การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจากภูมิปัญญาท้องถิ่นและทุนทางวัฒนธรรมของชุมชนไทยพวนถนนใหญ่ จังหวัดลพบุรี

Main Article Content

กุลชลี พวงเพ็ชร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทุนทางปัญญาและทุนทางวัฒนธรรมของชุมชนไทยพวนถนนใหญ่ จังหวัดลพบุรี และ 2) เสนอแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วมจากภูมิปัญญาท้องถิ่นและทุนทางวัฒนธรรมของชุมชนไทยพวนถนนใหญ่ จังหวัดลพบุรี กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ 1) ผู้บริหารหน่วยงาน จำนวน 7 คน 2) ผู้นำชุมชนจำนวน 13 คน  และ 3) ประชาชนชาวตำบลถนนใหญ่จำนวน 18 คน เทคนิคการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ การค้นคว้าจากเอกสาร  การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และการจัดเวทีชุมชน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ชาวไทยพวนถนนใหญ่มีเอกลักษณ์ในการดำรงวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม มีภาษาพูดของตนเอง ยึดมั่นในพระพุทธศาสนา มีสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ไว้เคารพบูชา คือ วัด ศาลตา ศาลยาย  มีประเพณี วัฒนธรรม และภูมิปัญญาของตนเอง นอกจากนี้ตำบลถนนใหญ่ยังมีของดีคือ การมีผืนดินที่สามารถผลิตเป็นดินสอพองคุณภาพดี อย่างไรก็ตามวิถีการดำรงชีวิตหลายประการถูกกลืนเข้ากับความเป็นไทย ทายาทไทยพวนขาดความตระหนักไม่ให้ความสำคัญกับประเพณีของชุมชน และยังไม่มีการจัดการการท่องเที่ยวอย่างมีรูปแบบ ขาดการประชาสัมพันธ์ และการสนับสนุนงบประมาณจากภาครัฐไม่เพียงพอ แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วมของของชุมชนไทยพวนถนนใหญ่ ได้แก่ ควรมีการจัดตั้งคณะกรรมการดำเนินงานอย่างจริงจังโดยภาครัฐ มีการสนับสนุนงบประมาณอย่างเพียงพอ ทำการปรับปรุงพิพิธภัณฑ์และสถานที่ กำหนดกิจกรรมการท่องเที่ยวที่หลากหลาย กำหนดเส้นทางการท่องเที่ยวที่เป็นระบบ ปรับปรุงการประชาสัมพันธ์ และพัฒนาศักยภาพการบริการแก่บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับนักท่องเที่ยว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กุลชลี พวงเพ็ชร์, สาคร กล้าหาญ, ศศิธร วชิรปัญญาพงศ์ และธนรุญพงศ์ กฐินเทศ. (2554). การจัดการ

และการมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม: กรณีศึกษากลุ่ม

ชาติพันธุ์ไทยพวน อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี. รายงานการวิจัยสาขาการจัดการ

คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

ชายชาญ ปฐมกาญจนา และนรินทร์ สังข์รักษา. (2558).แนวทางการส่งเสริมการตลาดการท่องเที่ยวเชิง

วัฒนธรรมของชุมชนตลาดบางหลวง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม. วารสารวิทยบริการ

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 26 (1): 118-129.

ธนากร ทองธรรมสิริ และโอชัญญา บัวธรรม. (2564). แนวทางสำหรับการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิง

วัฒนธรรมเพื่อสัมผัสประสบการณ์ท้องถิ่นในเขตพื้นที่ เมืองเก่าบุรีรัมย์ อำเภอเมือง จังหวัด

บุรีรัมย์. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 3 (1): 1-13.

บุญเลิศ ตั้งจิตวัฒนา. (2549). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: เพรส แอนด์ ดีไซน์ .

ปัณฉัตร หมอยาดี, วารุณี โอสถารมย์ และนิศากร บุตรงามดี. (2555). เอกสารการสอนชุดวิชา วัฒนธรรม

กับการท่องเที่ยว หน่วยที่ 1-8.ในหน่วยที่ 1 แนวคิดของวัฒนธรรมกับการท่องเที่ยว. นนทบุรี:

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ยุคลวัชร์ ภักดีจักริวุฒิ์, ปรัชญา เปี่ยมการุณ และอภิรพี เศรษฐรักษ์ ตันเจริญวงศ์. (2559). ไทยพวนกับ

กลยุทธเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแบบบูรณาการ. วารสารวิชาการนวัตกรรม

สื่อสารสังคม. 4 (1), 6-17.

วันสาด ศรีสุวรรณ. (2553).รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน

ลุ่มน้ำดาปี. (ดุษฎีนิพนธ์สาขาวัฒนธรรมศาสตร์). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วีรชัย สิงห์คา. (2562). การศึกษาวัฒนธรรมและประเพณีไทยพวน: กรณีศึกษาชุมชน บ้านถนนแค

ตําบลถนนแค อําเภอเมือง จังหวัดลพบุรี. วารสารบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ ราชมงคล

ล้านนา, 7(1): 15-25.

สกาวรัตน์ บุญวรรณโน, เกษตรชัย และหีม และบัณฑิตา หลิมประดิษฐ์. (2563). การพัฒนา

เส้นทางท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในย่านเมืองเก่าตะกั่วป่า จังหวัดพังงา. วารสารวิจัยราชภัฏ

เชียงใหม่, 21 (1):1-14.

อภิชาติ โล่ห์สุวรรณ. (2564). ผู้นำชุมชนตำบลถนนใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี. การสัมภาษณ์,

มีนาคม 17 2564.