ภาพตัวแทนท้องถิ่นในศิลปะสื่อผสมของมณเฑียร บุญมา

Main Article Content

วรเทพ อรรคบุตร
เมตตา ศิริสุข
พิทักษ์ น้อยวังคลัง

บทคัดย่อ

            บทความวิจัยเรื่องภาพตัวแทนท้องถิ่นในศิลปะสื่อผสมของมณเฑียร บุญมา ศึกษาผลงานและชีวิตของศิลปิน ที่มีปฏิสัมพันธ์กับความเชื่อและภูมิปัญญาท้องถิ่น แสดงออกผ่านผลงานทั้งในระดับชาติและนานาชาติ ผลงานศิลปินผู้นี้สะท้อนถึงปรากฏการณ์ท้องถิ่น อันเป็นส่วนหนึ่งของโลกาภิวัตน์ ผลการศึกษาพบว่าศิลปะสื่อผสมของมณเฑียรใช้ทั้งประสบการณ์ชีวิต ภายใต้การเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย มาสะท้อนมุมมองต่อธรรมชาติ ตั้งแต่ความตึงเครียด ขัดแย้งจากพื้นฐานประเพณีชนบทและวิถีเกษตรกรรม มาสู่ทุนนิยมอุตสาหกรรม โดยใช้รูปทรงและวัสดุที่เป็นตัวแทนวิถีชุมชนท้องถิ่น ได้แก่ รูปทรงจากงานหัตถกรรม อีกทั้งศาสนสถาน เพื่อสื่อถึงกระบวนการความคิด ตลอดช่วงท้ายของการใช้ชีวิตและการทุ่มเททำงาน จนได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ นับว่าศิลปะสื่อผสมของมณเฑียรสามารถตีความและนำเสนอความเชื่อท้องถิ่น โดยไม่จำเป็นต้องอ้างอิงอุดมคติชั้นสูงของศิลปะประจำชาติ

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

วรเทพ อรรคบุตร, Faculty of Sociology and Anthropology, Thamasat University

นิสิตปริญญาโท สาขาการวิจัยและสร้างสรรค์ทางศิลปกรรมศาสตร์

References

กษมาพร แสงสุระธรรม. (2553). การสร้างและต่อรองความหมายของ "ความเป็นล้านนา" ในงานจิตรกรรมไทยร่วมสมัย. (วิทยานิพนธ์มานุษยวิทยามหาบัณฑิต). กรงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

กษมาพร แสงสุระธรรม. (2555). การก่อร่าง (ภาพ) "ความเป็นไทย" ในศิลปะสมัยใหม่. ใน สุดแดน วิสุทธิลักษณ์ และคนอื่น, วิธีวิทยารื้อสร้างอัตลักษณ์. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์. 55-114.

กษมาพร แสงสุระธรรม. (2563). ถ้าศิลปะไม่เป็นการเมืองแล้วจะเป็นอะไรได้. ใน ถนอม ชาภักดีและคนอื่น, เปิดโลกสุนทรีย์ในวิถีมนุษยศาสตร์. กรุงเทพฯ: สยามปริทัศน์. 5-38.

จักรพันธ์ วิลาสินีกุล. (2547). เหนือเขตแดน. ใน ทานิ อาราตะ, พลังการวิจารณ์: ทัศนศิลป์. กรุงเทพฯ: มิ่งมิตร. 501-512.

จิตติมา (นามแฝง). (ตุลาคม 2532). จินตภาพในวัสดุของมณเฑียร บุญมา. ไฮคลาสส์. 136-147.

จุฑาพรรธ์ (จามจุรี) ดุงชีวิต. (2551). วัฒนธรรม การสื่อสารและอัตลักษณ์ = Culture, communication and identity. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดำรง วงศ์อุปราช. (2527). ความเคลื่อนไหวของศิลปิน และศิลปะในยุคศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี. มหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับพิเศษ ครบรอบ 40 ปี, 67-105.

ถนอม ชาภักดี. (2558). การสมยอมและแข็งขืน: บริบทโลกาภิวัตน์ในศิลปะร่วมสมัยอินโดจีนและไทย. ชุมทางอินโดจีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ปริทัศน์ รุ่นพิเศษ, 215-222.

ธนากร ต่วนศิริ. (2548). การศึกษาผลงานของมณเฑียร บุญมา และกมล เผ่าสวัสดิ์ เพื่อสร้างสรรค์งานศิลปะสะท้อนสังคม. กรุงเทพฯ: วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาทัศนศิลป์ : ศิลปะสมัยใหม่ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ .

บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ. (2560). คืนการเมืองให้ศิลปะ. ใน ทฤษฎีกับการวิจารณ์ศิลปะทัศนะของนักวิชาการไทย. กรุงเทพ: นาคร. 126-175.

พิริยะ ไกรฤกษ์ และคนอื่น. (2525). ศิลปกรรมหลัง พ.ศ. 2475 (Art since 1932). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ยุทธศักดิ์ รัตนปัญญา. (2546). การศึกษาวิเคราะห์ศิลปะของมณเฑียร บุญมา. กรุงเทพ ฯ: มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรม.

วัฒนธรรม การสื่อสารและอัตลักษณ์ = Culture, communication and identity. (ม.ป.ป.).

วิโชค มุกดามณี. (2546). 6 ทศวรรษศิลปกรรมร่วมสมัยในประเทศไทย 2486-2546 . กรุงเทพฯ : หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิรุณ ตั้งเจริญ. (2534). ศิลปะสมัยใหม่ในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.

สุธี คุณาวิชยานนท์. (2548). ศิลปะ ชาตินิยมกับความเป็นไทย. ใน หอศิลปวิทยนิทรรศน์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, นีโอ ชาตินิยม นิทรรศการศิลปการเมืองร่วมสมัย. กรุงเทพ: จุฬาลงกณ์มหาวิทยาลัย. 79-98.

อภินันท์ โปษยานนท์. (2547). มณเฑียร บุญมา: ทางแห่งทุกขะ. ใน สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย, ตายก่อนดับ การกลับมาของมณเฑียร บุญมา. กรุงเทพ: สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย. 132-151.

ไอโยลา เลนซี. (2557). มโนทัศน์ศิลป์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เรื่องเล่าท้องถิ่น. ใน มูลนิธิหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร, สูจิบัตรนิทรรศการมโนทัศน์ บริบทและการต่อต้าน. กรุงเทพฯ : บริษัท แปลน พริ้นติ้ง จำกัด. 52-67.

Annabelle Boissier. (2007). Are they Moderns, Contemporaries, Thais or Globalized? The homogenization of professional contemporary art networks. Wind of the East: Perspectives on Asian Contemporary Art. Helsinki: Finnish National Gallery; Kiasma, Museum of Contemporary Art. 130-37.

Apinan Pohyananda. (1989). Modern Art in Thailand. Oxford: Oxford University Press.

Apinan Poshyanada. (2007). Asian Definition of Modernity in Art: Relativization of Styles in Thai Art. in Apinan Poshyanada, Behind Thai Smiles Apinan Poshyanada: Selected Writings, 1991-2007. Bangkok: Office of Contemporary Art and Culture. 1-28.

Erwin Panofsky. (1972). Studies in iconology Humanistic Themes in the Art of the Renaissance. Oxford: Icon Editions.

Jonathan Harris. (2006). Art history : the key concepts . New York: Routledge.

Melissa Chiu. (2003). An Architecture of The Sense Montien Boonma's Installation in Context. ใน Apinan Poshyanada, Temple of The Mind. New York: The Asia Society. 41-47.

Somporn Rodboon. (1995). History of Modern Art in Thailand. in Asian Modernism: Diverese Development in Indonesia, The Philippines and Thailand. Fukuoka: Japan Foundation. 243-251.