The ปัญหาการกำหนดค่าเสียหายทางจิตใจตามพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การที่ผู้บริโภคจะตรวจพบว่าสินค้าที่ตนได้มานั้นเป็นสินค้าที่ปลอดภัยต่อตนอาจจะเป็นไปได้ยากและเมื่อผู้บริโภคนำสินค้าที่ไม่ปลอดภัยไปใช้อาจก่อให้เกิดความเสียหายอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย สุขภาพ อนามัย จิตใจหรือทรัพย์สินของผู้บริโภคหรือบุคคลอื่นๆได้ และเมื่อความเสียหายเกิดขึ้นแล้วหากเป็นความเสียหายที่สามารถคำนวณเป็นเงินได้ คือเป็นความเสียหายที่หลักฐานปรากฏชัดเจนแน่นอนก็มักไม่ค่อยเกิดปัญหาในการกำหนดค่าเสียหาย แต่หากผู้เสียหายต้องการเรียกร้องค่าเสียหายทางจิตใจหรือค่าเสียหายที่ไม่อาจคำนวณเป็นเงิน การกำหนดค่าเสียหายดังกล่าวเกิดประเด็นที่น่าสนใจในทางกฎหมายอย่างมาก เนื่องจากในพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัยนั้น ได้กำหนดหลักเกณฑ์ใหม่อันขัดต่อหลักการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนทางละเมิดหรือการเรียกร้องทางแพ่ง กล่าวคือ มาตรา 11 ในพระราชบัญญัตินี้ได้กำหนดให้ค่าเสียหายทางจิตใจนอกจากผู้เสียหายจะสามารถเรียกร้องได้แล้วนั้น บุคคลผู้มีส่วนได้เสียกับผู้เสียหายโดยอาจเป็น สามี ภริยา บุพการีหรือผู้สืบสันดานของผู้เสียหายในกรณีที่ผู้เสียหายถึงแก่ความตายและบุคคลเหล่านี้ได้รับความเสียหายต่อจิตใจสามารถมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายทางจิตใจได้อีกด้วย ซึ่งถือว่าขัดต่อหลักการเรียกร้องค่าสินไหมฯ ที่มีอยู่ในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนทางละเมิดที่จะเห็นได้ว่าการกำหนดค่าเสียหายทางจิตใจเป็นเรื่องเฉพาะตัวของผู้เสียหายเองอย่างเคร่งครัด อย่างไรก็ตามผู้วิจัยได้พิจารณาถึงหลักกฎหมายดังกล่าวและเป็นที่น่าสังเกตว่าการกำหนดค่าเสียหายทางจิตใจให้กับผู้เสียหายเองนั้นโดยปกติแล้วเป็นเรื่องที่ชอบธรรมกับผู้เสียหายที่ได้รับความเสียหายทางจิตใจและสมควรอย่างยิ่งยวดที่จะได้รับการเยียวยา แต่การให้ค่าเสียหายทางจิตใจอันเป็นสิ่งที่เป็นนามธรรมและเป็นความรู้สึกส่วนบุคคล หากกำหนดให้บุคคลอื่นสามารถเรียกร้องค่าสินไหมฯได้นั้น เป็นการเพิ่มความรับผิดให้กับผู้กระทำละเมิดจากความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงที่พิสูจน์ได้ยาก และเมื่อพิจารณาจากการกำหนดค่าสินไหมทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แม้แต่แนวคำพิพากษาของศาลฎีกาต่างกำหนดการชดใช้ค่าเสียหายทางจิตใจที่เคร่งครัดอย่างมากเช่นเดียวกัน อีกทั้งโดยหลักของการเยียวยาผู้เสียหายนั้นจะต้องไม่ไปสร้างความอยุติธรรมที่เกินขอบเขตของความเสียหายที่แท้จริงให้กับผู้ที่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
Article Details
References
มานิตย์ วงศ์เสรี,วรรณชัย บุญบำรุง,พินัย ณ นคร,สมศักดิ์ นวตระกูลพิสุทธิ์และอิงอร จินตนาเลิศ.(2544).ความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดจากสินค้า(product Liability).หน้า 97.
เพ็ง เพ็งนิติ.(2552).คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยละเมิด.หน้า442.
พิศวาส สุคนธพันธุ์.(2524).”ความเสียหายทางจิตใจ ตามกฎหมายระบบคอมมอนลอว์.”วารสารนิติศาสตร์,12,2.หน้า168.
อนันต์ จันทรโอภากร.(2544).การวิจัยเชิงกฎหายเปรียบเทียบเรื่อง กฎหมายว่าด้วยความรับผิดเพื่อความเสียหายอันเกิดจากสินค้าที่ขาดความปลอดภัย.อ้างแล้ว,หน้า16.
ภาษาต่างประเทศ
The Latest from Craig Smith, C. ’sBlog.June8,2006,formhttp://www.Craigsmithsblog.com/.