ปัจจัยที่ส่งผลต่อการวางแผนการเงินส่วนบุคคลของครูโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดพะเยา เขต 1

Main Article Content

วัลลพ ล้อมตะคุ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน รายจ่ายเฉลี่ยต่อเดือน ที่ส่งผลต่อการวางแผนการเงินส่วนบุคคลของครู 2)  เพื่อศึกษาปัจจัยด้านการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ปัจจัยด้านทัศนคติทางการเงิน ปัจจัยทางเศรษฐกิจ ที่ส่งผลต่อการวางแผนการเงินส่วนบุคคลของครู โดยเป็นการศึกษาเชิงปริมาณด้วยวิธีการวิจัยเชิงสำรวจ มีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 305 คน และใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้หลักทางสถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน โดยใช้การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว  และวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ


ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นครูเพศหญิง อายุ 41-50 ปี สถานภาพสมรส การศึกษาระดับปริญญาตรี รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 15,000-20,000 บาท และมีรายจ่ายเฉลี่ยต่อเดือน 15,000-20,000 บาท สำหรับการศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อการวางแผนการเงินส่วนบุคคล พบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และรายจ่ายเฉลี่ยต่อเดือนของครู ส่งผลต่อการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลของครู ในขณะที่ สถานภาพของครูไม่ส่งผลต่อการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลของครูโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดพะเยา เขต 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และพบว่า ปัจจัยการรับรู้ข่าวสาร ทัศนคติทางการเงิน และภาวะทางเศรษฐกิจ ส่งผลต่อการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลของครูโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดพะเยา   เขต 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติพัฒน์ แสนทวีสุข. (2551). เงินทองต้องใส่ใจ ฉบับพิเศษ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.
ณดา จันทร์สม. (2554). ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับสังคมไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
ทรายทอง เลิศเปียง. (2556). พฤติกรรมการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคล นักศึกษาสาขาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจ โรงเรียนลำปางพาณิชการและเทคโนโลยีลำปาง.: วิทยาลัยอินเตอร์เทค ลำปาง.
ธนพร จันทร์สว่าง. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสยาม. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม.
บุญรุ่ง จันทร์นาค. (2555). การเงินส่วนบุคคล. กรุงเทพฯ: โรงเรียนตั้งตรงจิตรพณิชยการ.
พนมพร เปี่ยมศิลธรรม (2560). ปัจจัยจิตลักษณะและสถานการณ์ทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการจัดการทางการเงิน ของข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ยุบล เบ็ญจรงค์กิจ. (2559). นิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
รัชนีกร วงศ์จันทร์. (2553). การบริหารการเงินส่วนบุคคล. (พิมพ์ครั้งที่1). กรุงเทพฯ: บุญศิริพิมพ์.
ราตรี พัฒนรังสรรค์. (2544). พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน. กรุงเทพฯ: สถาบันราชภัฏจันทรเกษม.
ศิรินุช อินละคร. (2548). การเงินส่วนบุคคล. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน. (2561). การวางแผนการเงินส่วนบุคคล. ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.). กรุงเทพฯ: ธนาคารแห่งประเทศไทย.
ศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาความรู้ตลาดทุน. (2554). หลักสูตรวางแผนการเงิน ชุดที่ 6 การวางแผนการเงิน แบบองค์รวม. กรุงเทพฯ: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.
สถาบันพัฒนาความรู้ตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2552). การลงทุนในทางเลือกอื่น. กรุงเทพฯ: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.
สมจิตร์ วิริยานนท์. (2558). การวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2563). ข้อมูลพื้นฐานโรงเรียน สังกัด สพป.พะเยา เขต 1. เข้าถึงข้อมูลวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2564. เข้าถึงได้จาก: https://data.boppobec.info/emis/school.php?Area_CODE=5601
ห้องสมุดมารวย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2561). 4ทัศนคติทางการเงิน. เข้าถึงข้อมูลวันที่ 7มกราคม พ.ศ. 2564. เข้าถึงได้จาก: https://www.maruey.com/article/contentinbook/296
The standard. (2563). ครูไทยเป็นหนี้เฉลี่ยรายละ 3 ล้านบาท ครูทั่วประเทศมีหนี้คิดเป็น 16% ของหนี้ทั้งประเทศ. เข้าถึงข้อมูลวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2564. เข้าถึงได้จาก: https://thestandard.co/thai-teachers-in-debt/