การใช้กระบวนการสร้างจินตภาพในการพูด เพื่อพัฒนาทักษะการพูดฉับพลัน สำหรับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านการพูด

Main Article Content

พงศกร สมมิตร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาผลการใช้กระบวนการสร้างจินตภาพในการพูด เพื่อพัฒนาทักษะการพูดฉับพลัน สำหรับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านการพูด (2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านการพูดที่ได้ใช้กระบวนการสร้างจินตภาพในการพูด  โดยใช้รูปแบบการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านการพูดระดับมัธยมศึกษาปีที่  4-6 ในจังหวัดเชียงราย จำนวน 30 คนได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) กระบวนการสร้างจินตภาพในการพูด (2)  แบบทดสอบการพูดฉับพลันก่อนและหลังใช้กระบวนการสร้างจินตภาพในการพูด  (3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านการพูดต่อการใช้กระบวนการสร้างจินตภาพในการพูด  ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลการศึกษาทักษะพูดฉับพลันของนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านการพูดหลังใช้กระบวนการสร้างจินตภาพในการพูดสูงกว่าก่อนใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 มีคะแนนเฉลี่ยของความสามารถในการพูดก่อนใช้กระบวนการสร้างจินตภาพในการพูดและหลังใช้เท่ากับ 26.30 และ 34.13 จากคะแนนเต็ม 40 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 65.75 และ 85.33 ตามลำดับ และ (2) นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านการพูดมีความพึงพอใจต่อกระบวนการสร้างจินตภาพในการพูดโดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยโดยรวมเท่ากับ 4.46 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.47


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิณณพัต โรจนวงศ์. (2549). ภาษาจินตภาพในนวนิยายอิงประวัติศาสตร์.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต.กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ดลฤทัย ขาวดีเดช. 2540. ภาษาจินตภาพในเรื่องสั้นของ อัศศิริธรรมโชติ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต.กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิเชียร อชิโนบุญวัฒน์. (2535). ใครกำหนด: รูปแบบการเรียนการสอนใน ระดับอุดมศึกษา.

กรุงเทพมหานคร:คุรุปริทัศน์.

ประหยัด จิระวรพงศ์. (2549). การเรียนรู้ตามการพัฒนาของสมอง (Brain-Based Learning:BBL).

เทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.

บุษบา สมใจวงศ์. (2544). ผลของการสร้างจินตภาพต่ออาการคลื่นไส้ ขย้อนและอาเจียนของผู้ป่วยมะเร็ง

เต้านม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต.เชียงใหม่:บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ปริญญา สนิกะวาที. (2542). ผลของการสร้างจินตภาพต่อความกังวลของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับ

เคมีบำบัด.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต.เชียงใหม่:บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พงศกร สมมิตร. (2562). การพัฒนาทักษะการพูดฉับพลันด้วยกระบวนการสร้างจินตภาพสำหรับ

นักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. การประชุมสัมมนาวิชาการนำเสนอ

งานวิจัยระดับชาติ.21 ธันวาคม 2561.ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.กำแพงเพชร:

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 7)

กรุงเทพมหานคร : สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ.

สืบสาย บุญวีรบุตร. (2541). จิตวิทยาการกีฬา (Sport Psychology). ชลบุรี: วิทยาลัยพลศึกษา จังหวัด

ชลบุรี.

สำนักงานปลัดทบวงมหาวิทยาลัย.(2544).รายงานการสัมมนาทางวิชาการเรื่องการปฏิรูปการเรียนการ

สอนและหลักสูตรในระดับอุดมศึกษา.18 กรกฎาคม 2544.โรงแรมสยามอินเตอร์-คอนติเนนตัล.

กรุงเทพมหานคร:สำนักงานปลัด ทบวงมหาวิทยาลัย.

สมจิต ชิวปรีชา. (2540). วาทวิทยา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อภิรัตน์ โมทนียชาติ. (2547). การใช้ภาษาเพื่อสื่อจินตภาพในนวนิยายของปิยะพร ศักดิ์เกษม.

วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต.กรุงเทพมหานคร:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Thorndike, Edward L. (1966). Human learning. Cambridge, Mass. : M.I.T. Press.