การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลอย่างไรให้ถูกต้องตามหลักภาษีอากร

Main Article Content

ศิริรัตน์ เจนศิริศักดิ์

บทคัดย่อ

องค์ประกอบหนึ่งในการสร้างแรงจูงใจในการทำงานขององค์กรคือการจัดสวัสดิการที่ดีให้กับพนักงาน และสวัสดิการที่จะทุกองค์กรควรพิจารณาจัดหาให้กับพนักงานคือการจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้กับพนักงาน หรืออาจรวมถึงบุพการี คู่มสมรส และบุตร ของพนักงาน บทความวิชาการนี้วัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับองค์กรและพนักงานในการจัดสวัสดิการเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาล ค่าเบี้ยประกันชีวิต ค่าเบี้ยประกันสุขภาพ รวมถึงค่าฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคระบาด เช่น โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา โดยพิจารณาถึงผลประโยชน์สูงสุดที่พนักงานและองค์กรจะได้รับในประเด็นของภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร


บทความนี้ได้ศึกษาและรวบรวมข้อมูลจากงานวิจัยที่ผ่านมา กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และหนังสือตอบข้อหารือของกรมสรรพากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่กล่าวไว้ข้างต้น เพื่อประโยชน์แก่พนักงานและองค์กร ทั้งในด้านภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคล กล่าวคือ เงินได้ค่ารักษาพยาบาลได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและพนักงานไม่ต้องนํามาถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร เช่นเดียวกับองค์กรที่จัดสวัสดิการให้กับพนักงาน ก็สามารถนำรายจ่ายค่ารักษาพยาบาลและอื่น ๆ มาถือเป็นรายจ่ายขององค์กรได้ โดยไม่ถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น องค์กรจําเป็นที่จะต้องจัดสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลให้เข้ากับองค์ประกอบที่กฎหมายกําหนดไว้ เพื่อประโยชน์สูงสุดทางภาษีอากร ดังนี้ (1) องค์กรต้องมีการกำหนดให้มีการจ่ายค่ารักษาพยาบาลไว้ในระเบียบสวัสดิการพนักงาน โดยไม่เลือกปฏิบัติกับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง (2) พนักงานต้องมีหลักฐานเอกสารการจ่ายค่ารักษาพยาบาล เช่น ใบเสร็จรับเงิน เพื่อพิสูจน์ว่าได้มีการจ่ายจริง และจ่ายไปทั้งหมดเพื่อการนั้น และ (3) องค์กรจะต้องเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้กับพนักงานตามเท่าที่ได้จ่ายไปจริงตามหลักฐาน


ทั้งนี้ การจ่ายค่าสวัสดิการให้พนักงานสำหรับค่าเบี้ยประกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา และค่าฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ไม่ถือว่าเป็นการจ่ายค่ารักษาพยาบาล หรือค่าวัคซีนเพื่อการรักษาพยาบาล ดังนั้น จึงไม่ถือว่าเป็นเงินได้ที่ได้รับการยกเว้น และพนักงานต้องนำประโยชน์ที่ได้รับมาถือเป็นเงินได้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา อย่างไรก็ตาม ไม่รวมถึงค่าเบี้ยประกันภัยกลุ่มที่องค์กรจ่ายให้กับพนักงานเฉพาะส่วนที่คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลซึ่งได้รับการยกเว้นไม่ต้องถือเป็นเงินได้พึงประเมินของพนักงาน

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

HR Note.asia. 2562. สวัสดิการ เรื่องที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคลควรใส่ใจ. ค้นเมื่อ 19 เมษายน 2564 จาก https://th.hrnote.asia/personnel-management/th-employeebenefit-190108/.
กรมสรรพากร. 2541. ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีประกันชีวิตหมู่. ค้นเมื่อ 25 เมษายน 2564 จาก https://www.rd.go.th/23028.html.
___________. 2544. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีนายจ้างจ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิตสำหรับกรมมธรรม์ประกันภัยกลุ่ม. ค้นเมื่อ 19 เมษายน 2564 จาก http://interweb1.rd.go.th/cgi-bin/intra_search?q=%A4%E8%D2%C3%D1%A1%C9%D2%BE%C2%D2%BA%D2%C5;t=5;field=1;page=6;long=1.
___________. 2548. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีค่ารักษาพยาบาล. ค้นเมื่อ 15 เมษายน 2564 จาก https://www.rd.go.th/30668.html.
___________. 2549. ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีนายจ้างจ่ายเบี้ยประกันชีวิตให้พนักงาน. ค้นเมื่อ 18 เมษายน 2564 จากhttp://interweb1.rd.go.th/cgi-bin/intra_search?q=%CA%C7%D1%CA% B4%D4%A1%D2%C3%A2%CD%A7%BE%B9%D1%A1%A7%D2%B9;t=5;field=1;page=4 ;long=1.
___________. 2555. ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (3) (13) แห่งประมวลรัษฎากร. ค้นเมื่อ 18 เมษายน 2564 จาก http://interweb1.rd.go.th/cgi-bin/intra_search?q=% BB%C3%D0%A1%D1%B9%CA %D8%A2%C0%D2%BE;t=5;field=1;page=13;long=1.
___________. 2561. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีสวัสดิการพนักงาน. ค้นเมื่อ 17 เมษายน 2564 จาก https://www.rd.go.th/26842.html.
___________. 2562. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับสวัสดิการที่นายจ้างจัดให้แก่ลูกจ้าง. ค้นเมื่อ 19 เมษายน 2564 จาก http://interweb1.rd.go.th/cgi-bin/intra_search?q =%A4%E8%D2%C3%D1%A1%C9%D2%BE%C2%D2%BA%D2%C5;t=5;field=1;page=13;long=1.
___________. 2562. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับสวัสดิการที่นายจ้างจัดให้แก่ลูกจ้าง. ค้นเมื่อ 18 เมษายน 2564 จาก http://interweb1.rd.go.th/cgi-bin/intra_search?q= %A4%E8%D2%C3%D1%A1% C9%D2;t=5;field=1;page=21;long=1.
กลุ่มนักวิชาการภาษีอากร. 2563. ภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร 2563 (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์.
ชาญชัย ภูรินันท์ศรี. 2554. การจัดให้มีสวัสดิการพนักงานต้องจัดอย่างไรให้สรรพากรยอมรับ. ค้นเมื่อ 20 เมษายน 2564 จาก www.ThaiTaxINFO.com.
ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. 2546. การจัดการทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ธรรมนิติ. 2563. เบี้ยประกันกับสิทธิประโยชน์ทางภาษี. ค้นเมื่อ 26 เมษายน 2564 จาก https://www.dst.co.th/index.php?option=com_content&view=article&id=3970:insurance-premium-benefits-tax&catid=29&Itemid=180&lang=th.
บริษัท บี.อี.แอคเค้าน์ติ้ง เซอร์วิสเซส จำกัด. 2564. ค่าใช้จ่าย เกี่ยวกับพนักงาน : สวัสดิการ ผลประโยชน์เพิ่ม. ค้นเมื่อ 17 เมษายน 2564 จาก https://www.beeaccountant.com/employee-benefits/.
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. 2541. พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541. ค้นเมื่อ 16 เมษายน 2564 จาก http://web.krisdika.go.th/data/law/law2/%A477/%A477-20-9999-update.pdf.
ศิริรัตน์ เจนศิริศักดิ์ และศุภกัญญา จันทรุกขา. 2555. จัดสวัสดิการให้พนักงานอย่างไรให้ถูกหลักภาษีอากร. วารสารวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 7(2), 5 - 12.
อนิวัช แก้วจํานงค์. 2552. การจัดการทรัพยากรมนุษย์. สงขลา: นําศิลป์โฆษณา.