ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักวิ่งหน้าใหม่จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

ชินวัฒน์ ไข่เกตุ
สุนีย์ เงินยวง

บทคัดย่อ

            การวิ่งเป็นกิจกรรมทางกายที่ได้รับความนิยมจึงมีนักวิ่งหน้าใหม่ในงานวิ่งต่างๆ เพิ่มมากขึ้น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความรู้ทัศนคติและพฤติกรรมการออกกำ ลังกายของนักวิ่งหน้าใหม่และ 2) เปรียบเทียบพฤติกรรมการออกกำ ลังกายของนักวิ่งหน้าใหม่ในแต่ละปัจจัยของตัวอย่างจำนวน 503 คนซึ่งสุ่มอย่างง่ายจากนักวิ่งในงานวิ่งมินิมาราธอน 50 ปีศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เครื่องมือได้แก่แบบประเมินความรู้มีความเชื่อมั่น (KR-20) เท่ากับ 0.75แบบสอบถามทัศนคติและพฤติกรรมการออกกำลังกายมีความเชื่อมั่น (a) เท่ากับ 0.90 และ 0.93 ตามลำ ดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบ t และ F ทดสอบเปรียบเทียบรายคู่ภายหลังด้วยสูตร Scheffé และ Dunnett T3             ผลการวิจัยพบว่า
1) นักวิ่งหน้าใหม่มีความรู้อยู่ระดับปานกลางแต่มีทัศนคติและพฤติกรรมการออกกำลังกายระดับสูง
2) นักวิ่งหน้าใหม่ที่มีเพศ อายุ การสูบบุหรี่ อาชีพ ความถี่ในการแข่งขันรอบ 1เดือน ระยะทางสูงสุดที่มีประสบการณ์แข่ง ความรู้และทัศนคติที่มีต่อการออกกำ ลังกายแตกต่างกันจะมีพฤติกรรมการออกกำ ลังกายต่างกันอย่างมีนัยสำ คัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จันทรัตน์ หิรัญกิจรังสี.(2562). รอบรู้เรื่องการวิ่ง (Running Knowledge).[ออนไลน์]. ได้จาก: https://il.mahidol.ac.th/th/i-Learning-Clinic/general-articles/running-knowledge/ [สืบค้นเมื่อ วันที่ 20 มีนาคม 2563].

เจริญ กระบวนรัตน์. (2548). หลักและเทคนิคการฝึกกรีฑา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ.

ชโลธร เสียงใส และสุจิตรา สุคนธทรัพย์. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีกิจกรรมทางกายของนิสิตนักศึกษา สถาบันอุดมศึกษา ในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ, 16(3), 63-75

นลินทิพย์ ภัคศรีกุลกำธร.(2562).“งานวิ่ง” เกลื่อนเมือง แต่ทำไมใคร ๆ ถึง “อยากจัด”. วารสาร Positioning. สืบค้นจาก https://positioningmag.com/?p=1216724

นิจลาวรรณ เพ็ชรรินทร์ . (2553). พฤติกรรมการออกกำลังกายของนิสิตปริญญาตรีหลักสูตรปกติคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ปริญญาสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ปัญจพร ภาศิริ และ ปิยธิดา คูหิรัญญรัตน์.(2558). ความรู้ทัศนคติและการปฏิบัติตัวเกี่ยวกับกสรออกกำลังกายของอาสาสมัครสาธารณสุขในเขตอำเภอเมืองจังหวัดหนองบัวลำภู. เอกสารประกอบการจัดประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาครั้งที่ 34. วันศุกร์ที่ 27 มีนาคม 2558 ณ อาคารเรียนรวม คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. https://gsbooks.gs.kku.ac.th/58/the34th/

ไพบูลย์ ศรีชัยสวัสดิ์. (2549). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของนิสิตปริญญาตรีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วารสารคณะพลศึกษา ปีที่ 9, เล่มที่ 2 (ก.ค.-ธ.ค. 2549), หน้า 5-18.

มงคล คฑาทอง (มปป.). ประเภทและระดับของนักวิ่ง .สืบค้นจากhttp://www.thairunning.com/level_runner.htm อัพเดท 2561.

วิธาน ศรีริทิพย์. (2561). หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ 7 กันยายน 2561.[ออนไลน์]. ได้จาก: https://www.prachachat.net/local-economy/news-215997 [สืบค้นเมื่อ วันที่ 26 มิถุนายน 2563].

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. (2563). รายงานสุขภาพคนไทย 10 สถานการณ์เด่นด้านสุขภาพ “กระแสนิยมเดิน-วิ่งเพื่อสุขภาพสู่ยุคเฟื่องฟูของธุรกิจกีฬา” 52 หน้า สืบค้นจากhttps://www.thaihealthreport.com/2563

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.(2561).ยุทธศาสตร์ชาติพ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๘๐. https://pub.nstda.or.th/gov-dx/wp-content/uploads/2021/09/20181013-announcement-national-strategy.pdf

อรรถพร มงคลภัทรสุข, คมศักดิ์ สินสุรินทร์, ภิญญดา วราธนะเกษม, ปรรณกร สังข์นาค และลออรัตน์ สุทธิวิริยะกุล. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการบาดเจ็บรยางค์ขาในนักวิ่งมาราธอน การศึกษาเชิงสำรวจในกรุงเทพฯ มาราธอน 2013. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา. 18(2), 73-80.

อรุณรัตน์ สารวิโรจน์ และกานดา จันทร์แย้ม. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่. วารสารวิทยาสารเกษตรศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์, 35(2), 223-234.

Pender, N, J., Murdaugh, C, L & Parsons, M.A. 2002. Health Promotion on Nursing Practice (4th). USA: Prentice Hall.

Smith L Smith. (1998). Athletes, runners, and joggers: participant-group dynamics in a sport of “individuals”. Sociology of Sport Journal. 15:174-92.

Van MW. Running injuries. (1992). A review of epidemiological literature. Sports Med; 14,320-35

WHO, IOTF/IASO. The Asia-Pacific perspective: Redefining Obesity and its treatment. 2000