กรรมวิธีการทำเครื่องดนตรีพื้นบ้านอีสาน โปงลาง ทายาทศิลปินแห่งชาติ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของ นายเชษฐา ฉายรัศมี ทายาทศิลปินแห่งชาติ 2) เพื่อศึกษากรรมวิธีการทำโปงลางของ นายเชษฐา ฉายรัศมี ทายาทศิลปินแห่งชาติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสำรวจ แบบสัมภาษณ์ และแบบสังเกต ทำการรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร และข้อมูลภาคสนาม ซึ่งข้อมูลภาคสนามได้จากการสำรวจ การสัมภาษณ์ และการสังเกต จากกลุ่มผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรีพื้นบ้านอีสาน จำนวน 3 คน กลุ่มผู้ปฏิบัติจำนวน 3 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลทั่วไป จำนวน 10 คน นำข้อมูลมาตรวจสอบความถูกต้องด้วยวิธีการแบบสามเส้าวิเคราะห์ข้อมูล ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย แล้วนำเสนอผลการวิจัยโดยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
- นายเชษฐา ฉายรัศมี เป็นบุตรชายคนสุดท้ายของครูเปลื้อง ฉายรัศมี ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีพื้นบ้าน) ประจำปีพุทธศักราช 2529 ปัจจุบันนายเชษฐา ฉายรัศมีอายุ 48 ปี มีบุตรร่วมกันจำนวน 2 คน ชาย 1 คน หญิง 1 คน โดยตามลำดับบุตรธิดา ได้แก่ นายพรพล ฉายรัศมี และ นางสาวแพรพรรณ ฉายรัศมี
- กรรมวิธีการทำเครื่องดนตรีพื้นบ้านอีสาน โปงลาง ที่มีคุณภาพของนายเชษฐา ฉายรัศมี ทายาทศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีพื้นบ้าน) ประจำปีพุทธศักราช 2529 สามารถแบ่งขั้นตอนวิธีการทำโปงลาง ได้เป็น 9 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การเลือกไม้ขั้นตอนที่ 2 การเตรียมไม้ขั้นตอนที่ 3 การขึ้นรูปไม้ ขั้นตอนที่ 4 การกลึงไม้ ขั้นตอนที่ 5 การตัดลูกโปงลาง ขั้นตอนที่ 6 การถากไม้เพื่อเทียบเสียง ขั้นตอนที่ 7 การเจาะรู ขั้นตอนที่ 8 การร้อยเชือก ขั้นตอนที่ 9 การตีทดสอบเสียง
Article Details
บท
บทความวิจัย
References
ชุตินันท์ จันทร์หัวโทน. (2555). โปงลาง. สืบค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม2564, จากเว็บไซต์ http://www.sites.google.com
ณัฐวดี รอดภัย. (2562). โปงลาง. สืบค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม2564, จากเว็บไซต์ https://www.m-culture.go.th
kalasin/download/article/article_20210428170654.pdf
ทรงเดช แสงนิล. (2536). โปงลางจังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาไทยคดี
ศึกษา เน้นมนุษยศาสตร์บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
บุษกร บิณฑสันต์, ขำคม พรประสิทธิ์. (2553). โปงลาง. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
ภิภพ ปิ่นแก้ว. (2559). ปฏิบัติดนตรีพื้นบ้านอีสานขั้นพื้นฐาน. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี: สำนักพิมพ์สาขาวิชา
ดนตรี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์.
สัญญา สมประสงค์. (2555). การศึกษาการทำเครื่องดนตรีพื้นบ้านอีสาน : กรณีศึกษาหมู่บ้านท่าเรือตำบลท่าเรือ
อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม. ปริญญานิพนธ์ ศป.ม. (มานุษยดุริยางควิทยา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สุวีริยาสาส์น. (2554). ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2528 – 2530. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรุงเทพฯ.
ณัฐวดี รอดภัย. (2562). โปงลาง. สืบค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม2564, จากเว็บไซต์ https://www.m-culture.go.th
kalasin/download/article/article_20210428170654.pdf
ทรงเดช แสงนิล. (2536). โปงลางจังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาไทยคดี
ศึกษา เน้นมนุษยศาสตร์บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
บุษกร บิณฑสันต์, ขำคม พรประสิทธิ์. (2553). โปงลาง. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
ภิภพ ปิ่นแก้ว. (2559). ปฏิบัติดนตรีพื้นบ้านอีสานขั้นพื้นฐาน. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี: สำนักพิมพ์สาขาวิชา
ดนตรี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์.
สัญญา สมประสงค์. (2555). การศึกษาการทำเครื่องดนตรีพื้นบ้านอีสาน : กรณีศึกษาหมู่บ้านท่าเรือตำบลท่าเรือ
อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม. ปริญญานิพนธ์ ศป.ม. (มานุษยดุริยางควิทยา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สุวีริยาสาส์น. (2554). ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2528 – 2530. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรุงเทพฯ.