แนวทางการบริหารต้นทุนการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์แบบมีส่วนร่วมของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนปลูกผักปลอดสารพิษ ตำบลยางเนิ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยเรื่องนี้เพื่อศึกษาบริบทของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนปลูกผักปลอดสารพิษ และศึกษาต้นทุนการผลิตผักไฮโดรโปนิกส์อันนำไปสู่การบริหารต้นทุนของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนปลูกผักปลอดสารพิษตำบลยางเนิ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการวิจัยเชิงปฎิบัติการแบบมีส่วนร่วม ได้รวบรวมข้อมูลจากการประชุมเชิงปฏิบัติการและสนทนากลุ่มกับกลุ่มผู้ปลูกผักโดรโปรนิกส์ จำนวน 11 คน พบว่า ต้นทุนการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ เท่ากับ กิโลกรัมละ 73.76 บาท สำหรับแนวทางการบริหารต้นทุนการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์แบบมีส่วนร่วมของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนปลูกผักปลอดสารพิษตำบลยางเนิ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ คือ 1) การสร้างเครือข่ายระหว่างผู้ประกอบการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ เพื่อเป็นแหล่งซื้อเมล็ดพันธุ์ผักที่มีคุณภาพ ราคาถูก 2) มีการปรับลดต้นทุนเมล็ดพันธุ์ผักจากพันธุ์ต่างประเทศมาเป็นผักพื้นบ้านหรือผักพื้นถิ่น ซึ่งราคาถูกกว่าและรอบการผลิตเร็วกว่า ทันต่อความต้องการของตลาด 3) ต้นทุนการปลูกผักในส่วนค่าแรงงานควรกำหนดหลักเกณฑ์อัตราค่าแรงงานให้ชัดเจนตามมติของกลุ่ม ตั้งแต่การเริ่มเพาะปลูกจนถึงการเก็บเกี่ยวจำหน่าย 4) มีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพใช้เองในการปลูกผัก ลดการใช้สารเคมีในกระบวนการปลูก ส่งผลให้ลดต้นทุนการปลูก 5) มีการปรับลดต้นทุนการผลิตต่อกิโลกรัม โดยการเพิ่มปริมาณการผลิต
Article Details
References
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2554). แผนพัฒนาการเกษตร ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555 - 2559). สืบค้นเมื่อ 30 ตุลาคม, 2564. จาก https://www.moac.go.th/action_plan-files-391491791793
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2564). ตัวชี้วัดเศรษฐกิจของประเทศไทยปี 2563. สืบค้นเมื่อ 30 ตุลาคม, 2564 จากhttps://www.oae.go.th/assets/portals/1/files/jounal/2564/indicator2563.pdf
เกรียงไกร นามนัย. (2562). ศักยภาพในการบริหารต้นทุนและการวางแผนกำไรที่ส่งผลต่อการดำเนินงาน ของธุรกิจ SMEs ในจังหวัดมหาสารคาม. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม
โกวิทย์ พวงงาม. (2553). การจัดการตนเองของชุมชนและท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : บพิธ การพิมพ์
จารุวรรณ บุตรสุวรรณ์. (2558). กระบวนการจัดทำบัญชีต้นทุนเกี่ยวกับข้าวบนฐานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชนในบ้านเขวา ตำบลเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาราชภัฎมหาสารคาม
จิราณัทย์ กิ่งสวัสดิ์. (2556). ศึกษากลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจผักไฮโดรโปนิกส์. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร
ชัยพร กวินธีรภาพ. (2558). การเพิ่มยอดขายของธุรกิจลูกชิ้นปลา บริษัทธีรภาพ จังหวัดสมุทรปราการ.วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ณัฐนรี ทองดีพันธ์ และ ปัญจพร ศรีชนาพันธ์. (2562). ความสามารถในการใช้ข้อมูลทางการบัญชีบริหารของธุรกิจในจังหวัดลำปาง. วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. 12(1). 135-147
ธัญญธร ศรีวิเชียร. (2560). ศึกษาผลกระทบของการบริหารต้นทุนเป้าหมายที่มีต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันและผลการดำเนินงานของอุตสาหกรรมอาหารในประเทศไทย วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม .36(6).203-217.
ธานินทร์ ไชยเยน. (2558). ศึกษาเรื่องการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกกลุ่มทอผ้าไหมบ้านหนองตาไก้ จังหวัดบุรีรัมย์.วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธนบุรี.9(19):51-61.
นาวทีวี. (2564). ตลาดไฮโดรโปนิกส์ความต้องการสูง แนวโน้มล่าสุด การเติบโตในอนาคต สถานการณ์ทางธุรกิจ ผลิตภัณฑ์ เทคโนโลยี ส่วนแบ่งและการคาดการณ์ 2564 – 2570. สืบค้นเมื่อ 30 ตุลาคม, 2564. จาก https://www.now26.tv/the-hydroponics-market-is-in-high-demand-
บัญชา จุลุกุล. (2561). โครงการวิจัยการพัฒนาตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ เพื่อส่งเสริมการขายกรณีศึกษากลุ่มวิสาหกิจชุมชน ต.รำแดง อ.สิงหนคร จ.สงขลา, การประชุมวิชาการด้านมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ระดับชาติ ครั้งที่1 (31-39). สงขลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.
ปาลวีพุฒิกูลสาคร และอนุชา พุฒิกูลสาคร. (2563). ผลกระทบของความสามารถในการบริหารต้นทุนแบบบูรณาการที่มีผลต่อความสำเร็จอย่างยั่งยืนของธุรกิจไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย, การประชุมวิชาการระดับนานาชาติและระดับชาติด้านบริหารธุรกิจและการบัญชี 2563. 20 - 21 กุมภาพันธ์ 2563 (3-16). เชียงใหม่: คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
พงศ์ศิรภพ ทองดีรวสุรเกตุ ณัฐปภัสร์ เทียนจันทร์ และจิรศักดิ์ เรืองรังสี. (2559). การวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบระหว่างต้นทุนการผลิตและผลตอบแทนการปลูกข้าวของกลุ่มเกษตรกร ในจังหวัดกาญจนบุรี .รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
พรนภา แสงงาม และเดชา โลจนสิริศิลปะ. (2564). ระบบบัญชีต้นทุนสำหรับธุรกิจผักไฮโดรโปนิกส์: กรณีศึกษาธุรกิจแห่งหนึ่งในเขตอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี การประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 8 .27 มีนาคม 2564. (536-545). นครราชสีมา: วิทยาลัยนครราชสีมา
ภาวินีย์ ธนาอนวัช. (2561). การบริหารต้นทุนการผลิตและการวางแผนกําไรผลิตภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนตําบลบางนางร้า อําเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี .9(1). 47-56
รัตนาภรณ์ ปรีดาศักดิ์และรัญชิดา กุฎีศรี. (2563). รูปแบบการบริหารต้นทุนกล่มุ แปรรูปน้ำตาลโตนดของวสิาหกิจชุมชน จังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี.10(3). 89-91
สภาเกษตรแห่งชาติ. (2561). การปลูกผักแบบไฮโดรโปนิกส์. สืบค้นเมื่อ 31 ตุลาคม, 2564. จากhttps://www.nfc.or.th/content/7487
สมนึก เอื้อจิระพันธ์ (2558). การบัญชีต้นทุน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แมคกรอ-ฮิล
สำนักงานจังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด. บรรยายสรุปจังหวัดเชียงใหม่. (2563). สืบค้นเมื่อ 31 ตุลาคม, 2564. จาก http://www.chiangmai.go.th/managing/public/D8/8D22Oct2020145452.pdf
Cohen, J.M., & Uphoff, N.T. (1981). Rural Development Participation: Concept and Measure For Project Design Implementation and Evaluation: Rural Development Committee Center for international Studies. New York: Cornell University Press.
McNiff, J. & Whiteheas, J. (2011). All You Need to Know about Action Research (2nd ed.). Thousand Oaks, CA: SagePublications.