ตัวละครในนวนิยายอิงประวัติศาสตร์เรื่องข้าบดินทร์ ของวรรณวรรธน์ : กลวิธีการนำเสนอตัวละคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการนำเสนอตัวละครในนวนิยายอิงประวัติศาสตร์เรื่องข้าบดินทร์ ของวรรณวรรธน์
จากการศึกษากลวิธีการนำเสนอตัวละครสามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภท คือ การนำเสนอตัวละครใช้การบรรยายตัวละครทางตรงและการนำเสนอตัวละครทางอ้อม การนำเสนอทางตรง แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ การบรรยายลักษณะของตัวละครโดยผู้เขียน และการบรรยายลักษณะของตัวละครอื่น ๆ การนำเสนอทางอ้อม แบ่งออกได้ 3 รูปแบบ ได้แก่ การบรรยายลักษณะของตัวละครด้วยการกระทำ, การบรรยายลักษณะของตัวละครจากบทสนทนา และการบรรยายลักษณะของตัวละครจากความคิดของตัวละคร ผู้เขียนนำเสนอตัวละครที่มีอยู่จริงในประวัติศาสตร์โดยการให้ข้อมูลเท่าที่ปรากฏในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เพื่อป้องกันการบิดเบือนประวัติศาสตร์ของเรื่อง ส่วนกลวิธีการนำเสนอตัวละครที่ผู้ประพันธ์สร้างขึ้นสามารถนำเสนอได้หลายมุม เช่นการใช้ทั้งบทสนทนาและการกระทำแสดงออกพร้อมกันก็สามารถที่จะทำได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นจึงพบการนำเสนอทางตรงมากกว่าการนำเสนอทางอ้อม เนื่องจากนวนิยายเป็นนวนิยายแนวอิงประวัติศาสตร์ต้องใช้ความสมจริงในการนำเสนอหรือบ่งบอกถึงตัวละครต่าง ๆ จึงต้องอาศัยลักษณะที่พบตามเอกสารทางประวัติศาสตร์ที่พบในปัจจุบัน
Article Details
References
นันทา พฤกษ์พงษ์. (2541). วิเคราะห์ตัวละครเอกฝ่ายชายในนวนิยายของ ว.วินิจฉัยกุล. (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาภาษาไทย). สงขลา : มหาวิทยาลัยทักษิณ.
ประคอง เจริญจิตรกรรม. (2527). การศึกษานวนิยายอิงประวัติศาสตร์ไทยระหว่าง พ.ศ. 2490 – พ.ศ. 2525. กรุงเทพฯ : โครงการวิจัยหลักสูตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พัชราวลี จินนิกร. (2559). ศึกษาภาพลักษณ์ของตัวละครหญิงในวรรณกรรมเรื่องผู้ชนะสิบทิศ. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.
วนิตา ดิถียนต์. (2539). “คุณค่าของนวนิยายอิงประวัติศาสตร์” เอกสารในการสัมมนาทางวิชาการเรื่องแรงดึงของอดีตและแรงรุกของอนาคตในวรรณกรรม การศึกษาเปรียบเทียบวรรณกรรมไทยและอินเดีย ; 29-30 มกราคม 2539. ปทุมธานี : เสนอที่ศูนย์อินเดียศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (เอกสารอัดสำเนา)
วรรณวรรธน์ (นามแฝง). (2552). พิมพ์ครั้งที่ 5. ข้าบดินทร์ เล่ม 1. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม.
_________________. (2552). พิมพ์ครั้งที่ 5. ข้าบดินทร์ เล่ม 2. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม.