ความพึงพอใจและความคิดเห็นของนิสิตต่อการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาปฏิบัติทักษะดนตรีภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความพึงพอใจของนิสิตต่อการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาปฏิบัติทักษะดนตรีภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 2) ศึกษาความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของนิสิตต่อการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาปฏิบัติทักษะดนตรีภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นิสิตชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จำ นวน 90 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม(Questionnaire) ในแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ โดยแบ่งออก 2 ส่วนหลัก คือด้านความพึงพอใจและความคิดเห็นของนิสิตต่อการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาปฏิบัติทักษะดนตรีสถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัย พบว่า นิสิตมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาปฏิบัติทักษะดนตรีในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( =2.86) (S.D.=0.92) โดยมีความพึงพอใจต่อด้านการจัดการจัดการเรียนการสอนและการประเมินผลมากที่สุด รองลงมา คือ คุณภาพของสื่อออนไลน์ที่ใช้ในการเรียนการสอนและสภาพแวดล้อมในการเรียน และนิสิตมีความคิดเห็นต่อประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ว่า มีความสะดวกสบายและได้เรียนรู้โปรแกรมที่ใช้ในการเรียนออนไลน์และมีความคิดเห็นต่อปัญหาและอุปสรรค คือ สัญญานอินเทอร์เน็ตขัดข้อง สภาพแวดล้อมในการเรียนไม่เอื้ออำนวยและยังขาดอุปกรณ์เครื่องดนตรีที่ใช้การเรียน
Article Details
References
ทิศนา แขมมณี. (2559). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่20). สำ นักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). หลักการวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่8). สุวีริยาสาสน์การพิมพ์.
ระพีพัฒน์หาญโสภา. (2563). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่21: ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. วารสารวิชาการ ธรรมทัศน์, 20(2), 163-172.
วิทยา วาโย. (2563). การเรียนการสอนแบบออนไลน์ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19: แนวคิดและการประยุกต์ใช้จัดการเรียนการสอน.วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 14(34),285-298.
สุกรี เจริญสุข. (2564). อาศรมมิวสิก: สอนดนตรีปฏิบัติผ่านสื่อออนไลน์. https://www.matichon.co.th/prachachuen/news_2097179.
สุขนิษฐ์ สังขสูตรและจอมเดช ตรีเมฆ. (2564). การศึกษาความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนการสอนออนไลน์ในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ของมหาวิทยาลัยรังสิต [สาขาวิชาผู้นำ ทางสังคมธุรกิจและการเมือง, มหาวิทยาลัยรังสิต].
สุวัฒน์ บันลือ. (2560).รูปแบบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ที่เหมาะสมสำ หรับมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 11(2), 250-260.
ฌานิก หวังพานิช. (2560). แนวทางการจัดชั้นเรียนเพื่อการเรียนการสอนดนตรีในระดับอุดมศึกษา.วารสารศิลปกรรมศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ, 20(1),2-10.