นาฏศิลป์ร่วมสมัยในการแสดงแสง สี เสียง อารยธรรมแห่งศรัทธา มนตรา ศรีพฤทเธศวร จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

จักรพงศ์ เจริญกิจพานิช
ปัทมาวดี ชาญสุวรรณ

บทคัดย่อ

               นาฏกรรมร่วมสมัยในการแสดงแสง สี เสียง อารยธรรมแห่งศรัทธา มนตริศรีพฤทเธศวร จังหวัดศรีสะเกษ มีความมุ่งหมาย 1.เพื่อศึกษาพัฒนาการ  และองค์ประกอบการแสดงแสง สี เสียง และสื่อผสมในระบบมัลติมีเดีย อารยธรรมแห่งศรัทธา มนตรา ศรีพฤทเธศวร จังหวัดศรีสะเกษ 2.เพื่อศึกษารูปแบบนาฏศิลป์ร่วมสมัยในการแสดงแสง สี เสียง อารยธรรมแห่งศรัทธา มนตรา ศรีพฤทเธศวร จังหวัดศรีสะเกษ เป็นการศึกษาจากเอกสารและภาคสนาม โดยใช้แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ ผู้รู้จำนวน 6 คน ผู้ปฏิบัติจำนวน 5 คน ผู้ให้ข้อมูลทั่วไปจำนวน 30 คน แล้วนำเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีพรรณนาวิเคราะห์   
             ผลการวิจัยพบว่า นาฏศิลป์ร่วมสมัยในการแสดงแสง สี เสียง อารยธรรมแห่งศรัทธา มนตรา ศรีพฤทเธศวร จังหวัดศรีสะเกษ การแสดงแสงและเสียง เป็นศิลปะการแสดงรูปแบบใหม่ที่เกิดขึ้นโดยการผสมผสานศาสตร์และศิลป์หลากหลายสาขาทั้งนาฏกรรม การละคร เทคนิคระบบแสง สี เสียง เป็นการแสดงที่เน้นความตระการตาขอระบบแสง สี ดนตรี และเสียงที่ใช้เทคนิคพิเศษ ประกอบเพื่อบอกเล่าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ณ บริเวณสถานที่จริง ทั้งนี้ต้องอาศัยความเข้าใจถึงเหตุการณ์และพื้นฐานในความเป็นมาของเรื่องราวที่นำเสนอ โดยใช้เสียงบรรยายเพื่อบอกเล่าเรื่องราว ใช้เสียงเพลง และเสียงประกอบเพื่อสร้างอารมณ์ร่วม หรือทำให้การถ่ายทอดดังกล่าวมีอรรถรสมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมีการใช้แสงสีต่างๆ ตามบรรยากาศเพื่อให้ผู้ชมสร้างจินตภาพ ทำให้เกิดความคิด ความรู้สึก เสมือนอยู่ในเหตุการณ์นั้น เป็นการผสมผสานเรื่องราวจากความเป็นจริงสู่จินตนาการในเรื่องราวแห่งอดีตกาลแหล่งบารณสถาน หรือสถานที่สำคัญทาง ประวัติศาสตร์ ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธนกร สรรย์วราภิภู. (2558). กระบวนการสร้างสรรค์นาฏศิลป์ร่วมสมัย. วารสารมนุษยศาสตร์และ

สังคมศาสตร์, 9(2).

พีรพงศ์ เสนไสย. (2539). นาฏยประดิษฐ์ของพะนอ กำ เนิดกาญจน์ [วิทยานิพนธ์ศศม.]. จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย.

เพียงเพ็ญ ทองกล่ำ . (2553). การปรับปรุงทักษะความคิดสร้างสรรค์. โอ เอ เพ็นติ้ง.

วิลาสินี น้อยครบุรี. (2560). การจัดการแสดง แสง เสียง ชุด พนมรุ้งมหาเทวาลัย [วิทยานิพนธ์สาขานาฏศิลป์ไทย:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].

วิศปัตย์ ชัยช่วย. (2560). การใช้LINE ของผู้สูงอายุ: การศึกษาเชิงปรากฏการณ์วิทยา. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ ฉบับภาษาไทย, 10(1), 905-918.

สุดใจ ทศพร. (2544). ศิลปะกับชีวิต. ไทยวัฒนา.

สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2547). นาฏยศิลป์ปริทรรศน์. คณะศิลปกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

ศิริเกษ หมายสุข. (2562). ศรีสะเกษ ททท.สุรินทร์เชิญร่วมสืบสานงานรำลึกพระยาไกรภักดี ประเพณีแซนโฎนตา บูชาหลักเมือง ลือเลื่องกล้วยแสนหวี จ.ศรีสะเกษ ปี 62. https://www.thailandplus.tv/archives/90516