บทเทศน์แหล่อีสาน : การใช้ภาษาในพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์นอกวัด

Main Article Content

วัชรวุธ ศรีภูมิกุล

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


            บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ภาษาของบทเทศน์แหล่อีสานที่ใช้เทศน์ภายนอกวัดของคณะอธิษฐานเสียงธรรม วัดศรีสว่าง ตำบลหนองโก อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น โดยการลงพื้นที่เก็บข้อมูลเอกสาร และข้อมูลภาคสนาม ผลการศึกษาพบว่า การใช้ภาษาในบทเทศน์แหล่อีสานที่เทศน์นอกวัดสามารถแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะได้แก่ 1. การใช้ภาษาผ่านพิธีกรรมการเทศน์ มีการใช้ภาษาบาลีเพื่อประกอบพิธีกรรมก่อนฟังเทศน์ การใช้บทเทศน์แหล่อีสานเพื่อผลิตซ้ำความทรงจำของสถาบันครอบครัวในพิธีเทศน์เรียกวิญญาณ เป็นการใช้ภาษาเป็นสื่อระหว่างคนเป็นและคนตายผ่านบทเทศน์ 2.การใช้ภาษาผ่านบทเทศน์แหล่อีสาน การใช้คำเพื่อแสดงอารมณ์ ได้แก่ อารมณ์ดีใจ อารมณ์โศกเศร้าเสียใจ และอารมณ์โกรธ นอกจากนั้นยังมีการแสดงออกผ่านอวัจนภาษาเพื่อประกอบการแสดงในอารมณ์นั้นๆ อย่างสมจริง 3.การนำเสนอสารัตถะสำคัญของบทเทศน์ผ่านชื่อเรื่อง มีการตั้งชื่อเรื่องด้วยสำนวนภาษาถิ่นอีสาน ที่มีความหมายสอดคล้องกับบทเทศน์ เพื่อสื่อความหมายของสารัตถะที่ปรากฏในเรื่องได้อย่างน่าสนใจ

Article Details

บท
บทความวิจัย