ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมก้าวร้าวของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

ณัชชา ศรีมหาพรหม
สมศักดิ์ จีวัฒนา
กระพัน ศรีงาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการอบรมเลี้ยงดู  อิทธิพลของกลุ่มเพื่อน  การเลียนแบบสื่อ  เจตคติต่อพฤติกรรมก้าวร้าว  และความฉลาดทางอารมณ์ต่อพฤติกรรมก้าวร้าว  เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมก้าวร้าว  เพื่อวิเคราะห์เส้นทางปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมก้าวร้าวของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์  กลุ่มตัวอย่างคือ  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน  680  คน  ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบวัดชนิดมาตราส่วนประมาณค่า แบ่งเป็น 6 ตอน จำนวน 64 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์เส้นทางปัจจัย ผลการวิจัยพบว่า
1. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมก้าวร้าวของนักเรียน คือ รูปแบบการอบรมเลี้ยงดู อิทธิพลของกลุ่มเพื่อน การเลียนแบบสื่อ และเจตคติต่อพฤติกรรมก้าวร้าว และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมก้าวร้าว คือ ตัวแปรความฉลาดทางอารมณ์
2. โมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจากค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดทุกค่า คือ gif.latex?\chi&space;^{2}=141.85  gif.latex?df=123gif.latex?P=0.12gif.latex?CFI=0.99gif.latex?TLI=0.99gif.latex?RMSEA=0.02  gif.latex?SRMR=0.03 และ df=1.15
3. ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงต่อพฤติกรรมก้าวร้าวของนักเรียน คือ อิทธิพลของกลุ่มเพื่อน และความฉลาดทางอารมณ์ ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมต่อพฤติกรรมก้าวร้าวของนักเรียน คือ รูปแบบการอบรมเลี้ยงดู การเลียนแบบสื่อ และตัวแปรเจตคติต่อพฤติกรรมก้าวร้าว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2563). คู่มือความฉลาดทางอารมณ์. ศูนย์สารนิเทศและประชาสัมพันธ์กรมสุขภาพจิต.

กระทรวงสาธารณสุข. (2556). แนวทางการช่วยเหลือวัยรุ่นที่มีพฤติกรรมรุนแรง. บริษัท ดีน่าดูมีเดียพลัส จำกัด

กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2551). ทำ ไมเด็กก้าวร้าวรุนแรง. เรือนปัญญา.

จุไรรัตน์กำ แพงพันธ์. (2551). การทำ หน้าที่ของครอบครัว ความฉลาดทางอารมณ์และทัศนคติต่อการกระทำผิดของวัยรุ่นชายในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและ

เยาวชน เขต 2 จังหวัดราชบุรี[วิทยานิพนธ์. วท.ม.,สาขาวิชาจิตวิทยาชุมชน]. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ดวงมณีจงรักษ์. (2556). ทฤษฎีการให้การปรึกษาและจิตบำ บัดเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 6). สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี(ไทย- ญี่ปุ่น).

ทิพย์สุดาเมฆประยูร. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมก้าวร้าวของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่4สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 40. การ

ประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูร.

ประภัสสร ชโลธร. (2550). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการกระทำ รุนแรงของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ [วิทยานิพนธ์. ศศ.ม.,สาขาวิชา

จิตวิทยาชุมชน]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ปาริชาตินิยมพงษ์. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมก้าวร้าวของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4จังหวัดบึงกาฬ [วิทยานิพนธ์ค.ม.,วิจัยและประเมินผลการ

ศึกษา]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

รพีพร เพชรรัตน์. (2550). พฤติกรรมการใช้ความรุนแรงต่อผู้อื่นของวัยรุ่น ในเขตอำ เภอเมือง จังหวัดสงขลา [วิทยานิพนธ์. ศศ.ม., สาขาวิชาจิตวิทยาชุมชน].

มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ลัดดาเหมาะสุวรรณ. (2547). โครงการวิจัยพัฒนาแบบองค์รวมของเด็กไทย เล่ม 1.ลิมบราเดอร์การพิมพ์.ลัดดา เหมาะสุวรรณ.. (2547). โครงการวิจัยพัฒนาการ

แบบองค์รวมของเด็กไทย: ปัจจัยคัดสรรด้านครอบครัวและการอบรมเลี้ยงดู. เล่ม 1. เด็กไทยวันนี้เป็นอยู่อย่างไร. หาดใหญ่: ลิมบราเดอร์การพิมพ์.

ศิริวรรณ ปุ่นคอน. (2547). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมก้าวร้าวของนักเรียนชายระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนสังกัดสำ นักงานเขตพื้นที่การศึกษา

ประจวบคีรีขันธ์ [วิทยานิพนธ์. ศศ.ม.,สาขาวิชาจิตวิทยาชุมชน]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Anastasi, A. (1968). Psychological testing. Macmillan.

Bandura, A. (1977). Social learning theory. Prentice-Hall