การออกแบบกิจกรรมการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) เพื่อ พัฒนาการเรียนรู้วิชาการงานอาชีพของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดเชียงราย TEACHING AND LEARNING ACTIVITIES BY EMPLOYING PROJECT-BASED LEARNING (PBL) in CAREER SUBJECT IN HIGH SCHOOLS IN CHIANG RAI

Main Article Content

รักชนก อินจันทร์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Learning: PBL) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนจากกิจกรรรมการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อกิจกรรมการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานที่พัฒนาการจัดการเรียนรู้วิชาการงานอาชีพ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายของโรงเรียนบ้านห้วยไร่สามัคคีและโรงเรียนเม็งรายมหาราชวิทยาคม จำนวน 54 คน เก็บรวมรวมข้อมูลโดยใช้กระบวนการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods) โดยใช้เครื่องมือ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนของการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและแบบประเมินความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ผลจากการวิจัย พบว่ากิจกรรมการจัดการเรียนรู้วิชาการงานอาชีพโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Learning : PBL) ทั้ง 11 ขั้นตอน สามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการการเรียนรู้ของผู้เรียนระดับมัธยมตอนปลายได้ ซึ่งจากการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์หลังจากการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (= 8.50) สูงกว่าค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ก่อนการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (= 6.11) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.53)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมล กล่อมอิ่ม. (2560). การจัดการเรียนรู้แบบการใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Learning : PBL) : รายวิชาการออกแบบและพัฒนาหลักสูตร สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏว
ไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์. 11(2), 179-192.
กระทรวงศึกษาธิการ สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขึ้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นุจรี ศรีใส เมธินี วงศ์วานิช รัมภกาภรณ์ สุชาวดี เกษมณี และปานเทพ ลาภเกสร. (2560). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตด้านความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียน
ประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี โรงเรียนอัสชัญหลักสูตรภาษาอังกฤษจังหวัดสมุทรสาคร. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์. 32(1), 80-90.
ไพศาล สุวรรณน้อย. (2559). การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem–based Learning: PBL).
สืบค้น 30 มีนาคม 2562, จาก file:///C:/Users/ACER/Downloads/pbl-he-58-1%20(1).pdf
วิชุดา วงศ์เจริญ. (2561). การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคโนโลยีเสมือนจริงเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และทักษะการคิดแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. (วิทยานิพนธ์ ปริญญาศึกษา
ศาสตร์มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
สิรินทรา มินทะขัติ. (2556). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่องพื้นที่ผิวและปริมาตร ที่มีต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และความสามารถในการให้ เหตุผลทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปี ที่ 3. (ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย.
สิรีวัฒน์ อายุวัฒน์. (2560). การเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem-based Learning: PBL): ความท้าทายของการศึกษาพยาบาลในการพัฒนาการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข.
23(2), 15-30.
สุภามาส เทียนทอง. (2553). การพัฒนาความสามารถในการแก้ไขปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย
ศิลปากร.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560–2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขึ้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.
กรุงเทพฯ: ชุมนมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
อรรณพ ชุ่มเพ็งพันธ์. (2550). การพัฒนาผลการเรียนรู้เรื่องสารในชีวิตประจำวันของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่6 ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย
ศิลปากร.
อภิณห์พร สถิตภาคีกุล. (2561). การออกแบบการเรียนการสอน:ทักษะเพื่อความสำเร็จของครู. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์มหาวิทยาลัยนครศรีธรรมราช. 10(ฉบับพิเศษ), 107-115.
ฐาปนี สีเฉลียว. (2562). แนวทางการออกแบบการเรียนการสอนตามหลักการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ร่วมกับสื่อสังคมเพื่อส่งเสริมการสร้างสรรค์นวัตกรรมการศึกษาสำหรับนิสิตวิชาชีพครู. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยี
สารสนเทศและนวัตกรรม. 6(2), 133-144.
Barrows, H. S. (2002). Problem –Based Learning in Medicine and Beyond: a Brief Overview. In L.Wilkerson and W.H. Gijselaers (eds.) Bringing Problem –Based Learning to Higher Education.
Theory and Practices. San Francisco: Jossey-Bass
Cunningham, W.G., & Cordeiro, P.A. (2003). Educational leadership: a problem-based approach. Boston: Allyn and Bacon