สร้างชีวิต: การวิพากษ์วรรณกรรมเพื่อชีวิตโดยหลวงวิจิตรวาทการ

Main Article Content

เครือหวาย พรหมมา

บทคัดย่อ

                บทความวิจัยนี้มุ่งศึกษานวนิยายเรื่อง สร้างชีวิตของหลวงวิจิตรวาทการในฐานะผลผลิตโดยชนชั้นนำ ทางการเมืองและวาทกรรมการพัฒนา แม้นวนิยายเรื่อง สร้างชีวิต จะนำ เสนอประเด็นเรื่องชนชั้นและสภาพสังคมที่มีความเหลื่อมล้ำ ทว่า นวนิยายแสดงให้เห็นว่าวิธีแก้ปัญหาที่ยั่งยืนต้องเกิดจากวาทกรรมการพัฒนา และการสร้างคุณภาพคนโดยตระหนักถึงศักยภาพของปัจเจกบุคคล ทั้งหมดนี้เป็นการขานรับนโยบายรัฐในยุคสงครามเย็นและเป็นการสานต่ออุดมการณ์ชนชั้นกลางที่หลวงวิจิตรวาทการสร้างและสืบสานต่อเนื่องบนเส้นทางนักประพันธ์จึงกล่าวได้ว่านวนิยายเรื่องนี้เป็นผลผลิตทางวัฒนธรรมของชนชั้นนำ ทางการเมืองที่มุ่งท้าทายกระแสศิลปะเพื่อชีวิตภายใต้อิทธิพลของลัทธิมากซ์อันเป็นกระแสสำคัญกระแสหนึ่งในสังคมไทยตั้งแต่ต้นทศวรรษ 2490 เป็นต้นมา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ตรีศิลป์ บุญขจร. (2542). นวนิยายกับสังคมไทย (2475- 2500). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทักษ์ เฉลิมเตียรณ. (2552). การเมืองพ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จการ. แปลและเรียบเรียงโดย พรรณี ฉัตรพลรักษ์ ประกายทอง สิริสุข, ม.ร.ว. และธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.

นันทนา กปิลกาญจน์. (2529). แนวคิดทางการเมืองของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์: ผลที่มีต่อการพัฒนาประเทศ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

บาหยัน อิ่มสำราญ. (2527). นวนิยายไทยระหว่างพ.ศ. 2501-2506: การวิเคราะห์แนวคิด. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รื่นฤทัย สัจจพันธุ์. (2554). หน่วยที่ 6 วรรณกรรมปัจจุบัน พ.ศ.2475-2516. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาวรรณคดีไทย. นนทบุรี: สาขาวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วาสนา บุญสม. (2535). บทบาทผู้หญิงในนวนิยายและเรื่องสั้นของหลวงวิจิตรวาทการ: การศึกษาเชิงวิเคราะห์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิจิตรวาทการ, พลตรีหลวง. (2550). วิธีทำงานและสร้างอนาคต.พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: สร้างสรรค์บุ๊คส์.

วิจิตรวาทการ, พลตรีหลวง. (2549). ทางสู้ในชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สร้างสรรค์บุ๊คส์.

วิจิตรวาทการ, พลตรีหลวง. (2542). สร้างชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สร้างสรรค์บุ๊คส์.

วิทยากร เชียงกูลและคณะ. (2542). สารานุกรมแนะนำหนังสือดี 100 เล่มที่คนไทยควรอ่าน. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

อิงอร สุพันธุ์วณิช. (2554). วรรณกรรมกับสังคม: ภาพสะท้อนจากนวนิยายปัจจุบัน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Buchanan, I. (2010). Dictionary of Critical Theory. Oxford: Oxford University Press.

Sunthraraks, P. (1986). Luang Wichit Watakan: Hegemony and Literature. Unpublished Doctoral Dissertation, University of Wisconsin-Madison.