ปัจจัยที่มีผลต่อ ทัศนคติ และ พฤติกรรมการเลือกช่องทางการชำระเงินในยุคดิจิทัล

Main Article Content

ฉันทพัฒธ์ เทียมอนันต์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์และวิธีดำเนินการวิจัย เนื้อหาคือ การศึกษาในครั้งนี้มุ่งเน้นศึกษา ปัจจัยที่มีผลต่อ ทัศนคติ และ พฤติกรรมการเลือกช่องทางชำระเงินในยุคดิจิทัล โดยดำเนินการศึกษา ทัศนคติและ พฤติกรรมของ ผู้บริโภคที่เคยใช้งานช่องทางการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ โดยกำหนดขอบเขตในการศึกษา ในเขตเขต กรุงเทพมหานคร โดยคำนวนหากลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสมโดยใช้สูตรของ W.G. ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ยอมให้ความคลาดเคลื่อนร้อยละ 5 โดยได้กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 420 คน แบ่งเขตการเก็บข้อมูลออกเป็น 7 เขต ได้แก่ เขตบางรัก เขตสาทร เขตปทุมวัน เขตราชเทวี เขตวัฒนา เขตห้วยขวาง และ เขตจตุจักร โดยวิเคราะห์ผลด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว สถิติการแจกแจงไคสแควร์ และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ


ผลการวิจัยประกอบด้วย ปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกันไม่มีความสัมพันธ์ต่อทัศนคติในการเลือกช่องทางการชำระเงินในยุคดิจิทัล ที่แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญ .05 ในด้านปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกันมีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการเลือกช่องทางการชำระเงินในยุคดิจิทัล ที่แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญ .05 ในด้านปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาด (Marketing Mix) มีอิทธิพลต่อทัศนคติในการเลือกช่องทางการชำระเงินในยุคดิจิทัล ที่ระดับนัยสำคัญ .05 ในด้านปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาด (Marketing Mix) มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการเลือกช่องทางการชำระเงินในยุคดิจิทัล ที่ระดับนัยสำคัญ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2562). สถิติประชากรศาสตร์ประชากรและเคหะ. สืบค้นจาก http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/01.aspx
คอนโดนิวบี. (2563). CBD กรุงเทพฯคือตรงไหน. สืบค้นจาก https://www.condonewb.com/insight/86/Where-Is-
Bangkok-CBD.
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2562). แผนกลยุทธ์ระบบการชำระเงิน ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2562-2564). กรุงเทพฯ: ธนาคารแห่ง
ประเทศไทย.
รอชิด้า ยีสมาน และ บุฏกา ปัณฑุรอัมพร. (2564). ปัจจัยที่ไม่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการ
Mobile Banking Application ในสถานการณ์ COVID –19. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วิวัฒณ์ ขันธเขตต์ และสิงหะ ฉวีสุข. (2562). การยอมรับระบบการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ของกลุ่มคนวัยทำงานในเขตภาค
กลาง ประเทศไทย. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
สุขุมา เล็บครุฑ. (2564). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดท่ีส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้บัตรสินเชื่อเกษตรกรลูกค้าธนาคารเพื่อ
การเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จังหวัดราชบุรี. Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University. 8(1), 123-135.
อรอนงค์ ทองกระจ่าง. (2560). ส่วนประสมทางการตลาด การยอมรับเทคโนโลยี และการสื่อสารบอกต่อที่มีผลต่อการ
ตัดสินใจชื้อสินค้าผ่านทางแอปพลิเคชั่น Shoppe. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
Agnieszka Huterska, Anna Iwona Piotrowska Joanna Szalacha-Jarmu˙zek. (2021, May). Fear of the COVID-19 Pandemic and Social Distancing as Factors Determining the Change in Consumer Payment Behavior at Retail and Service Outlets. Energies, 14 (4191), 278-290.
Cochran, W. G. (1963). Sampling Techniques. (2nd ed.). New York: John Wiley and Sons, Inc.England: Pearson Education.
Monika Kulisz, Agnieszka Bojanowska & Katarzyna Toborek. (2021, May). Consumer ‘s Behaviour Regarding Cashless Payments during the Covid-19 Pandemic. European Research Studies Journal, 14(2), 1-18.