การพัฒนากระบวนการทำวิจัยของนักศึกษาครูฟิสิกส์ในรายวิชาการวิจัย ในชั้นเรียนวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติของนักศึกษาครูฟิสิกส์
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความรู้ความเข้าใจการทำวิจัยในชั้นเรียนของนักศึกษาครูฟิสิกส์
ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบลงมือปฏิบัติ 2) ประเมินความรู้ความสามารถกระบวนการทำวิจัย
ในชั้นเรียนของนักศึกษาครูฟิสิกส์ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบลงมือปฏิบัติ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อกระบวนการการทำวิจัยในชั้นเรียนของนักศึกษาครูฟิสิกส์ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบลงมือปฏิบัติ กลุ่มเป้าหมาย คือ นักศึกษาครูฟิสิกส์ ชั้นปีที่ 3 ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาการวิจัยในชั้นเรียนวิทยาศาสตร์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้
แบบลงมือปฏิบัติรายวิชาการวิจัยในชั้นเรียนวิทยาศาสตร์ 2) แบบวัดความรู้ความสามารถเกี่ยวกับกระบวนการการทำวิจัยในชั้นเรียนวิทยาศาสตร์ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจเกี่ยวกับกระบวนการการทำวิจัยในชั้นเรียนวิทยาศาสตร์ 4) แบบสังเกตกระบวนการทำวิจัยในชั้นเรียนวิทยาศาสตร์ และ 5) แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างกระบวนการทำวิจัยในชั้นเรียนวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์โดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษาครูฟิสิกส์ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติมีความรู้ความเข้าใจการทำวิจัยในชั้นเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.23) 2) นักศึกษาครูฟิสิกส์ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบลงมือปฏิบัติ ประเมินความรู้ความสามารถกระบวนการทำวิจัยในชั้นเรียนโดยใช้ได้นำขั้นตอนการทำงาน 5 ขั้นตอน (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.22) 2) มีความรู้ความสามารถโดยใช้กระบวนการ 5 ขั้นตอน อยู่ในระดับมากที่สุด และ 3) มีความพึงพอใจที่มีต่อกระบวนการทำวิจัยในชั้นเรียนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.30)
Article Details
References
กวิทธิ์ ศรีสัมฤทธิ์ และนุจรี บุรีรัตน์. (2557). ความพึงพอใจ ของผู้ใช้เว็บไซต์การจัดการองค์ความรู้คณะเทคโนโลยีสื่อสารสารมวลชน. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. 8(1), 164-176.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2553 (ฉบับที่ 3). กรุงเทพฯ: บริษัทสยามสปอรต์ ซินดิเคท จำกัด.
กิติพงษ์ ลือนาม. (2559). การพัฒนาผลการเรียนรู้ และทักษะกระบวนการวิจัยจากการจัดการเรียนรู้โดยประยุกต์
ใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับปฏิบัติการวิจัยของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต. วารสารราชพฤกษ์. 14(2), 36-45.
ขจรศักดิ์ บัวระพันธ์. (2557). วิจัยเชิงคุณภาพไม่ยากอย่างที่คิด. พิมพ์ครั้งที่ 6 กรุงเทพฯ: บริษัท คอมม่าดีไซน์แอนด์ พริ้นท์ จำกัด.
จุมพต พุ่มศรีภานนท์. (2555) . การวิจัยในชั้ เรียน: เครื่องมือสำคัญของครูวิทยาศาสตร์. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้. 3(2), 121-125.
จิตติรัตน์ แสงเลิศอุทัย. (2554). การเสริมสร้างทักษะการจัดการความรู้โดยใช้กระบวนการเรียนรู้จากการปฏิบัติ
ของนักศึกษาวิชาชีพครู (ระยะที่ 2). วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 34 (3-4), 14-20.
จิตติรัตน์ แสงเลิศอุทัย และชัยยุธ มณีรัตน์. (2562). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน. วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร. 9(2), 1-11.
จิรวัฒน์ วรุณโรจน์ และสุนทร ฉมารัตน์. (2561). แนวทางการพัฒนาครูด้านการทำวิจัยในชั้นเรียนสำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์. 18(2), 111-119.
ฉลาด จันทรสมบัติ. (2550). การวางแผนแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาท้องถิ่น. มหาสารคาม: อภิชาติการพิมพ์.
ฆนัท ธาตุทอง. (2554). สอนคิด: การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการคิด. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นครปฐม: เพชรเกษมการพิมพ์.
ณัฎฐพงษ์ ฉายแสงประทีป. (2559). การศึกษาการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ ในรายวิชา TMT423 ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 94(11), 94-102.
ธีรพันธ์ เชิญรัมย์. (2563). องค์การแห่งการเรียนรู้: การเรียนรู้จากการปฏิบัติ. วารสารวิจัยวิชาการ. 3(1),185-196.
นวลจันทร์ พะทาโล, ราชันย์ บุญธิมา และสิริมา ภิญโญอนันตพงษ์. (2559). จิตสาธารณะของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบลงมือปฏิบัติ. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีน
ครินทรวิโรฒ. 17(1), 24-34.
นิลรัตน์ นวกิจไพฑูรย์. (2557). การพัฒนาสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสอนแบบมีส่วนร่วม 4 P. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. 6(2), 99-111.
ประจวบ แหลมหลัก. (2560). ผลการเรียนรู้การวางแผนยุทธศาสตร์ ด้วยการลงมือปฏิบัติจริงของนิสิตหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์)มหาวิทยาลัยพะเยา. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุข
และการศึกษา. 18(2), 106-112.
ประภัสสร วงษ์ดี. (2561). รูปแบบการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการทำวิจัยในชั้นเรียนของนักศึกษาครูสาขาช่างอุตสาหกรรม. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 21(1), 109-126.
ปิยนุช มาลีหวล และเดชา ศุภพิทยาภรณ์. (2560). ผลการสอนแบบเพียร์ที่เสริมด้วยกิจกรรมการลงมือปฏิบัติ
ทางฟิสิกส์ต่อมโนทัศน์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4.
วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม. 7(3), 87-95.
พงศ์เทพ จิระโร. (2556). ครูนักวิจัยวิจัยปฎิบัติในชั้นเรียน (Classroom Action Research): เน้นปฏิบัติจริงไม่ทิ้งนักเรียนครูทำได้. สืบค้นจาก http://reseach.edu.ac.th/pdf/Manual.pdf
พรทิพย์ วงศ์ไพบูลย์. (2560). การเรียนรู้เชิงรุกและการมีส่วนร่วมของผู้เรียน (Active Learning).
วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร. 8(2). 327-336.
พวงพยอม ชิดทอง และปวีณา โฆสิโต. (2560). บทบาทของอาจารย์ในการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับบัณฑิตไทย. พิฆเนศวร์สาร. 13(1), 1-11.
พินดา วราสุนันท์. (2558). การพัฒนาความสามารถทางการวัดและประเมินผลและการวิจัยในชั้นเรียนของนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูด้วยกระบวนการให้ข้อมูลย้อนกลับทางบวก. วารสารวิจัยทางการศึกษา
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ. 9(1), 75-89.
เพ็ญพักตร์ ช่วยพันธ์ อารี สาริปา และสุพัฒน์ บุตรดี (2560) ผลการใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน ที่มีผลต่อทักษะการบวนการทางวิทยาศาสตร์ และความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนขั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ. 17(2), 165-173.
มยุรี ลี่ทองอิน. (2557). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจผู้เรียนต่อรูปแบบการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญการฝึกปฏิบัติรายวิชาการประเมินภาวะสุขภาพ, วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 32(3), 190-196.
รุ่งฟ้า กิติญาณุสันต์. (2552). การส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองของนิสิต: การสะท้อนจากกระบวนการวิจัยปฏิบัติการ. วารสารศึกษาศาสตร์และพัฒนาสังคม. 5(1-2), 145-166.
วรรณดี สุทธินรากร. (2561). การวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สยามปริทัศน์ จำกัด.
วรรณดี สุทธินรากร. (2563). การวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนเพื่อสร้างความหมายใหม่ในการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สยามปริทัศน์ จำกัด.
สกล แก้วศิริ. (2559). การใช้กระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือกันพัฒนาความสามารถในการดำเนินการงานวิจัยในชั้นเรียนของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. พิฆเนศวร์สาร. 12(1), 115-135.
สภาพร พรไตร. (2559). การเรียนรู้วัฏจักรเครบส์ในการสลายสารอาหารระดับเซลล์ ด้วยการสืบเสาะวิทยาศาสตร์: กิจกรรมการลงมือปฏิบัติ (hands-on) เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้. 7(2), 285-297.
สุภาพร พรไตร และชนันธร อุดมศิลป์. (2561). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสด้วยกิจกรรมการลงมือปฏิบัติบนฐานการสืบเสาะวิทยาศาสตร์. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้. 9(2), 153-168.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2557). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน (Classroom Action Research). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อพันตรี พูลพุทธา. (2561). รูปแบบการให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของนักศึกษา
ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์. 13(37),
-74.
เอกลักษณ์ บุญท้าว สมเจตน์ ภูศรี และศิริ ถีอาสนา. (2557). รูปแบบการพัฒนาครูด้านการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 8(4), 238-246.
Edgar,D. (1969). Audio-visual methods in teaching. (3rd Ed). New York: The Dryden Press Holt, Rineheart and Winston. Inc.
Evans, L., & Abbott, I. 1998. Teaching and learning in Higher Education. London: Cassell
Kemmis, K. and Mctaggast, R. (1988). The Action Research Planner. Victoria: Deakin University.
Marquardt, M.J. (2002). Building the learning organization: Mastering the 5 elements for corporate learning. Palo Alto: Davies-Black.
Stringer, Ernest T. (1999). Action research. 2nded. California: SAGE.