การใช้กิจกรรมสถานการณ์จำลองเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสาร ในวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม การใช้กิจกรรมสถานการณ์จำลองเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสาร ในวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

Main Article Content

Teera Tunboontor

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


วัตถุประสงค์การวิจัย 1 เพื่อพัฒนากิจกรรมสถานการณ์จำลองในวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75  2) เพื่อศึกษาทักษะการสื่อสารของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จากการใช้บทเรียนสถานการณ์จำลอง ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75% และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ต่อการใช้บทเรียนสถานการณ์จำลอง  ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561  จำนวน 4 ห้อง นักศึกษาทั้งหมด จำนวน 120 คน และสุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบกลุ่ม จำนวน 1 ห้องเรียน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบสถานการณ์จำลอง จำนวน 5 แผน รวม 15 คาบ แบบประเมินทักษะการสื่อสาร แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการสื่อสาร และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ คะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ผลการวิจัย พบว่า บทเรียนสถานการณ์จำลอง ทั้ง 5 แผน ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ 1) การเตรียมการสถานการณ์จำลอง 2) การแสดง และ 3) การอภิปรายกลุ่ม  ทักษะการสื่อสารของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม โดยใช้บทเรียนสถานการณ์จำลองในรายวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ พบว่า 1) แผนการสอนโดยใช้บทเรียนสถานการณ์จำลองมีประสิทธิภาพ 75/75 2. นักศึกษาทุกคนมีทักษะการสื่อสารผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ กล่าวคือได้ คะแนนรวมไม่ต่ำกว่า 75 คะแนน (ร้อยละ 75)  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยคะแนนสูงสุดของนักศึกษา คือ  90 คะแนน และคะแนนต่ำสุดคือ 75 คะแนน และความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการใช้บทเรียนสถานการณ์จำลองในรายวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ พบว่า โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยในระดับมาก (x̄= 4.11, S.D. = 0.07) พิจารณารายด้าน พบว่า นักศึกษามีความพึงพอใจอยู่ในระดับดีมาก ต่อระยะเวลาการจัด การประเมินผล การจัดสถานการณ์และการเตรียมการ ตามลำดับ (x̄ = 4.23, S.D = 0.04, x̄ = 4.19, S.D = 0.05, x̄ = 4.18, S.D = 0.19, x̄ = 3.84, S.D = 0.07) 


คำสำคัญ: กิจกรรมสถานการณ์จำลอง    ทักษะการสื่อสาร ภาษาอังกฤษธุรกิจ นักศึกษาระดับปริญญาตรี


ABSTRACT


   The objectives of the research were 1) to design simulation activities for improving communication skills in business English of the undergraduate students at Rajabhat Maha Sarakham University, 2) to assess the communication skills of the undergraduate students based on the established criteria of 75% and 3) to study the satisfaction of the students with the simulation activities for improving communication skills. The population was 120 undergraduate students of 4 classes at Rajabhat Maha Sarakham University who studied Business English in the first semester of 2018. The sample subjects were thirty undergraduate students of one class selected by cluster random sampling. The research instrument was 5 lesson plans, a communication assessment form, listening & speaking test form and a questionnaire. The statistics used were percentage, mean and standard deviation.  The research study showed that the simulation activities for improving communication skills in business English of the undergraduate students consisted of three steps: 1) preparation, 2) performance 3) and final discussion. The findings indicated that the communication skills of the students was in the establish criteria. The maximum score of the student was 90 points and the minimum score of the students was 72 points. The overall satisfaction of the students with the simulation activities was at a high level (x̄ = 4.11, S.D. = 0.07). The four high rated items of the simulation activities were time management, evaluation, simulation management and preparation respectively (x̄ = 4.23, S.D = 0.04, x̄ = 4.19, S.D = 0.05, x̄ = 4.18, S.D = 0.19, x̄ = 3.84, S.D = 0.07).

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. การจัดการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ. . กันยายน, 2562.
ทิศนา แขมมณี. “การใช้บทบาทสมมติในการเรียนการสอน”. คุรุศาสตร์. 6(2):41-48; กรกฎาคม-สิงหาคม, 2542.
ปรีชา ศรีเรืองฤทธิ์. การเปรียบเทียบความสามารถในทักษะ
การฟัง การพูดเพื่อการสื่อสารและจูงใจในการเรียน วิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองและสอนตามคู่มือครู. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2536.
ฟาฏินา วงศ์เลขา. พัฒนาภาษาอังกฤษ เตรียมเด็กไทยสู่เวทีโลก ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวง. . กันยายน, 2562.
รินทร์วดี นาคเจียม. การพัฒนาความสามารถการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียน ระดับประกาศนียบัตร
วิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 สาขางานภาษาต่างประเทศ วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการสุโขทัย กรุงเทพมหานคร โดยใช้สถานการณ์จำลอง. วิทยานิพนธ์ ค.ม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 2559.
สำเริง เวชสมุทร. “การใช้สถานการณ์ในวิทยาลัยครู”. คุรุปริทัศน์ใข. 5(2) 18-19 ;มกราคม, 2533.
สุนีย์ ภู่พันธ์. แนวคิดพื้นฐานการสร้างและพัฒนาหลักสูตร. พิมพ์ลักษณ์. เชียงใหม่, 2546.
สุภา กิจจาทร. การใช้สถานการณ์จำลอง. เอกสารการประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการสอนแบบจุลภาค. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ตำรวจ, 2529.
Holden, Susan. Drama in Language Teaching. London : Longman Group Jones, 1981.
Jones, Ken. Simulation in Language Teaching. Cambridge : Cambridge University Press, 1982.
Nunan, D. Designing Tasks for Communicative Classroom. Cambrdge: Cambridge, 1991.
Sturtridge, Grill. Using simulation in teaching English for specific purposes. London: Modern English Publication, 1977. University Press.
Walker, P. Michael. Simulation Exercise. London : The Macmillan Press Limited, 1977.