATT-12-2018-0083

The World Bank. (2022). GDP growth (annual %)—South Asia | Data. https://data.worldbank.

org/indicator/NY.GDP.MKTP.KD.ZG?end=2021&locations=8S&start=2010