การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านจับใจความ โดยใช้การจัดการเรียนรู้ แบบ SQ4R ร่วมกับแผนผังความคิด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

วราวรรณ นันสถิตย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับแผนผังความคิด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อศึกษาความสามารถด้านการอ่านจับใจความ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับแผนผังความคิด 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับแผนผังความคิด กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนคำมันปลาผดุงวิทย์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 8 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับแผนผังความคิด จำนวน 6 แผน รวม 12 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่านจับใจความ แบบปรนัย 3 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ ซึ่งค่าความยากง่ายมีค่าตั้งแต่ 0.63 – 0.75 และค่าอำนาจจำแนกมีค่าตั้งแต่ 0.25 – 0.75 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.94 3) แบบสอบถามความพึงพอใจทางการเรียน จำนวน 10 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.52 – 0.91 และความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.90 4) แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้  จำนวน 5 ด้าน ซึ่งค่าดัชนีความสอดคล้อง IOC พบว่า แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้นี้ มีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 0.80 - 1.00 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ( gif.latex?\fn_cm&space;\bar{x} ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที (t-test)    


     ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้


  1. แผนการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับแผนผังความคิด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 79.88 /80.83 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 75/75

  2. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับแผนผังความคิด มีความสามารถด้านการอ่านจับใจความหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีพฤติกรรมการเรียนรู้อยู่ในระดับดีมาก มีค่าเฉลี่ย (gif.latex?\fn_cm&space;\bar{x} = 3.60 และ S.D. = 0.43)

  3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับแผนผังความคิด ที่ส่งเสริมการอ่านจับใจความ มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย(gif.latex?\fn_cm&space;\bar{x} = 4.73 และ S.D. = 0.35)

     


    คําสําคัญ : ความสามารถด้านการอ่านจับใจความ, การจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R, แผนผังความคิด



Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิตรลดา อ้นวงษา. (2561). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง แม่กลองบ้านเรา โดยใช้วิธีสอนแบบ SQ4R ร่วมกับ แนวคิดห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) เพื่อพัฒนาความสามารถในการ อ่านจับใจความสำคัญ สำหรับ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
จุไรรัตน์ ลักษณะศิริ และบาหยัน อิ่มสาราญ.(2552). การใช้ภาษาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. นครปฐม : มหาวิทยาลัย ศิลปากร.
ธัญญา ผลอนันต์. (2541). MIND MAP ถนนสู่ความสำเร็จ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : ขวัญข้าว.
นลินี บำเรอราช. (2545). การสอนอ่าน. ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.
ปาริชาติ นามน้าวแสง. (2563). การพัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความภาษาไทย ของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้เทคนิค SQ4R. วิทยานิพนธ์. ค.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏ มหาสารคาม.
พิมพ์ชนก เนื่องทะบาล. (2563). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านจับใจความและพฤติกรรมใฝ่เรียนรู้ของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบ SQ4R. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
มยุรี หอมขจร. (2560). การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความเเละความภาคภูมิใจในท้องถิ่นด้วยการ จัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคผังกราฟิกในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เรารักเพชรบุรีของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วัชนันท์ เพ่งสุข. (2560). การศึกษาผลของการจดัการเรียนรู้โดยใช้การสอนอ่านแบบ เอส คิว โฟร์ อาร์ ร่วมกับ ผัง ความคิดในวิชาภาษาไทยที่มีต่อความสามารถในการอ่านจับใจความและเจตคติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ ค.ม. พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยราชภัฏ พระนครศรีอยุธยา.
วิไลลักษณ์ ไชยอาจ. (2560). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านจับใจความด้วย วิธีการอ่านแบบ SQ4R สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ ค.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
แววมยุรา เหมือนนิล. (2556). การอ่านจับใจความ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
สมบัติ ท้ายเรือคำ. (2555). ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : สหวิทยาลัยรัตนโกสินทร์.
สายใจ ทองเนียม. (2560). ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). หลักสูตรแกนกลางพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : คุรุสภา ลาดพร้าว.
สุคนธ์ สินธนานนท์ และคณะ. (2554). วิธีสอนตามแนวปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน. กรุงเทพฯ : หจก.9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.
สุนันทา มั่นเศรษฐวิทย์. (2545). หลักและวิธีสอนอ่านภาษาไทย. พิมพ์ครั้ง 7. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.
Hedberg, K. (2005). Using SQ4R Method with Fuort Grade ESOL Student.